ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ทิวาพร ใจก้อน , นิลวรรณ จันทา , นงนุช แสงพฤกษ์ , ปวริศา แดงงาม , ทินกร กมล , รุ่งทิวา เนื้อนา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา (อ้างอิง 5.3-1(1) นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563) และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพการศึกษา (อ้างอิง 5.3-1(2) ประกาศ แนวทางปฎิบัติที่ดีการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563) และประกาศแนวทางปฎิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (5.3-1(3) ประกาศ แนวทางปฎิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) และได้ดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 3 ด้าน (อ้างอิง 5.3-1(4) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร คณะมนุษย์)  ดังนี้

ระบบควบคุมคุณภาพ

     มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใระดับ หลักสูตรเพื่อดำเนินการตามนโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา (อ้างอิง 5.3-1(5) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จัดเก็บตัวบ่งชี้ ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) และดำเนินงานตามปฏิทินการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.3-1(6) ปฏิทินดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563) อีกทั้งได้จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา  2563 (อ้างอิง 5.3-1(7) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ปีการศึกษา 2563) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้คณะยังได้ส่งรายชื่อบุคลากร จำนวน 20 คน ซึ่งมาจากทุกหลักสูตร เข้าร่วมโครงการกับทางมหาวิทยาลัย ได้แก่ โครงการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (หลักสูตรที่ 2 สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์) อบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตร ให้แก่บุคลากร เมื่อวันที่ 7-8 เมษายน 2564 เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับเอกสารหลักฐาน รวมถึงการอัพโหลด และกรอกข้อมูลในระบบ CHE QA ONLINE

ระบบตรวจสอบคุณภาพ

     มีการจัดทำแผนประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา  2563 โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินการตรวจสอบตามแผน และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (อ้างอิง 5.3-1(9) แผนงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563)

ระบบประเมินคุณภาพ

     มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.3-1(10) กำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน-ระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563) และมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (อ้างอิง 5.3-1(11) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) จากนั้นทุกหลักสูตรเข้ารับการประเมินและรายงานผลการประเมิน (อ้างอิง 5.3-1(12) สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายใน-ระดับหลักสูตร 9 หลักสูตร-ปีการศึกษา 2563 และ 5.3-1(13) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563)

2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะ กรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะฯ และระดับหลักสูตร เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบ ขั้นตอนที่กำหนดไว้ (อ้างอิง 5.3-2(1) คำสั่งแต่งตั้งกรรมการดำเนินการ งานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2563 และ 5.3-2(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา 5.3-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 4/2564

เพื่อชี้แจงรายระเอียดการดำเนินโครงการ กิจกรรม ตามแผนและปฏิทินการดำเนินงาน จากนั้นนำข้อมูลการดำเนินงานรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 5.3-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 51-55)

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณให้แต่ละหลักสูตร เพื่อการดำเนิน งานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  โดยมีโครงการหลักของแต่ละหลักสูตร 3 โครงการ ได้แก่

     1. โครงการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับสาขาวิชา และกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผน 

     2. โครงการบริการวิชาการ 

     3. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (อ้างอิง 5.3-3(2) สรุปรายงานการไปพัฒนาตนเอง ความรู้ ทักษะวิชาชีพบุคลากรคณะมนุษย์ 2563) มีรายละเอียดต่อไปนี้

         ตารางเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทุกหลักสูตรปีการศึกษา 64 และ 63

หลักสูตร

ได้รับจัดสรรปี 64

ได้รับจัดสรรปี 63

เพิ่ม/ลด

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

70,000

70,000

 

สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

85,000

85,000

 

สาขาวิชาภาษาจีน

70,000

70,000

 

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

45,000

45,000

 

สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์ฯ

35,000

35,000

 

สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

45,000

55,000

-10,000

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

45,000

45,000

 

สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

80,000

80,000

 

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

50,000

45,000

+5,000

นอกจากนี้คณะฯได้จัดสรรงบ ประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร คนละ 5,000 บาท / ปีงบประมาณทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวได้จัดสรรไว้ที่คณะฯ

2. คณะได้จัดสรรสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรต่างๆ อันได้แก่  ห้องพักอาจารย์  คลีนิควิจัย เพื่อให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ด้านการวิจัย  ห้องสมุดของแต่ละสาขา เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูล ที่ไม่สามารถหาได้จากห้องสมุดกลาง  ห้องวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมของนักศึกษา (อ้างอิง 5.3-3(3) ห้องพักอาจารย์ 9 สาขาวิชา 5.3-3(4) ห้องคลีนิควิจัย

5.3-3(5) ห้องสโมสรนักศึกษา 5.3-3(6) ห้องสมุดสาขาบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.3-3(7) ห้องสมุดสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 5.3-3(8) ห้องปฏิบัติการทางนิเทศศาสตร์และอุปกรณ์ 5.3-3(9) ห้องปฏิบัติการทางศิลปะและการออกแบบ 5.3-3(10) มุมหนังสือสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 5.3-3(11) ห้องวัฒนธรรมจีน 5.3-3(12) ห้องวัฒนธรรมญี่ปุ่น และ 5.3-3(13) ห้องปฏิบัติการทางภาษา)

4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ทุกหลักสูตร ตามที่กำหนดไว้ในปฏิทินการดำเนินงาน ประจำปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.3-4(1) ปฏิทินดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563) และทุกหลักสูตรได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ.7 โดยได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินในรอบการประเมิน ประจำปีการศึกษา 2562 มาปรับปรุง เพื่อเข้ารับการประเมินในปีการศึกษา  2563 ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2564 โดยการดำเนินการเชิญคณะ กรรมการผู้ตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่มีชื่อผู้ประเมินของ สกอ. หรือคปภ. และเป็นผู้ประเมินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละหลักสูตร (อ้างอิง 5.3-4(11) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการประเมินจากคณะกรรมการภายนอก 9 หลักสูตร ได้แก่

