หลักสูตรต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบผู้สอนในแต่ละรายวิชา โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน และเป็นความรู้ที่ทันสมัยของอาจารย์ที่มอบหมายให้สอนในวิชานั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ประสบการณ์ และได้รับการพัฒนาความสามารถจากผู้รู้จริง สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ที่เหมาะสมกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ และลักษณะของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้รับโอกาสและการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต้องสามารถให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาหัวข้อจนถึงการทำวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ การสอบป้องกัน และการเผยแพร่ผลงานวิจัยจนสำเร็จการศึกษา
กระบวนการเรียนการสอนสำหรับยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนด และได้รับการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะทางภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทักษะการทำงานแบบมีส่วนร่วม ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการดูแลสุขภาพฯลฯ การเรียนการสอนสมัยใหม่ต้องใช้สื่อเทคโนโลยี และทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและในสถานที่ใดก็ได้ ผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เทคนิคการสอนจะเน้นการวิจัยเป็นฐาน
การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การกำหนดผู้สอน
- การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน
- การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- การควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและความก้าวหน้าของศาสตร์
- การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาที่มี
ความเชี่ยวชาญสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์
- การช่วยเหลือ กำกับ ติดตาม ในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดผลการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมาย
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
การกำหนดผู้สอน 1. ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ได้นำระบบและกลไกการวางระบบผู้เรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ของ วิทยาลัยฯ มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง 8 ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ (1) ระบบจัดรายวิชาที่เปิดสอนและอาจารย์ผู้สอนประจำภาคการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับ มคอ. 2 (2) ระบบลงทะเบียน และเพิ่ม/ถอน รายวิชาที่ลงทะเบียน ของมหาวิทยาลัยฯ (3) ระบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของวิทยาลัยฯ (4) ระบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยฯ (5) ระบบวัดผลและประเมินผล ของมหาวิทยาลัยฯ (6) ระบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ฯ ของมหาวิทยาลัยฯ (7) ระบบรายงานผลการเรียนของงานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยฯ (8) ระบบประเมินอาจารย์ผู้สอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รายละเอียดของการดำเนินงานทุกระบบ ในภาคการศึกษาที่ 1และ 2/2563 มีดังนี้ • ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร กำหนดรายวิชาและชื่ออาจารย์ที่เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1/2563 จำนวนทั้งสิ้น 16 รายวิชา และภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวนทั้งสิ้น 11 วิชา อาจารย์มีชั่วโมงสอนโดยเฉลี่ย 15/สัปดาห์ • ฝ่ายวิชาการโดยการกับดูแลของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯ ประกาศรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา และอาจารย์ผู้สอน และกำหนดกลุ่มนักศึกษาที่สามารถลงทะเบียนได้ • นักศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ลงทะเบียนเรียน เพิ่ม/ถอน รายวิชาเรียนตามเงื่อนไข และกรอบระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด • อาจารย์ผู้สอนโดยการกำกับดูแลของหลักสูตรฯ และคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ จัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนตามแบบ มคอ. 3 ที่เน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดำเนินงานตามระบบ ในระยะเวลาที่กำหนด • หลักสูตรฯ กำกับดูแลให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินตามเงื่อนไข และระบบที่กำหนดไว้ • หลักสูตรฯ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะ จัดโครงการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และจัดการความรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล • อาจารย์ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน • อาจารย์ผู้สอนภายใต้การกำกับดูแลของหลักสูตรฯ จัดสอบ วัดผล ประเมินผลการเรียนรายวิชา และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดจนการบริหารจัดการเรียนการสอน • หลักสูตรภายใต้ระบบการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ พิจารณาผลการเรียน ผลการประเมินการสอนฯ ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ฯ รายงานผลการดำเนินงานตามแบบ มคอ. 5 และ มคอ. 7 (ภาคการศึกษาที่ 2) และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง • หลักสูตรฯ พิจารณานำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการบริหารจัดการการวางระบบผู้เรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 2.