ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของสถาบัน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เจริญศรี ธรรมนิยม , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , พรรทิวา อุโลก , สุชาติ ศรีชื่น , บุณฑริการ์ บุญกันหา , พัทธ์ธีรา เสาร์ชัย , ศุภากร ปานเทวัญ , จักรชัย อินธิเดช
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส และตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 1
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของสถาบัน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์
2 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม อย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
11

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบ กลไก และกระบวนการในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปี ตามขั้นตอนดังนี้

1. กระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี  
    1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี  (5.2-1(1)) โดยมีคณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและมีผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรจากทุกคณะ หน่วยงาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีหน้าที่ ระดมความคิดเห็นเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผล ยุทธศาสตร์มหาลัยราชภัฏศรีสะเกษระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
    1.2 มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566-2570) แบบมีส่วนร่วมโดยมีตัวแทนจากคณะ หน่วยงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570 ) โดยมีการเชื่อมโยง  แผนยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องดังนี้
        1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
        2) (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2574)
        3) แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
        4) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2580)
        5) ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
        6) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)
        7) แผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2558 - 2567)
    1.3 มีการดำเนินการวิเคราะห์ SWOT  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ตัวชี้วัดของกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย  หลังจากนั้นได้เสนอ  (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)   ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2565 วันที่ 19 กันยายน 2565 วาระที่ 4.5 (5.2-1(2)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.2-1(3)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 24 กันยายน 2565 วาระที่ 4.9 (5.2-1(4)) และแปลงมาเป็นแผน กลยุทธทางการเงินและแผนปฏิบัติการในลำดับต่อไป

2. กระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
          การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้เหมาะสมและเพียง พอที่จะสนับสนุนพันธกิจต่าง ๆ  ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ อันได้แก่ การสร้างกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงินและงบประมาณอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากทุกแหล่งเงิน ทั้งจาก งบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้จากค่าบำรุงการศึกษา รวมทั้งรายได้อื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้รับ มีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรอย่างเป็นระบบ มีระบบฐานข้อมูลทางการเงินที่สามารถแยกค่าใช้จ่ายตามหมวด ต่าง ๆ มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบครบทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีผู้ตรวจสอบการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินต้องสามารถทราบข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย  การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาบุคลากร แผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5ปี ( พ.ศ. 2566 – 2570) ได้มีการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ และพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงาน ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยฯ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักคุณธรรม (Morality) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
    - มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ด้านการเงิน เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อศึกษาองค์ประกอบและความสามารถภายในของการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)
    - โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางเงินระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)  (5.2-1(5)) มีหน้าที่กลั้นกรองกลยุทธทางการเงินและทบทวนแผลกลยุทธทางการเงิน
    - มีการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.2-1(6)) ให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 (5.2-1(7)) วาระที่ 4.20 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงินต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย  ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 (5.2-1(8)วาระที่ 4.10 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ

3. กระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการ 
    การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยทำการแปลงจากแผนยุทธศาตร์มหาวิทยาลัยเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีตามพันธกิจ โดยใช้กระบวนการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการ ดังนี้
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(9))
    - มีการจัดการประชุมชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการ โดยมีบุคลากรที่เป็นตัวแทนจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประชุม เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ กำหนดทิศทางการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา (5.2-1(10))
     - มีการจัดชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี ต่อคณะกรรมการพิจารณาคำของบประมาณ และแผนปฏิบัติการ โดยการกำหนดการตารางในการเข้าชี้แจงคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี 2566       (5.2-1(11))
    - มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างครบถ้วน กำหนดกลยุทธ์ประจำปีโดยถอดจากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) กำหนดโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของโครงการ ในแผนปฏิบัติการ ประจำปี พ.ศ. 2566 (5.2-1(12))
    - มีการเสนอแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2565 วาระที่4.1 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(13))
    - หลังจากนั้นได้มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2565  วาระที่ 4.12 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(14 ))

4. กระบวนการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ
       ในการแปลงแผนหรือนำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัตินั้น มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการนำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์ และค่าเป้าหมายให้แก่ คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีแนวปฏิบัติต่างๆ ดังนี้
         4.1) สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแผน และกลวิธีนำแผนลงสู่ระดับหน่วยงานและบุคคล เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้รับทราบและเกิดทักษะในการนำไปปฏิบัติ
         4.2) มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566  บนหน้าเว็ปไซด์มหาวิทยาลัยhttps://www.sskru.ac.th/course-category/%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c/  และทำบันทึกประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (5.2-1(15)) การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสู่ระดับคณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยการชี้แจงทำความเข้าใจ และความชัดเจนในแต่ละประเด็น
         4.3) กำหนดค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ โครงการ กิจกรรม ตลอดจนทรัพยากรที่ต้องการสำหรับจัดทำงบประมาณประจำปีในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566  (5.2-1(16))
         4.4) การสร้างพลังและความร่วมมือเพื่อนำไปสู่ผลที่ตั้งเป้าหมายไว้ตามแผนงานและโครงการ
         4.5) จัดระบบการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง วางระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น การบริการการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคลากร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ ตลอดจนการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่าเป้าหมายให้แก่คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยพัฒนาระบบการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธ์แผนให้บุคลากรได้รับทราบอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่หลากหลาย
         4.6) การบริหารแผนการปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยจัดระบบการบริหารแผนปฏิบัติราชการให้มีกลไกเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบแผนการดำเนินงานที่มีความคลาดเคลื่อน จากแผนเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยให้มีการรายงานผลตามลำดับขั้นของความรับผิดชอบเป็นรายไตรมาส

