ผลการดำเนินงานของหลักสูตร หมายถึง ร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ปรากฏในหลักสูตร (มคอ.2) หมวดที่ 7 ข้อ 7 ที่หลักสูตรแต่ละหลักสูตรดำเนินการได้ในแต่ละปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะเป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ในแบบรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7)
มีการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 0
มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50
มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00
มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00-94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50
มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00-99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75
มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 5
คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพิ่มเติมไว้ ดังนี้
ข้อ 2 ระบุว่า “กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจะจัดทำรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม
(ถ้ามี) และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรในลักษณะอื่น สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดตามแนวทางของ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7 โดยสามารถปรับเปลี่ยนหัวข้อรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดทำ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7”
ข้อ 3 ระบุว่า “ให้ถือว่า ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้เอง ซึ่งแต่ละหลักสูตรมีอิสระในการกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ใช้ในการติดตาม ประเมิน และรายงานคุณภาพของหลักสูตรประจำปีที่ระบุไว้ในหมวด 1-6 ของแต่ละหลักสูตร ตามบริบทและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่สามารถเสนอขอปรับตัวบ่งชี้ใหม่ได้แล้วเสร็จ ให้ใช้ตัวบ่งชี้เดิมก่อนได้ หรือหากหลักสูตรใดมีความประสงค์กำหนดตัวบ่งชี้แบบเดิมก็สามารถกระทำได้ กรณีหลักสูตรมีการปรับปรุงตัวบ่งชี้ใหม่ ให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป”
ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ตัวบ่งชี้ที่ 5.4)
ดัชนีบ่งชี้การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน เป็นไป/ไม่เป็นไปตามเกณฑ์
1.อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผนติดตามและทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ใช้กลไกการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อวางแผนการบริหารจัดการการเรียนการสอน จัดรายวิชาที่เปิดสอน และกำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละภาคการศึกษา กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน สรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผลการเรียน และทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อการปรับปรุงผลการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 6 ครั้ง ในปีการศึกษา 2563 โดยมีวาระหลักเพื่อพิจารณาดังนี้
• ครั้งที่ 1/ปีการศึกษา 2563 วางแผนการจัดการเรียนการสอนในภาพรวม จัดรายวิชาที่เปิดสอนและกำหนดอาจารย์ผู้สอน ประจำภาคการศึกษาที่ 1/2563
• ครั้งที่ 2/ปีการศึกษา 2563 กำกับติดตามการดำเนินงาน ตามแบบ มคอ.3
• ครั้งที่ 3/ปีการศึกษา 2563 รายงานผลการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามแบบ มคอ 5 จัดรายวิชาที่เปิดสอน ทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอน ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกระบวนการ และกำหนดอาจารย์ผู้สอน ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2563
• ครั้งที่ 4/ปีการศึกษา 2563 กำกับติดตามการดำเนินงาน ตามแบบ มคอ 3 ภาคการศึกษาที่ 2/2563
• ครั้งที่ 5/ปีการศึกษา 2563 รายงานผลการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามแบบ มคอ 5 รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ฯ จัดรายวิชาที่เปิดสอน และกำหนดอาจารย์ผู้สอน ภาคการศึกษาที่ 1/2563
ครั้งที่ 6/ปีการศึกษา 2563 รายงานผลการดำเนินงานตามแบบ มคอ 7 พร้อมข้อเสนอแนะการปรับปรุงรายวิชา และหลักสูตร พร้อมทั้งทบทวนเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีอาจารย์เข้าร่วมประชุม 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100
หลักฐานอ้างอิง
1. รายงานการประชุมครั้งที่ 1-6
2. เล่มหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559)
2.มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบมคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติหรือมาตรฐานคุณวุฒิสาชา/สาขาวิชา (ถ้ามี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หลักฐานอ้างอิง
1.หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่)
3.มีรายละเอียดของรายวิชาและรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบมคอ.3 และมคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกวิชา ในปีการศึกษา 2563 ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/ปีการศึกษา 2563 ให้ความเห็นชอบรายวิชาที่เปิดสอน และรายละเอียดของรายวิชาตามแบบ มคอ. 3 จำนวนทั้งสิ้น 16 รายวิชา และการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรครั้งที่ 3/ปีการศึกษา 2563 ให้ความเห็นชอบรายวิชาที่เปิดสอนและอาจารย์ผู้สอน ในภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวน 11 รายวิชารวมทั้งหมด 27 รายวิชา ทุกรายวิชามีรายละเอียดการจัดการเรียนการสอนตามแบบ มคอ 3 ทุกรายวิชา (ในปีการศึกษานี้มีรายวิชาประสบการณ์ภาคสนาม จึงมี มคอ. 4) ทุกรายวิชาดำเนินการแล้วเสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษา
หลักฐานอ้างอิง
1. รายงานการประชุมครั้งที่ 1/2563
4.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาและรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)ตามแบบมคอ.5 และมคอ.6 ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/ปีการศึกษา 2563 ให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ. 5 จำนวนทั้งสิ้น 16 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 100 ของรายวิชาที่เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1/2563 (รายงานผลดำเนินงานของรายวิชาตามแบบ มคอ.5 ของภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวน 11 รายวิชา จะดำเนินการภายใน 30 วัน หลังจากสิ้นภาคเรียนที่ 2/2562 ต่อไป)
หลักฐานอ้างอิง
1.รายงานการประชุมครั้งที่ 3/2563
5.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบมคอ.7 ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ จะดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรตามแบบ มคอ. 7 ภายใน 60 วันหลังจากสิ้นภาคการศึกษาที่ 2/2563
หลักฐานอ้างอิง
1.มคอ.7 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2563
6.มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในมคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ได้ดำเนินการทบทวนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวน 7 รายวิชาจากจำนวนรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 27 รายวิชา โดยได้ดำเนินการทวนสอบสำหรับปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 100 ของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559)
หลักฐานอ้างอิง
1. รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2563
7.มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนกลยุทธ์การสอนหรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานในมคอ.7 ปีที่แล้ว ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/ปีการศึกษา 2563 ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดยให้เน้นการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายในฯ พ.ศ.2558 และให้ขยายโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกระบวนการกิจกรรมชมรม และการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในรายวิชา จากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาตามรายวิชา อบรมภาษาอังกฤษ อบรมการใช้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ และ มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงาน มคอ.7 ปีที่แล้ว
หลักฐานอ้างอิง
1.สรุปโครงการชมรมรัฐศาสตร์ บริการวิชาการที่โรงเรียนบ้านโคก อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
8.อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน ไม่มี
-
หลักฐานอ้างอิง
-
9.อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/วิชาชีพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาทางวิชาการทั้งในส่วนที่คณะดำเนินการ อาทิ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ โดยวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันในเครือข่ายที่จัดขึ้น และการเข้าร่วมโครงการประชุมทางวิชาการ การสัมมนาระดับชาติ ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตลอดจนการศึกษาดูงาน อย่างสม่ำเสมอ
หลักฐานอ้างอิง
-คำสั่งเข้าอบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมรรถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
10.จำนวนบุคลากรสนับสนุนการสอน(ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี ไม่มี -
หลักฐานอ้างอิง
-
11.ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 จากคะแนนเต็ม 5.0
หลักฐานอ้างอิง
สรุปรายงานความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร 2563
12.ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีผลต่อบัณฑิตใหม่เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีผลต่อบัณฑิตใหม่ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.35 จากคะแนนเต็ม 5.0
หลักฐานอ้างอิง
-รายงานสรุปความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ 2563
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
10 | 5 |