ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สหัสา พลนิล , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ และหน่วยงานในสถาบัน โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพเพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
2 มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
4 นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้พัฒนาระบบและกลไกในการกำกับ ติดตาม และดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ สำนัก ให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยครอบคลุมตั้งแต่ระบบการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างครบถ้วน ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.4-1(1)) ดังนี้

1. การควบคุมคุณภาพ
    1.1 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2562 (5.4-1(2)) เพื่อให้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณา
    1.2 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง กรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-1(3)) เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องและถูกต้องตรงกันทุกหน่วยงาน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณา
    1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อรับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครบทุกตัวบ่งชี้ คลอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย (5.4-1(4))
    1.4 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-1(5)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร คณะ และสำนัก สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562
    1.5 มีการจัดทำกรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก ที่มีความชัดเจน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เพื่อพิจารณา (5.4-1(6))
    1.6 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.4-1(7)) ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2562 (5.4-1(8)) และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 (5.4-1(9)) และจัดทำรูปเล่มประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบ
    1.7 มีการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-1(10))
    1.8 มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูล และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-1(11)) และจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ทุกหน่วยงานในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/km-data-all)
    1.9 มีการจัดทำคู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย สูตรการคำนวณ และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-1(12))
    1.10 มีการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสนับสนุนหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งระดับสถาบัน และระดับคณะ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ (http://qa.sskru.ac.th/research/sys/)
    1.11 มีการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินตนเอง และรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (มคอ.7) ให้ทุกหน่วยงานใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.4-1(13)) 
    1.12 มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://esar.sskru.ac.th/sys/)
    1.13 มีการจัดทำระบบสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมสูตรการคำนวณ (5.4-1(14))

2. การตรวจสอบคุณภาพ
    2.1 มีการจัดทำรายงานผลการสำรวจสถานะภาพรวมของทุกหลักสูตรที่รับการประเมินประกันคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-1(15)) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร กระบวนการปรับปรุงหลักสูตร เกณฑ์ทีใช้ประเมินหลักสูตร และอื่นๆ เพื่อให้คณะ มหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมการตรวจประเมิน และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 4/2563 (5.4-1(16)) พิจารณา
    2.2 มีการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพระดับหลักสูตร คณะ สำนัก อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ผ่านระบบและกลไกการประชุมของคณะกรรมการตามพันธกิจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ตั้งขึ้น ได้แก่ พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา พันธกิจด้านพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล พันธกิจด้านการวิจัย พันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม พันธกิจด้านด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย พันธกิจด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง  พันธกิจด้านการจัดการความรู้  พันธกิจด้านการกำกับผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร  พันธกิจด้านด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.4-1(17))

3. การประเมินคุณภาพ
    3.1 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2562 (5.4-1(18)) เพื่อให้หลักสูตรยึดถือและดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน
    3.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-1(19)) เพื่อดำเนินงานด้านการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562
    3.3 ทุกหลักสูตร คณะ สำนัก มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 ตามปฏิทินการดำเนินงานอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งส่งรายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2562 มายังหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-1(20) หลังจากนั้นได้รายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 7/2563 (5.4-1(21)) และรายงานต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2563 (5.4-1(22)) พิจารณา

 

2 มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดไว้ และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจ ครอบคลุมทั้งระดับหลักสูตร และระดับคณะ (5.4-2(1)) ได้แก่
    - พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต
    - พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา
    - พันธกิจด้านการวิจัย
    - พันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
    - พันธกิจด้านด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    - พันธกิจด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง
    - พันธกิจด้านการจัดการความรู้
    - พันธกิจด้านการกำกับผลการดำเนินงานตามแผนการบริหาร
    - พันธกิจด้านด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย
    - พันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
    - พันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล
    - พันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2. มีการออกประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2562 ในข้อที่ 2 (5.4-2(2)) กำหนดให้หลักสูตร และคณะ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (5.4-2(3)) และจะต้องผ่านความเห็นชอบจากหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา หรือประกันกลางของมหาวิทยาลัยก่อน และลงนามโดยอธิการบดี เพื่อกำกับ ควบคุม ตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจประเมิน ที่จะส่งผลต่อคุณภาพของหลักสูตรในมหาวิทยาลัย

3. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจ เพื่อกำกับ ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ ทั้งหมด 12 พันธกิจอย่างต่อเนื่อง (5.4-2(4))

4. มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน (http://esar.sskru.ac.th/sys/)  มีเว็บไซต์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://qa.sskru.ac.th/sys/)

5. มีการรายงานผลการติดตามเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอย่างต่อเนื่อง
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2562 (5.4-2(5)) พิจารณา เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2562 (5.4-2(6)) พิจารณา เรื่อง 1) การดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , 2) พิจารณา (ร่าง) แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ประจำปีงบประมาณ 2563 , 3) พิจารณา (ร่าง) ระบบและกลไกการขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูลหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQR : Thai Qualifications Register)
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 (5.4-2(7)) พิจารณา เรื่อง 1) (ร่าง) แผนบริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 2) (ร่าง) โครงการสัมมนาเครือข่ายองค์กรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา : Mini_UKM ครั้งที่ 23
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 (5.4-2(8)) พิจารณา เรื่อง 1) รายงานผลการปฏิบัติราชการรอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , 2) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , 3) มอบหมายผู้รับผิดชอบเพื่อจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , 4) พิจารณาผู้ดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge Facilitator-KF) ประจำกลุ่ม Mini_UKM ครั้งที่ 23 
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 (5.4-2(9)) พิจารณ เรื่อง 1) รายงานผลการกำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูลบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี พ.ศ. 2562 , 2) จำนวนหลักสูตรที่รับการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2562 , 3) กรอบระยะเวลา การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก และมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2562 , 4) (ร่าง) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2563
   - รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 (5.4-2(10)) พิจารณ เรื่อง 1) รายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2562 , 2) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2562 (จากผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2561) , 3) ผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร และคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร และคณะ ดังนี้

1. มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-3(1)) เพื่อเป็นระบบ และกลไกในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

2. มีการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-3(2))

3. มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ (5.4-3(3)) และแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ให้เป็นลายลักอักษร (5.4-3(4)) และจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ทุกหน่วยงานในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/km-data-all)

4. มีการจัดทำคู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.4-3(5)) สูตรการคำนวณ (5.4-3(6)) และจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ส่งให้ทุกคณะใช้ในการบริหารจัดการองค์กรต่อไป (5.4-3(7))

5. มีการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินตนเอง และรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (มคอ.7) ให้ทุกหลักสูตรใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.4-3(8))

6. มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://esar.sskru.ac.th/)

7. มีการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสนับสนุนหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งระดับสถาบัน และระดับคณะ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ (http://qa.sskru.ac.th/research/sys/)

8. มีการจัดทำระบบการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล (5.4-3(9))

 

4 นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-4(1)) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2563 (5.4-4(2)) เสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2563 เพื่อพิจารณา (5.4-4(3))

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก ประจำปีการศึกษา 2561 (5.4-5(1)) แล้วเสร็จ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ได้นำผลการประเมินจากคณะกรรมการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 8/2562 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2562 (5.4-5(2)) และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 7/2562 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 (5.4-5(3)) เพื่อพิจารณา และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2562 (5.4-5(4)) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 10/2562 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 (5.4-5(5)) และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 9/2562 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 (5.4-5(6)) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ (5.4-5(7)) ส่งผลให้ทุกหลักสูตร คณะ มีผลการประเมินสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รายละเอียดดังตารางนี้

หน่วยงาน

เปรียบเทียบผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ปีย้อนหลัง

ปีการศึกษา 2560

ปีการศึกษา 2561

ปีการศึกษา 2562

ระดับหลักสูตร

2.96

3.35

3.52

ระดับคณะ

3.96

3.97

4.23

 

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

สภามหาวิทยาลัย ตระหนักและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ ติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพให้มหาวิทยาลัย คณะ และหลักสูตรสามารถทำงานเชื่อมกันได้อย่างเป็นระบบ

ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของหลักสูตร มีการกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบระดับมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยประสานงาน มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะและหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร ทั้งด้านงบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการหลักสูตร ฯลฯ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 มีหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนจำนวนทั้งสิ้น 45 หลักสูตร จากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีผลการประเมินด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม มีผลการประเมินผ่าน 45 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100 มีระดับคุณภาพ "ดี" (คะแนน 3.52) (5.4-6(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5.00 คะแนน