5.กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนฯ
     5.1 กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนกลยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566-2570) 
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) 
    - มีการจัดทำคู่มือแนวทางและกระบวนการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.21(17)) เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ที่ส่วนราชการพึงนํามาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ  การทบทวนวิสัยทัศน์ ผลผลิต/โครงการ และตัวชี้วัดผลสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้หน่วยงาน ได้ดำเนินการทบทวนวิสัยทัศน์  เป้าหมายการให้บริการ ผลผลิต/โครงการ  และตัวชี้วัดผลสำเร็จในระดับต่างๆให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
    - มีการประชุมคณะกรรมการทบทวนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เรื่อง การกำหนดแนวทางและกระบวนการในการทบทวนแผน (5.2-1(18)) โดยที่ประชุมของคณะกรรมการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการเสร็จก่อนการนำระบบประกันคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx มาใช้ ส่งผลให้      เป้าหมายในการพัฒนาองค์กรยังไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ EdPEx  ดังนั้นกองนโยบายและแผน ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570) ขึ้น ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  โดยการเรียนเชิญคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ตัวแทนจากทุกหน่วยงานมาร่วมการประชุมทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5ปี (พ.ศ.2666 -2570) เพื่อทบทวนตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ EdPEx เพื่อให้เป็นตามเกณฑ์
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(19)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย มีการทำหนังสือเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และเร่งรัดการดำเนินงานโครงการ (5.2-1(20)) และจัดประชุมคณะทำงานเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาส 1), (ไตรมาส 2) และ(ไตรมาส 3) พร้อมทั้งผู้ดูแลงบประมาณทุกหน่วยงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ 
    - มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานครบถ้วน ครอบคลุมทั้ง 4 พันธกิจหลัก คือ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2566เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) ครั้งที่1/66 วาระที่5.7 (5.2-1(21-1)) , (ไตรมาส 2) ครั้งที่4/66 วาระที่5.7 (5.2-1(21-2))
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2566 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) ครั้งที่1/66 วาระที่5.4 (5.2-1(22-1)) , (ไตรมาส 2) ครั้งที่4/66 วาระที่ 5.1((5.2-1(22-2))

6. กระบวนการปรับปรุงแผน
    - มีการจัดทำรายงานประจำปี 2565 ตามแผนปฏิบัติการประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.1-1(23)) และรายงานผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด ค่าเป้า รายงานผลการดำเนินงานรายตัววชี้วัด ค่าเป้าหมาย และบรรลุเป้าหมายหมาย  และการบรรลุเป้าหมาย(5.2-1(24))

1พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของสถาบัน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบ กลไก และกระบวนการในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปี ตามขั้นตอนดังนี้

1. กระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี  
    1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี  (5.2-1(1)) โดยมีคณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและมีผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรจากทุกคณะ หน่วยงาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีหน้าที่ ระดมความคิดเห็นเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผล ยุทธศาสตร์มหาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)
    1.2 มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) เพื่อร่วมกันยกร่างพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) แบบมีส่วนร่วมโดยมีตัวแทนจากคณะ หน่วยงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมธง รุญเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำ Re profiling เสนอต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องดังนี้
        1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
        2) (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2574)
        3) แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
        4) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565)
        5) ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
        6) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560 - 2564)
        7) แผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2558 - 2567)
    1.3 มีการดำเนินการวิเคราะห์ SWOT  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ตัวชี้วัดของกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย  หลังจากนั้นได้เสนอ  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2560 วาระที่ 4.26 (5.2-1(2)) เพื่อพิจารณา มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์และนโยบายการบริหารของมหาวิทยาลัย (5.2-1(3)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-1(4)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2560 วาระที่4.1 (5.2-1(5)) และแปลงมาเป็นแผนกลยุทธทางการเงินและแผนปฏิบัติการในลำดับต่อไป

2. กระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
    การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้เหมาะสมและเพียง พอที่จะสนับสนุนพันธกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ อันได้แก่ การสร้างกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงินและงบประมาณอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากทุกแหล่งเงิน ทั้งจาก งบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้จากค่าบำรุงการศึกษา รวมทั้งรายได้อื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้รับ มีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรอย่างเป็นระบบ มีระบบฐานข้อมูลทางการเงินที่สามารถแยกค่าใช้จ่ายตามหมวด ต่าง ๆ มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบครบทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีผู้ตรวจ สอบการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินต้องสามารถทราบข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาบุคลากร แผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565 ได้มีการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ และพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงาน ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยฯ  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม ที่ดี พ.ศ. 2542 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักคุณธรรม (Morality) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
    - มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ด้านการเงิน เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อศึกษาองค์ประกอบและความสามารถภายในของการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)
    - โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางเงิน พ.ศ. 2561-2565  (5.2-1(6)) มีหน้าที่กลั้นกรองกลยุทธทางการเงินและทบทวนแผลกลยุทธทางการเงิน
    - มีการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-1(7)) ให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2560 (5.2-1(8)) วาระที่ 4.27 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย  ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2560 (5.2-1(9)วาระที่ 4.8 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ

3. กระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการ 
    การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25645 โดยทำการแปลงจากแผนยุทธศาตร์มหาวิทยาลัยเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีตามพันธกิจ โดยใช้กระบวนการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการ ดังนี้
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-1(10))
    - มีการจัดการประชุมชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการ โดยมีบุคลากรที่เป็นตัวแทนจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประชุม เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ กำหนดทิศทางการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา (5.2-1(11))
     - มีการจัดชี้แจงคำงบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี ต่อคณะกรรมการพิจารณาคำของบประมาณ และแผนปฏิบัติการ โดยการกำหนดการตารางในการเข้าชี้แจงคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี (5.2-1(12))
    - มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างครบถ้วน กำหนดกลยุทธ์ประจำปีโดยถอดจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) กำหนดโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของโครงการ แผนปฏิบัติการประจำปีและค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด (5.2-1(13))
    - มีการเสนอแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2564 วันที่ 24 สิงหาคม 2564  วาระที่4.3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(14))
    - หลังจากนั้นได้มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2564 วันที 28 กันยายน 2564 วาระที่....... เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(15 ))

4. กระบวนการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ
       ในการแปลงแผนหรือนำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) ไปสู่การปฏิบัตินั้น มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการนำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์ และค่าเป้าหมายให้แก่ คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีแนวปฏิบัติต่างๆ ดังนี้
         4.1) สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแผน และกลวิธีนำแผนลงสู่ระดับหน่วยงานและบุคคล เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้รับทราบและเกิดทักษะในการนำไปปฏิบัติ
         4.2) มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี และแผนปกิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565  บนหน้าเว็ปไซด์มหาวิทยาลัย และทำบันทึกประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (5.2-1(16)) การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสู่ระดับคณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยการชี้แจงทำความเข้าใจ และความชัดเจนในแต่ละประเด็น
         4.3) กำหนดค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ โครงการ กิจกรรม ตลอดจนทรัพยากรที่ต้องการสำหรับจัดทำงบประมาณประจำปีในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565  (5.2-1(17))
         4.4) การสร้างพลังและความร่วมมือเพื่อนำไปสู่ผลที่ตั้งเป้าหมายไว้ตามแผนงานและโครงการ
         4.5) จัดระบบการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง วางระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น การบริการการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคลากร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ ตลอดจนการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่าเป้าหมายให้แก่คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยพัฒนาระบบการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธ์แผนให้บุคลากรได้รับทราบอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่หลากหลาย
         4.6) การบริหารแผนการปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยจัดระบบการบริหารแผนปฏิบัติราชการให้มีกลไกเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบแผนการดำเนินงานที่มีความคลาดเคลื่อน จากแผนเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยให้มีการรายงานผลตามลำดับขั้นของความรับผิดชอบเป็นรายไตรมาส

5.กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนฯ
     5.1 กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนกลยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) 
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) 
    - มีการจัดทำคู่มือแนวทางและกระบวนการทบทวนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.21(18)) เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ที่ส่วนราชการพึงนํามาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ  การทบทวนวิสัยทัศน์ ผลผลิต/โครงการ และตัวชี้วัดผลสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้หน่วยงาน ได้ดำเนินการทบทวนวิสัยทัศน์  เป้าหมายการให้บริการ ผลผลิต/โครงการ  และตัวชี้วัดผลสำเร็จในระดับต่างๆให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
    - มีการประชุมคณะกรรมการทบทวนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) เรื่อง การกำหนดแนวทางและกระบวนการในการทบทวนแผน (5.2-1(19)) มีการทบทวนความสำเร็จของแผน ทบทวนกลยุทธ์ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ และปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564- มหาวิทยาลัยมีการจัดทำรายงานผลการทบทวนตัวบ่งชี้ตามแผนยุทธศาสตร์ทุกปี พบว่า มหาวิทยาลัยมีการกำหนด 6 ยุทธศาสตร์ 21 กลยุทธ 40 ตัวบ่งชี้ บรรลุเป้าหมาย 36 ตัวบ่งชี้  และได้รับข้อเสนอแนะและกระบวนการพัฒนา ดังนี้  (ตารางเปรียบเทียบผลการทบทวน)

    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-1(20)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย มีการทำหนังสือเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และเร่งรัดการดำเนินงานโครงการ (5.2-1(21)) และจัดประชุมคณะทำงานเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2565 (ไตรมาส 1) ครั้งที่ 1/2564 , (ไตรมาส 2) ครั้งที่2/2565 และ(ไตรมาส 3) ครั้งที่3/2565 พร้อมทั้งผู้ดูแลงบประมาณทุกหน่วยงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ 
    - มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานครบถ้วน ครอบคลุมทั้ง 4 พันธกิจหลัก คือ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) (5.2-1(22-1)) , (ไตรมาส 2) (5.2-1(22-2))
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) (5.2-1(23-1)) , (ไตรมาส 2) ((5.2-1(23-2))

6. กระบวนการปรับปรุงแผน
    - มีการจัดทำรายงานประจำปี 2564 ตามแผนปฏิบัติการประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.1-1(24)) และรายงานผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด ค่าเป้า5.2-1(25))รายงานผลการดำเนินงานรายตัววชี้วัด ค่าเป้าหมาย และบรรลุเป้าหมายหมาย และการบรรลุเป้าหมาย(5.2-1(25))

2การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน โดยสามารถแจกแจงรายละเอียดของการดำเนินงานได้ดังต่อไปนี้

1. การกำกับ
    1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 (5.2-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
    1.2 มีการจัดทำคู่มือในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(2)) เพื่อให้ทุกคณะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย
    1.3 มีการจัดทำไฟล์สูตรการคำนวณการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้ทุกคณะใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณเพื่อความแม่นยำของข้อมูล มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.2-2(3))
    1.4 มีการจัดทำปฏิทินกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย และเผยแพร่ในแต่ละคณะให้มีการดำเนินงานตามกระบวนการ แบบฟอร์ม และตรงตามระยะเวลาที่กำหนด (5.2-2(4))

2. การกำกับติดตาม
    2.1 มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2565 (5.2-2(5)) เพื่อกำกับ ติดตามการดำเนินงานวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต โอกาสในการแข่งขัน 
    2.2 มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(7)) , (5.2-2(8)) เพื่อพิจารณาข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ความคุ้มค่าและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 (5.2-2(9)) วาระที่ 5.8 เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาให้ทุกหลักสูตร มีความสามารถอยู่ในจุดคุ้มทุนในปีการศึกษาต่อไป

3. ส่งเสริมสนับสนุน
    3.1 มีการเผยแพร่คู่มือในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(2))
    3.2 มีการจัดทำไฟล์สูตรการคำนวณการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้ทุกคณะใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณเพื่อความแม่นยำของข้อมูล มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.2-2(3))
    3.3 มีการสนับสนุนข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้คณะใช้ดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของแต่ละหลักสูตร ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน (5.2-2(6))

4. ผลการติดตาม
    ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 2 อันเป็นผลจากการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน มีผลการดำเนินงานดังนี้

ที่ คณะ ผลการประเมิน
1 คณะครุศาสตร์ ผ่าน
2 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผ่าน
3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ผ่าน
4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผ่าน
5 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ผ่าน

 

3ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม อย่างน้อย 1 เรื่อง

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้

1. ขั้นวางแผน (Plan)
    1.1 มีการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-3(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงาน พร้อมแนะนำวิธีการใช้แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทุกขั้นตอน และแจกเอกสารให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยทั้งระดับคณะ สำนัก และสถาบันนำไปใช้ประโยชน์
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-3(2)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ดำเนินงานตามแผนฯ และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานประเมินตนเองในระดับสถาบันองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
    1.3 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2564 (5.2-3(3)) เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แจ้งผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2563 และกำหนดแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษา 2564 และร่วมกันระบุความเสี่ยง (Risk Identification) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) และการจัดลำดับความเสี่ยง (Degree of Risk)
    1.4 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2564 (5.2-3(4)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 
    1.5 นำแผนบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (5.2-3(5)) เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 (5.2-3(6)) และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง
    1.6 นำแผนบริหารความเสี่ยงฯ เสนอคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 (5.2-3(7)) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

2. ขั้นดำเนินงาน (Do)
    ผลจาการดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน/แก้ไข/ลดความเสี่ยง พบว่า จากปัจจัยความเสี่ยง  จำนวน 6 เรื่อง สามารถดำเนินการจนส่งผลให้ความเสียงลดลงจากเดิม จำนวน 3  เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถจัดการความเสี่ยงให้ลดลงได้ จำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 (5.2-3(8))

3. การกำกับ ติดตาม และประเมินผล (Check)
    3.1 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-3(9)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมความเสี่ยงภายใน รวมทั้งกำหนดแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน พิจารณาจัดการทำรายงานสรุปผลการประเมินการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
   3.2 จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2565 (5.1-3(10)) เพื่อกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
   3.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (5.1-3(11)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเสนอให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง

4. ขั้นปรับปรุง
  4.1 นำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 5/2565 (5.2-3(12)) เพื่อพิจารณาผลการบริหารความเสี่ยงและให้ข้อเสนอแนะ
  4.2 มีการนำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 (5.1-3(13)) เพื่อพิจารณาผลการบริหารความเสี่ยงและให้ข้อเสนอแนะ
  4.3 มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยนำเอาข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะกรรมการดำเนินงานมากำหนดแนวทางการปรับปรุง ระยะเวลาการปรับปรุง และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง/การดำเนินงานปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

- คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เสนอว่า ควรปรับแก้เพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และให้นำเข้าที่ประชุมภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อทราบต่อไป 

1. การปรับปรุง  :
(   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
(   ) ปรับปรุงโครงการ 
( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
(   ) ดำเนินการแล้ว         
( / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : เพิ่มเติมข้อมูลรายงานผลการสอบทานการประเมินการบริหารความเสี่ยง (5.2-3(14)) โดยการปรับแก้เพิ่มเติมรายงาน โดยสังเคราะห์ความเสี่ยงที่มีโอกาสและผลกระทบกับเป้าประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และนำมาบริหารจัดการในแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
(   ) ยังไม่ดำเนินการ

สิงหาคม 2565

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน

 

4บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

มหาวิทยาลัย บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ดังนี้

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผู้บริหารมีการบริหารงบประมาณและการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เน้นที่ผลลัพธ์ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.2-4(1)) และได้นำเสนอแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 (5.2-4(2)) เพื่อพิจารณา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินงบประมาณรายจ่าย ปี พ.ศ.2564 เพื่อเป็นการกำกับติดตามการบริหารรายจ่ายให้ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดอีกทางหนึ่งด้วย (5.2-4(3))

2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้บริหารมีการดำเนินงานตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี โดยมหาวิทยาลัยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (5.2-4(4)) ในการกำกับดูและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะ สำนัก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย (5.2-4(5)) และมีคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(6)) และคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(7)) ซึ่งได้มีการจัดวางระบบและดำเนินการป้องกันความเสี่ยง มีระบบการตรวจสอบที่ดี และการติดตามตรวจสอบประเมินผลงานมหาวิทยาลัย และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย (5.2-4(8)) , (5.2-4(9))

3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) ผู้บริหารได้บริหารงานเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น รวมถึงตอบสนองต่อผู้รับบริการ โดยมีกลไกและกระบวนการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย ที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ภายใต้กรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงเปิดโอกาสและช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร นักศึกษาและผู้ที่มีส่วนได้เสีย เสนอแนะ ซักถาม เช่น เว็บไซต์สายตรงอธิการบดี (5.2-4(10))  ,  (5.2-4(11)) และรายงานการปฏิบัติราชการต่อสภามหาวิทยาลัยทราบ (5.2-4(12))

4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ มีการกำหนดหน้าที่การรับผิดชอบของบุคคลากรอย่างชัดเจน ปฏิบัติราชการตามวิสัยทัศน์การบริหารงานที่ได้แถลงไว้ต่อสภามหาวิทยาลัยและ บุคลากร ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ด้านการบริหารบุคคล ด้านกิจการนักศึกษา ด้านการบริหารทั่วไป โดยได้จัดทำเป็นรายงานผลการปฏิบัติราชการเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ทุกครั้ง (เช่นด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการเป็นต้น) (5.2-4(13))

5. หลักความโปร่งใส (Transparency) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย โดยการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานใน มหาวิทยาลัย เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย (5.2-4(14)) แต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ (5.2-4(15)) แต่งตั้งกรรมการสภาวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา ตำแหน่งทางวิชาการ (5.2-4(16)) ซึ่งได้มีการรายงานสถานะทางการเงินให้กับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกเดือน (5.2-4(17)) และมีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายใน ซึ่งปฏิบัติงานขึ้นตรงต่ออธิการบดี (5.2-4(18)) , (5.2-4(19))

6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) อธิการบดี ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้แสดงความคิดเห็นและส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยขึ้นทุกเดือน (5.2-4(20)) เปิดโอกาสและช่องทางสายตรงอธิการบดีให้บุคลากรนักศึกษาชี้แจงปัญหาในการดำเนินงาน (5.2-4(21)) รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เช่นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก (5.2-4(22)) รวมถึงบทบาทหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการ (5.2-4(23)) ที่ได้มีการประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและบุคลากร (5.2-4(24))

7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) อธิการบดี ได้มอบหมายงานและมอบอำนาจความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ โดยได้มีคำสั่งมอบหมายงานให้ที่ปรึกษาอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยรวมถึงคณะกรรมการ ต่างๆในการพิจารณาและเสนอแนะในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยโดยตรง โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจ เพิ่มประสิทธิภาพ และผลการดำเนินงานที่ดีของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย (5.2-4(25))

8. หลักนิติธรรม (Rule of law) ผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารทุกระดับได้มีการออกแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ขึ้นมาใช้ภายในมหาวิทยาลัย และต้องดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมีบทลงโทษการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ ตลอดจนมีการใช้อำนาจตามที่กฎหมายและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ กำหนดไว้ (5.2-4(26))

9. หลักความเสมอภาค (Equity) อธิการบดี มีนโยบายด้านการให้บริการโดยยึดหลัก คือการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่แบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา การฝึกอบรม และอื่น โดยให้ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนมีการสร้างเสริมความสามัคคี ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมต่าง เช่น การประชุมพิจารณาการจัดสรรบ้านพักให้กับบุคลากร (5.1-4(27)) การให้สวัสดิการสำหรับบุคลากรหรือคู่สมรถของบุคลากรในกรณีคลอดบุตร กรณีบุคลากรสมสร กรณีบุคลากรบวช และกรณีอนุญาตให้บุคลากรชายลาเลี้ยงดูบุตรช่วยภรรยาได้ (5.2-4(28)) การพิจารณาทุนการศึกษาและการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในส่วนสายสนับสนุน และสายวิชาการ เป็นต้น (5.2-4(29))

