ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ :
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
หมายเหตุ

คุณภาพหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาตามเกณฑ์ทั้ง 2 ประเด็นดังนี้
   1. ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่พิจารณาจากเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
   2. ผลการประเมินคุณภาพฯ ของแต่ละหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหลักสูตร/คณะทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
**กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การกำกับมาตรฐาน จะไม่พิจารณาผ่านเกณฑ์ข้อที่ 5   

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน