การประเมินนักศึกษามีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ การประเมินผลนักศึกษาเพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนของผู้สอน และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา (Assessment for Learning) การประเมินที่ทำให้นักศึกษาสามารถประเมินตนเองเป็น และมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาวิธีการเรียนของตนเองใหม่ จนเกิดการเรียนรู้ (Assessment as Learning) และการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Assessment of Learning) การประเมินส่วนใหญ่จะใช้เพื่อจุดมุ่งหมายประการหลัง คือ เน้นการได้ข้อมูลเกี่ยวกับสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนจึงควรส่งเสริมให้มีการประเมินเพื่อจุดมุ่งหมายสองประการแรกด้วย ทั้งนี้ ความเหมาะสมของระบบประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์การประเมิน วิธีการประเมิน เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ และวิธีการให้เกรดที่สะท้อนผลการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
มีการกำกับให้มีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) มีการใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ให้ผลการประเมินที่สะท้อนความสามารถในการปฏิบัติงานในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) และมีวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่ทำให้นักศึกษาสามารถแก้ไขจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งของตนเองได้ให้ผลการประเมินที่สะท้อนระดับความสามารถที่แท้จริงของนักศึกษา สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบประเมินวิทยานิพนธ์
การค้นคว้าอิสระที่มีคุณภาพด้วย
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
- การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7)
- การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่สะท้อนสภาพจริงด้วยวิธีการหรือเครื่องมือประเมินที่เชื่อถือได้ ให้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
การประเมินนักศึกษามีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) การประเมินผลนักศึกษา เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนของผู้สอน และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) การประเมินที่ทำให้นักศึกษาสามารถประเมินตนเองเป็น และมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาวิธีการเรียนของตนเองใหม่ จนเกิดการเรียนรู้ และ3) การประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร โดยการประเมินส่วนใหญ่จะใช้เพื่อจุดมุ่งหมายประการหลัง คือ เน้นการได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนจึงควรส่งเสริมให้มีการประเมินเพื่อจุดมุ่งหมายสองประการแรกด้วย ทั้งนี้ความเหมาะสมของระบบประเมินต้องมีความสำคัญกับการกำหนดเกณฑ์การประเมินวิธีการประเมิน เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ และวิธีการให้เกรดที่สะท้อนผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีการกำกับให้มีการประเมินตามสภาพจริง มีการใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ให้ผลการประเมินที่สะท้อนความสามารถในการปฏิบัติงานในโลกแห่งความเป็นจริง และมีวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ที่ทำให้นักศึกษาสามารถแก้ไขจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งของตนเองได้ให้ผลการประเมินที่สะท้อนระดับความสามารถที่แท้จริงของนักศึกษา
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
1. ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ภายใต้ระบบการกำกับดูแลของกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ได้จัดการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 ตามกระบวนการดังนี้
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนรายวิชาตามที่ระบุไว้ใน มคอ. 3 (ปีการศึกษานี้มีการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จึงมี มคอ. 4)
• อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มคอ. 3 ตามแบบของกองทะเบียนและประมวลผล และการรายงานผลดำเนินงานตาม แบบ มคอ .5
• นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านระบบลงทะเบียน งานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยฯ
• คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ (แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำหลักสูตร) จัดทำผลการทวนสอนฯ
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร และที่ประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ให้ความเห็นชอบผลการเรียน ผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ให้ความเห็นชอบผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนรายวิชาตามแบบ มคอ. 5 และมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ความเห็นชอบผลการทวนสอบฯ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
• หลักสูตร จัดทำผลการดำเนินงานหลักสูตรตามแบบ มคอ. 7 เพื่อประเมินหลักสูตร ซึ่งจะดำเนินการเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2/2563
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะให้ความเห็นชอบผลการดำเนินงานหลักสูตรตามแบบ มคอ. 7 พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ซึ่งจะได้ดำเนินงานตามแผน เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2/2563
การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง
ในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ผู้สอนรายวิชาจัดทำ มคอ.3 ระบุวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ใน มคอ.3 ทุกรายวิชา คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำกับ ติดตามให้ผู้เรียนได้ความรู้และประสบการณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ชองหลักสูตร การประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชามีทั้งการทดสอบที่เป็นอัตนัยและปรนัย เป็นการวัดความรู้ตามทฤษฎี การทำงานกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรมการทำงานในชั้นเรียนเพื่อดูทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตร
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มีการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และมีการนำผลการทวนสอบ เข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรฯ เพื่อหาแนวทางปรับปรุง พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอน และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตามข้อกำหนดของตัวบ่งชี้ระบุว่าจะต้องทำการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ฯ อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ เปิดสอนจำนวน 27 รายวิชา ดังนั้นในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ จะต้องดำเนินการทวนสอบฯ จำนวน 7 รายวิชา (คิดจาก 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2563) แต่ทั้งนี้ในรอบการทวนสอบฯ ในปีการศึกษา 2563 นี้ มี 7 รายวิชา ดังนี้
หมวดที่ 3 ผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
1. ผลการทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้โดยภาพรวม
1.1. ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรครบถ้วนตามกระบวนการ
1.2. สรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
1.2.1. รายวิชาที่นำมาทวนสอบปีการศึกษา 2563 จำนวน ......7..... รายวิชา
ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน .......-...... รายวิชา
ผลการประเมินอยู่ในระดับดี จำนวน ......7..... รายวิชา
ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน ......-..... รายวิชา
1.3. การประเมินผลมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ต้องนำจุดดำในเล่มหลักสูตรมาประกอบ
1.4. นำตารางจุดดำ มาเพิ่มเติมในช่วงท้ายหมวดที่ 5
1.5. ไม่ต้องใส่จำนวนชั่วโมงสอบกลางภาค/ปลายภาค ในแผนการสอนรายสัปดาห์
รายวิชาทฤษฎี จำนวน 45 ชั่วโมง /รายวิชาปฏิบัติ จำนวน 48 ชั่วโมง
1.6. มคอ.3 เพิ่มการบูรณาการ การเรียนการสอน/บริการวิชาการ/งานวิจัย โดยลงรายละเอียดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละสัปดาห์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.3 เสนอผ่านอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณา และดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลตามแนวทางที่กำหนด
2.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอนตัดเกรดส่งอาจารย์ประจำหลักสูตร พิจารณาการกระจายและการประเมินผลการเรียนรู้ตาม มคอ.3
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาบันทึกผลการเรียนและแจ้งนักศึกษาผ่านระบบทะเบียน
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.5
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6)
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มีการกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 ส่งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณารับทราบปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาถัดไป ทั้งนี้หลักสูตรได้หาแนวทางร่วมกันในการกำกับติดตามการส่ง มคอ. ประจำปีการศึกษา 2563 จากปัญหาที่พบเมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมาด้วย
จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรดำเนินการการจัดทำ มคอ.7 ตามวงรอบปีการศึกษา 2563 ทั้งนี้หลักสูตรฯ มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มีการประชุมเพื่อทวนสอบผลการเรียนของนักศึกษา จำนวน 7 รายวิชา ในปีการศึกษา 2563หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ เปิดสอนจำนวน 27 รายวิชาหลักสูตรฯ จะต้องดำเนินการทวนสอบฯ จำนวน 7 รายวิชา (คิดจาก 25% ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2563) แต่ทั้งนี้ในรอบการทวนสอบฯ ในปีการศึกษา 2563 นี้ มี7 รายวิชา คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ของรายวิชาที่ทวนรสอบของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ.2559)
การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง
เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 หลักสูตรมีการประชุมติดตามผลการประเมินผู้เรียน เพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนของแต่ละรายวิชา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าหลักสูตรจะต้องมีการปรับปรุงระบบและกลไกการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ชองนักศึกษาก่อนที่จะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวิซาการคณะ ในภาคการศึกษาที่ 2/2563 ให้หลักสูตรมีการจัดประชุมเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา เพื่อตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชาที่ นักศึกษามีผลการเรียนรู้ผิดปกติ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่ อาจารย์ผู้สอนจะส่งเกรดให้กับคณะกรรมการวิซาการคณะต่อไป ในรายวิชาที่นักศึกษามีผลการเรียนรู้ผิดปกติพบว่า สาเหตุเกิดจากนักศึกษาสอบปลายภาคได้คะแนนค่อนข้างน้อย เนื้อหาวิชาค่อนข้างเยอะ และในบางรายวิชาที่นักศึกษาได้ผลการเรียนที่สูงเนื่องจาก คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจึงแจ้งอาจารย์ ผู้สอนให้มีการสอนเสริมและทบทวนบทเรียนให้กับนักศึกษาให้กับนักศึกษาทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละรายวิชา
ผลการปรับปรุง
มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรให้มีการปรับปรุงการเขียนมคอ.3 หมวด 3 ข้อ 1 คำอธิบายรายวิชาให้สอดคล้องกับรายละเอียดการสอน โดยให้อาจารย์ผู้สอนทุกท่านกำหนดแผนการสอนและการประเมินผลให้ สอดคล้องกับการพัฒนาของผู้เรียน
หลักฐานอ้างอิง
รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับหลักสูตร (รัฐศาสตรบัณฑิต) ปีการศึกษา 2563
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
5.3 - (1) | รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับหลักสูตร (รัฐศาสตรบัณฑิต) ปีการศึกษา 2563 |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
4 | 4 |