     1. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาจีน

     2. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

     3. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

     4. หลักสูตร นศ.บ. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

     5. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

     6. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

     7. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

     8. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

     9. หลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

         ผลการประเมิน 9 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 9 หลักสูตร (อ้างอิง 5.3-4(12) สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร (9 หลักสูตร) ปีการศึกษา 2563) จากนั้นได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรต่อคณะกรรมการประจำคณะฯเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพดขึ้น (อ้างอิง5.3-4(13) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 51-55)

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

   ในปีการศึกษา 2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เข้ารับการประเมินทั้งหมด 9 หลักสูตร และพบว่ามีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน จำนวน 9 หลักสูตร  และมีผลการประเมินระดับคุณภาพดี จำนวนทั้งหมด 9 หลักสูตร (อ้างอิง 5.2-5(1) สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร (9 หลักสูตร) ปีการศึกษา 2562) และภายหลังการประเมินในแต่ละสาขาวิชาได้นำผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 5.2-5(2) สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 2/2563 หน้าที่ 14-15) ได้ให้ข้อเสนอแนะควรมีการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ดำเนินงานตามระบบและกลไกและมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ แต่ละหลักสูตรได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพหลักสูตรประจำปีการศึกษาต่อไป (อ้างอิง 5.2–5(3) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาภาษา จีน วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(4) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาภาษา อังกฤษธุรกิจ วงรอบปีการ ศึกษา 2562 5.2-5(5) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาภาษา ญี่ปุ่น วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(6) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาภาษา ไทยเพื่อการสื่อสาร วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(7) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชานิเทศศาสตร์ วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(8) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(9) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาประวัติ ศาสตร์ วงรอบปีการศึกษา 2562 5.2-5(10) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาบรรณรักษ์ฯ วงรอบปีการศึกษา 2562 และ 5.2-5(11) Improvement-Plan หลักสูตรสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน วงรอบปีการศึกษา 2562 )

        ตารางเปรียบเทียบผลการประเมิน 9 หลักสูตร ปีการศึกษา 2561 - 2563

ที่

สาขาวิชา

ปีการศึกษา 2561

ปีการศึกษา 2562

ปีการศึกษา 2563

คะแนน

ระดับคุณภาพ

องค์ที่ 1

คะแนน

ระดับคุณภาพ

องค์ที่ 1

คะแนน

ระดับคุณภาพ

องค์ที่ 1

1

การพัฒนาชุมชน

3.45

ดี

ผ่าน

3.83

ดี

ผ่าน

3.69

ดี

ผ่าน

2

ภาษาอังกฤษธุรกิจ

2.57

ปานกลาง

ผ่าน

3.43

ดี

ผ่าน

3.61

ดี

ผ่าน

3

นิเทศศาสตร์

3.01

ดี

ผ่าน

3.54

ดี

ผ่าน

3.63

ดี

ผ่าน

4

ภาษาจีน

2.88

ปานกลาง

ผ่าน

3.24

ดี

ผ่าน

3.67

ดี

ผ่าน

5

ภาษาญี่ปุ่น

3.09

ดี

ผ่าน

3.45

ดี

ผ่าน

3.86

ดี

ผ่าน

6

บรรณรักษศาสตร์ฯ

3.14

ดี

ผ่าน

3.26

ดี

ผ่าน

3.57

ดี

ผ่าน

7

ศิลปะและการออกแบบ

2.75

ปานกลาง

ผ่าน

3.35

ดี

ผ่าน

3.65

ดี

ผ่าน

8

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

3.11

ดี

ผ่าน

3.62

ดี

ผ่าน

3.31

ดี

ผ่าน

9

ประวัติศาสตร์

3.52

ดี

ผ่าน

3.71

ดี

ผ่าน

3.64

ดี

ผ่าน

รวมคะแนนเฉลี่ยทุกสาขาวิชา

3.06

3.49

3.63

        เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2561, 2562 และ 2563 พบว่า ในปีการศึกษา 2562 และ 2563 มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ระดับคุณภาพดี จำนวน 9 หลักสูตร เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานระดับคุณภาพดี จำนวน 6 หลักสูตร และได้มาตรฐานระดับคุณภาพปานกลาง จำนวน 3 หลักสูตร ส่งผลให้การประเมินในภาพรวมมีคะแนนในปีการศึกษา 2561 =3.06  ปีการศึกษา 2562 = 3.49 และปีการศึกษา 2563 = 3.63 คะแนน โดยมีคะแนนดีขึ้นตามลำดับ (อ้างอิง 5.2-5(12) สรุปตารางเปรียบเทียบคะแนนตรวจประเมินระดับหลักสูตร    ปีการศึกษา 2561, 2562 และปีการศึกษา 2563)

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 25623 ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2564 โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 9 หลักสูตร เข้ารับการตรวจประเมินดังนี้

   1. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

   2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

   3. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

   4. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

   5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

   6. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

   7. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

   8. สาขาวิชาภาษาจีน

   9. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

         ผลการประเมิน มีหลักสูตรที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวน 9 หลักสูตร จาก 9 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100 (อ้างอิง 5.3-6(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 และ 5.3-6(2) สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายใน-ระดับหลักสูตร 9 หลักสูตร ปีการศึกษา 2563)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
ุ6