พิจารณากำหนดผู้สอน ในเริ่มต้นภาคเรียนคณาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนได้มาประชุมเตรียม ความพร้อม วางระบบผู้สอนโดยการคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญ การเป็นผู้รู้ที่ทันสมัยในวิชาที่จะทำการสอน โดยดูจากประสบการณ์ที่เคยสอน เคยเรียนรู้มาจากสถาบันที่จบมา นอกจากนั้นก็จะสำรวจความต้องการของอาจารย์ผู้สอน ว่าต้องการจะจัดการเรียนการสอนในวิชาใด เพราะอะไร โดยทางสาขายึดหลักว่า การที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีต้องมาจากความต้องการของอาจารย์ผู้สอน เมื่อมีความต้องการย่อมมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และต้องทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนั้นพิจารณาว่า เคยผ่านการอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษา ค้นคว้าวิจัยในสาระรายวิชาอะไรมาบ้าง อย่างไร ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ยึดความพึงพอใจเป็นสำคัญ การกำกับติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้( มคอ.3 และ มคอ.4) และการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรฯมีการติดตามและตรวจสอบการทำ มคอ.3 และมคอ.4 โดยมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนจัดทำ รายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) การจัดทำรายละเอียดรายวิชาประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.4) ของ รายวิชาที่มีการปฏิบัติ โดยให้อาจารย์ทุกท่านส่งที่ประธานสาขา จึงสรุปได้ว่า ประธานสาขาเป็นผู้กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ ผลปรากฏว่า ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ส่งครบทุกรายวิชา นอกจากนั้นยังมีข้อสรุปว่า มคอ.3 และมคอ.4 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยให้ถือว่า การเรียนการสอนของอาจารย์ทุกท่านเป็นการวิจัย โดยกำหนด เริ่มที่ มคอ.3 และมคอ.4 เป็นการวางแผนการพัฒนา ทางสาขาจึงให้ความสำคัญในรายละเอียดพอสมควร จากนั้นอาจารย์ผู้สอนก็ปฏิบัติการสอนตาม มคอ.3 อย่างเต็มตามศักยภาพ มีเก็บข้อมูลจากการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบโดยเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ จากนั้นก็จัดทำสรุปผลการดำเนินการของรายวิชา(มคอ.5 และมคอ.6) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนางานของอาจารย์ทุกท่าน การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติ ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการปฏิบัติจะนำมาซึ่งการสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะรายวิชาที่เน้นทฤษฎีก็มีการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ การทำโครงการต่างๆ สำหรับรายวิชาที่ต้องปฏิบัติเช่นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นั้นเน้นที่การทำ มคอ.4 อย่างละเอียดกล่าวคือ 1. มีข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม ซึ่งได้ต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร 2. กำหนดวัตถุประสงค์รายละเอียดของการดำเนินการของกิจกรรมนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน 3. ชี้แจง ประชุม สัมมนา เรื่องความรู้ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกำหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่างๆตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย 4. กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา และการประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม การจัดการเรียนการสอนยังเน้นกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง ตามความต้องการของตนเอง และความต้องการของแรงงานภายนอก การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง: ในปีการศึกษา 1/2563 คณะกรรมการประจำหลักสูตรได้ตรวจสอบรายละเอียดการจัดทำ มคอ.3 ของรายวิชาที่เปิดสอนโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาในประเด็นการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนานักศึกษาให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ใน Curriculum Mapping รวมทั้งการตรวจสอบการนำผลการประเมินตาม มคอ.5 มาปรับปรุงพัฒนา พบว่าบางรายวิชายังไม่ถูกต้องและขาดความสมบูรณ์ จึงแจ้งข้อมูลส่งให้อาจารย์ผู้สอนแก้ไข ผลการปรับปรุงกระบวนการ: จากการติดตาม และตรวจสอบทำให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2563 มีการจัดทำ มคอ.3 และมคอ.5 ได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจึงลดลง พบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความเข้าใจในการจัดแผนการเรียนรู้ มคอ.3 และมคอ.4 มากขึ้นโดยเฉพาะวิธีการสอนและวิธีการวัดและประเมินผลตามคุณลักษณะบัณฑิต รวมทั้งวิธีการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชามคอ.5ที่สอดคล้องกับมคอ.3 และสามารถส่งตามกำหนดเวลาไว้ได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้านการจัดการเรียนการสอนในระปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การกำกับการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์ ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ให้ถือว่าเป็นภารกิจหลักของอาจารย์ที่จะต้องทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ตามสิ่งที่ได้วางแผนไว้ในหมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล โดยสาขาได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะที่อาจารย์ต้องยึดถือคือ 1 พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ตามโครงสร้างหลักสูตร 2 พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณธรรม จริยธรรม 3 เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น 1) ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) ทักษะทางภาษา 3) การทำงานงานแบบมีส่วนร่วม 4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น 4 จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี 5 จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 6 อาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ 7 สาขาส่งเสริมอาจารย์ทุกท่านใช้เทคนิคการสอนคือ 1) การวิจัยเป็นฐาน และการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้พิจารณาผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) การกำหนดอาจารย์ผู้สอนบางท่านสอนน้อยเกินไป จึงแยกหมู่เรียนเพื่อให้อาจารย์ได้ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น บางอาจารย์รวมหมู่เรียน เพราะท่านสอนวิชาแกนและวิชาเอก 2) การจัดทำ มคอ.3 มีอาจารย์บรรจุใหม่ที่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำจึงต้องชี้แนะ ชี้นำและค่อยๆ พัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจและเพิ่มทักษะให้มากขึ้น ส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์แล้วจะเน้นที่การทำ มคอ.3 ให้ละเอียดและสอดแทรกเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาไปในตัวด้วย 3) การจัดกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์ ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ พบว่า กรอบการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิคุณธรรม จริยธรรมยังไม่เด่นชัด จึงแนะนำให้ประเมินให้ชัดเจน มีจุดยืนในเรื่องคุณธรรมเป็นประเด็นสำคัญๆ ไม่ต้องมากเพียงแค่ 2-3 ประเด็น ที่สำคัญคือทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1) ให้อาจารย์ผู้สอนพิจารณารายวิชาที่สอน หากมีเนื้อหาที่สามารถเชิญวิทยากรจากภายนอกหรืออาจารย์ต่างคณะมาบรรยายเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ได้ ให้ดำเนินการโดยแจ้งมาที่ประธานสาขา 2) การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน อาทิ ให้นักศึกษาได้ใช้ wifi ในการค้นหาข้อมูลในขณะที่เรียน โดยใช้ wifi ของมหาวิทยาลัย 3) ให้อาจารย์หาเทคนิคการสอนสมัยใหม่ที่สามารถสนับการเรียนรู้ โดยในแต่ละครั้งที่สอน ต้องมีทั้งการบรรยาย และการปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4) เมื่อสอนเสร็จให้นักศึกษาประเมินการสอนของอาจารย์ โดยอาจารย์ผู้สอนสอบถามนักศึกษาถึงความเข้าใจ และกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างไร เพื่อนำไปปรับปรุงในครั้งถัดไป เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2/2563 ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้พิจารณาผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) ทักษะทางภาษา ได้ให้นโยบายเน้นการเรียนศาสตร์ทางรัฐศาสตร์ด้วยการค้นคว้าคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากรายวิชา 2553107 เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศบูรณาการในการเรียนการสอนด้วย 2) การพัฒนาทักษะด้าน ICT เพื่อการแสวงหาความรู้ และปีการศึกษาหน้าเน้นการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นโดยการให้นักศึกษาส่งงานทาง e-mail สิ่งหนึ่งที่สาขาวิชารัฐศาสตร์เน้นมากเป็นพิเศษคือ การสร้างภาวะผู้นำให้กับนักศึกษา เป็นต้น ด้านการบูรณาการพันธกิจต่างๆ กับการเรียนการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์มีโครงการต่างๆ ในการพัฒนานักศึกษา ทั้งเป็นโครงการพัฒนาสาขาตามแผนปฏิบัติการประจำปีและโครงการตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดขึ้นประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ที่ตนเองรับผิดชอบ การทำโครงการจึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการเพื่อลดปัญหาการซ้ำซ้อนของกิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักพหุปัญญา โดยยึดโครงการเป็นหัวเรื่อง (theme) เริ่มที่อาจารย์ทุกท่านร่วมประชุมปรึกษาหารือ ว่าแผนว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นจะบูรณาการกับรายวิชาที่ตนสอนได้อย่างไร จะมีการกำหนดภาระงานอย่างไรบ้าง อาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ นักศึกษาจัดทำภาระงานส่งอาจารย์ผู้สอน การบูรณาการแบบนี้ทำให้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชา ได้ประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นต้น จากการประชุมของอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายการบูรณาการการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้ดังนี้ ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มีการจัดทำ มคอ.3 โดย ได้บูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรมและการวิจัย ดังนี้ จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา 2552403 ธุรกิจการเมือง ในโครงการบริการวิชาการทางรัฐศาสตร์ ณ โรงเรียนกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ รับผิดชอบโดย อาจารย์กิตติชัย ขันทอง จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศึกษาดูงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) บูรณาการกับรายวิชา 2551201 รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง ผู้รับผิดชอบคือ อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติ ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการปฏิบัติจะนำมาซึ่งการสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะรายวิชาที่เน้นทฤษฎีก็มีการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ การทำโครงการต่างๆ สำหรับรายวิชาที่ต้องปฏิบัติเช่นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นั้นเน้นที่การทำ มคอ.4 อย่างละเอียดกล่าวคือ 1. มีข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม ซึ่งได้ต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร 2. กำหนดวัตถุประสงค์รายละเอียดของการดำเนินการของกิจกรรมนั้นๆ ไว้อย่างชัดเจน 3. ชี้แจง ประชุม สัมมนา เรื่องความรู้ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกำหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่างๆตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย 4. กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา และการประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม การจัดการเรียนการสอนยังเน้นกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง ตามความต้องการของตนเอง และความต้องการของแรงงานภายนอก
หลักฐานอ้างอิง
5.2-1(1) รายงานการประชุมครั้งที่
5.2-1(2) บันทึกข้อความการติดตามมคอ.3 และ มคอ.5
5.2-1(3) มคอ.3 รายวิชา 2552403 ธุรกิจการเมือง และรายวิชา 2551201 รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
5.2 - (1) | สรุปส่ง มคอ. ปีการศึกษา2563 |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
4 | 4 |