10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) อธิการบดี บริหารงานภายใต้ การใช้กระบวนการหาข้อคิดเห็นและข้อตกลงภายในกลุ่มในการพิจารณาประเด็น สำคัญต่างๆ อันมีผลต่อการบริหารงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเช่น การประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เป็นต้น (5.2-4(30))

5การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ

มหาวิทยาลัยมีการกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ ดังนี้

1. กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ (ภายใน)
    1.1 มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2561 (5.2-5(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงาน พร้อมแนะนำวิธีการใช้คู่มือให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทุกขั้นตอน และแจกเอกสารคู่มือให้ทุกหน่วยภายในมหาวิทยาลัยทั้งระดับคณะ สำนัก และสถาบันนำไปใช้
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ตามระบบ ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-5(2)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดทำแผนการจัดการความรู้ตามระบบ ดำเนินงานตามแผน ฯ และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานประเมินตนเองในระดับสถาบันองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 5 กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
    1.3 มีการจัดทำแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลการจัดการความรู้ (5.2-5(3)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
    1.4 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2564 (5.2-5(4)) เป็นการประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แจ้งผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในด้านการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2563 มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ การกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ และร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร กำหนดประเด็นความรู้ การรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษร การเผยแพร่องค์ความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ และส่งเสริมให้มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และพิจารณา (ร่าง) แผนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-5(5))
    1.5 มีการนำ (ร่าง) แผนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2564 เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2564 (5.2-5(6)) วันที่ 22 ธันวาคม 2564  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

2. มีการรวบรวมจัดเก็บองค์ความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร
    มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของทุกหน่วยงาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบบนเว็บไซต์ : คลังข้อมูลการจัดการความรู้ ( http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=km ) และจัดทำเป็นรูปเล่ม แนวปฏิบัติที่ดี (Tacit Knowledge) (5.2-5(7)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2565 (5.2-5(8)) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เพื่อโปรดทราบ

3. ผลการกำกับติดตามสนับสนุน คณะ มีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
    ผลจากการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ ครบทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ด้านการผลิตและด้านการวิจัย ตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 5

ที่

คณะ

ประเด็นความรู้(การผลิตบัณฑิต)

ประเด็นความรู้(การวิจัย)

ผลการประเมิน(ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1.

คณะครุศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาด (โควิด-19)

การพัฒนาโจทย์วิจัยอย่างไรเพื่อให้ได้รับทุน

ผ่าน

2.

คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

แนวทางการตีพิมพ์วารสารนานาชาติ

ผ่าน

3.

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

การเขียนรายงานผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร_มคอ_7

การจัดการความรู้ การพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

ผ่าน

4.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

CWIE การศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

การขอทุนการสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาลัย

ผ่าน

5.

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

การเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป”

ผ่าน

 

 

6การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

1. มีระบบและกลไก
    1.1 มีการกำหนดทิศทางการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนตามยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-6(1)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
    1.2 มีการจัดทำกรอบอัตรากำลังและตำแหน่งเพิ่มใหม่ ระยะ 4 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์และรองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สามารถดำเนินการภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย (5.2-6(2))
    1.3 มหาวิทยาลัยมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในแผน โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย พนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 (5.2-6(3)) และกำหนดแนวปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามประกาศ
หลักเกณฑ์ วิธีการจ้างการบรรจุ การแต่งตั้งและการทำสัญญา มีประกาศหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรได้ทราบและเป็นไปตามกรอบอัตรากำลังที่วางแผนไว้ (5.2-6(4)), (5.2-6(5)), (5.2-6(6)), (5.2-6(7))
    1.4 มีการกำหนดลักษณะงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของบุคลากรแต่ละตำแหน่งมาเป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงานในบัญชีแนบท้ายคำสั่งจ้างของบุคลากรทุกราย เพื่อให้บุคลากรทราบถึงตำแหน่งของตนเอง และเป็นการระบุคุณสมบัติตำแหน่งความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่ง เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในการทำงาน (5.2-6(8))
    1.5 มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 (5.2-6(9)) โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย
(ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสุดท้าย)  (5.2-6(10)),(5.2-6(11)), (5.2-6(12)) พร้อมทั้งมีการกำหนดปฏิทินการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษไว้อย่างชัดเจน (5.2-6(13)) และได้จัดทำเอกสารประกอบการประชุมประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย 
(5.2-6(14)) และมีการกำหนดเส้นทางเดินของตำแหน่งโดยให้บุคลากรสายวิชาการสามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2561 (5.2-6(15))  และกำหนดให้บุคลากรสายสนับสนุนสามารถขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2556 (5.2-6(16))
    1.6 มีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุและเป็นไปตามระยะเวลาประเมินคุณภาพระดับสถาบัน  (5.2-6(17))

2. มีการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน 
    2.1 มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-6(18)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
    2.2 มีการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-6(19)) โดยในแผนมีการกำหนดทิศทางการบริหารครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ การจัดหาบุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร
การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากงานของบุคลากร และด้านอื่นๆ และมีกระบวนการถ่ายทอดโดยการทำบันทึกนำส่งแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติหรือนำแผนไปสู่การปฏิบัตินั้น ได้มีการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์และค่าเป้าหมายให้แก่คณะ สำนัก สถาบันและหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรให้บรรลุตามเป้าหมาย
    2.3 มหาวิทยาลัยได้จัดการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ที่ 11 พฤศจิกายน 2564 (5.2-6(20)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 (5.2-6(21)) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. มีการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนฯ
    3.1 มหาวิทยาลัยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 3 ชุด เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากร และกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด คือ
         - คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) (5.2 - 6(22))
         - คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2 - 6(23))
         - คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน ระยะ 1 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  (5.2 - 6(24))
    3.2 มหาวิทยาลัยได้จัดการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2564 (5.2 – 6 (25)) เพื่อกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร
    3.3 มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จของโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อย่างต่อเนื่อง (5.2 – 6 (26)  และเสนอคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร
สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 วันพฤหัสบดี ที่ 7 กรกฎาคม 2565 วาระที่ 5.1 เรื่องกำกับติดตามและประเมินผลความสำเร็จแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2 – 6 (27)) เพื่อทราบและพิจารณา

4. มีการดำเนินงานตามแผน
    มหาวิทยาลัยได้กำหนดกิจกรรมโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 21 โครงการ และดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 19 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 90.47 ส่งผลให้อาจารย์และบุคลากรได้รับการพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ดังนี้

กิจกรรมโครงการ/กระบวนงาน

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการ “การเขียนผลงานวิชาการรับใช้สังคม เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”

     มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการ “การเขียนผลงานวิชาการรับใช้สังคม เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 24 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการ“การเขียนผลงานวิชาการรับใช้สังคม พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.53) (5.2 – 6 (28))  โดยมีอาจารย์และบุคลากร อยู่ระหว่างยื่นเอกสารขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น จำนวน 8 คน และมีอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น จำนวน 13 คน และมีการสรุปข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 (5.2 – 6 (29))  

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักและการทำผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน”

     มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักและการทำผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน” ในระหว่างวันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2564
ณ ห้องประชุม 9901 ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 56 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) และมีบุคลากรที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลัก เพื่อขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ จำนวน 4 คน
ได้แก่ 1.คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2. สำนักงานอธิการบดี 3. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. สถาบันวิจัยและพัฒนา (5.2 – 6 (30))

3. โครงการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยและจดสิทธิบัตร

           มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดโครงการ “การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร สำหรับผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์” ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า คณาจารย์และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนกระบวนการ/ขั้นตอนกระบวนการ/ขั้นตอนการ
จดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ มากกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (5.2 – 6 (31))

4. โครงการส่งเสริมเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดโครงการ“เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน” ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 40 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน หลังเข้ารับการอบรม มากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” และ “ส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำวิจัย”

      มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดโครงการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน” ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง 60 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า อาจารย์ นักวิจัยความรู้ความเข้าใจถึงหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์รวมถึงขั้นตอนการยื่นขอใบรับรองจริยธรรมการวิจัยได้อย่างถูกต้อง โดยความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x  = 4.15,S.D.= 0.36)

6. โครงการการอบรมบริหารจัดการด้านการเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์สำหรับโครงการวิจัยภายใต้
หลักธรรมาภิบาล

          มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดโครงการ “การอบรมบริหารจัดการด้านการเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์สำหรับโครงการวิจัยภายใต้หลักธรรมมาภิบาล” ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วันที่ 11 ตุลาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง 60 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า อาจารย์ นักวิจัย มีความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารจัดการงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ภายใต้หลักธรรมาภิบาล สามารถดำเนินงานวิจัยได้อย่างคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรโดยความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x  = 3.65, S.D. = 0.85)

7. โครงการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน)

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดอบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน) ในวันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 08.30-16.00 น. โดยอบรมผ่านทางออนไลน์ (Zoom Meeting) ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน
15 คน ผู้เข้าร่วมอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.10

8. โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านวิชาการ

 

         มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดสรรงบประมาณการอบรมเป็นรายหัวรายละ 5,000 บาท และกำกับติดตามหลังการเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรายงานผลการไปฝึกอบรม/สัมมนา และประโยชน์ที่ได้รับตลอดจนความคิดเห็นที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน รายงานต่อหัวหน้าภาควิชาการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 มีอาจารย์จำนวน 12 คนอบรมไปแล้ว 7 คนและจะอบรมในไตรมาสต่อไปอีก 3 คนรวมเป็น 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 มีประเด็นที่เป็นอุปสรรคสรุปได้ดังนี้ 1.การใช้งบประมาณการไปประชุมของอาจารย์ได้ลดลงจาก 5,000 บาทต่อหัวเป็น 2,500 บาท เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯ อนุมัติให้อาจารย์ 2 ท่านที่ไม่มีประสบการณ์สอนไปอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาลรุ่น 14 เป็นระยะเวลา 3 เดือนท่านละ 50,000 บาท 2. เนื่องจากภาวะการระบาดของโคโรน่าไวรัส 19 ทำให้การประชุมวิชาการส่วนมากเป็นการประชุม online ซึ่งเบิกจ่ายเฉพาะค่าลงทะเบียน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการประชุมวิชาการยังมีเหลือบางส่วนการใช้จ่ายงบประมาณ และยังไม่แจ้งความประสงค์อีก 2  ท่าน

9. โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านความเชี่ยวชาญทางคลินิก

        ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไม่มีอาจารย์ไปพัฒนาตนเองด้านคลินิก เนื่องจาก เป็นช่วงการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 19 อย่างรุนแรงและมีความต้องการพยาบาลวิชาชีพเป็นจิตอาสาในการให้บริการการฉีดวัคซีนโควิด 19 ร่วมกับบุคลากรทางโรงพยาบาลศรีสะเกษ

10. โครงการพัฒนาบุคลากร
สายสนับสนุน

 

      มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน เรื่องการจัดการ ในวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2565  ณ
ห้องประชุมกาสะลอง3  ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ : คณะพยาบาลศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 6 คน
มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีต่อโครงการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการงบประมาณระดับคณะเพิ่มขึ้นร้อยละร้อยจากการประเมินด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังอบรมคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม คือ 6.67 คะแนนเฉลี่ยหลังอบรม คือ 9.17

11. โครงการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมคุณธรรมความโปร่งใส และบริหารความเสี่ยง (ITA)

         มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการ พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และบริหารความเสี่ยง (ITA)ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมกาสะลอง3  ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สุขภาพ : คณะพยาบาลศาสตร์  โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 18 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีต่อโครงการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60) และสามารถนำความรู้และข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนกับผู้มีประสบการณ์ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ดำเนินการจัดโครงการตามแผนปฏิบัติการได้อย่างโปร่งใสไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน จำนวน 23 โครงการ

12. โครงการการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ใหม่

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการ “การพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ใหม่ ” ในระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม 4210 อาคารจุฬาภรณวลัยลักษณ์  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม “การเขียนหนังสือและตำราอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการ” ร้อยละ 143 และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม“คลินิกให้คำปรึกษาการขอตำแหน่งทางวิชาการ” จำนวน 28 คน จากการตอบแบบสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนหนังสือและตำราอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อนละ 100
และผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ และกระบวนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการที่ถูกต้อง มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
( = 4.36)   

13. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

     มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ” ในระหว่างวันที่ 5-8กุมภาพันธ์ 2565 ณ 88 การ์มองเต้ อำเภอ วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 9 คน และมีผู้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ 42 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ระดับ 4.53) และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเตรียมความพร้อมการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

14.โครงการพิธีการ การจัดงานที่มีการเสริม สร้างคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่บุคลากร

      มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการเมื่อวันที่ 22 - 23 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2548 (ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานด้านศาสนพิธี รัฐพิธี ราชพิธี การพัฒนาบุคลิกภาพ และมารยาทไทยในโอกาสต่างๆ ทางสังคมเพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมในครั้งนี้ มีฐานความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธี รัฐพิธี ราชพิธีที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติ ให้ปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่และปฏิบัติสืบต่อไปได้อย่างถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาที่เป็นตัวแทนแต่ละคณะ โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ระพีพรรณ จันทรสา ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้

15. โครงการ การจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ

        มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการ การจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ในวันอังคาร ที่ 21 มิถุนายน 2565 ห้องประชุมวิชัย แข่งขัน ชั้น 2 ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาการอเนกประสงค์ บุญชง วีสมหมาย (ศรีพฤทธาลัยราชภัฏ
สัมมนาคาร) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 26 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) และบุคลากรสามารถใช้เครื่องมือ MIC Model
ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายธุรการและงานสารบรรณ

16. โครงการอบรมการใช้ E-mail
ของ Microsoft และระบบ One drive

       มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการการจัดอบรมการใช้ E-Mail ของMicrosoft และระบบ One Drive (สำหรับบุคลากร) ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น.โดยอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom Cloud Meetings ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 18 คน ผู้เข้าร่วมอบรมมีระดับความพึ่งพอใจต่อการจัดอบรม อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.36

17. โครงการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์

    มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์”  ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564  ห้องประชุม  อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 60 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง
จำนวน 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงการต่อต้านการทุจริตเพื่อไม่ให้เกิดภายในมหาวิทยาลัย และมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และการป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติราชการ  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้มีความถูกต้อง

18. โครงการอบรมให้ความรู้ความรู้ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง
(Self Assessment report)

      มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้เนินการจัดอบรมให้ความรู้ความรู้ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักและการเขียนรายงานการ
ประเมินตนเอง (Self Assessment report) ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องเศวตสุวรรณ 2 อาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาการอเนกประสงค์
บุญชง วีสมหมาย ศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 21 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง
จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
( = 4.03)

19. โครงการกิจกรรมต่อต้านคอร์รัปชั่นตามนโยบาย คุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนิน งานของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างความเข้าใจตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพ การศึกษา ระดับสำนัก/สถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564” ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุม ราชมรรคา อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร นายมานะศักดิ์ หงส์คำชัย หัวหน้างานหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้ง และมี บุคลากรสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เข้าร่วมรับการอบรมจำนวน 12 คน ผลการดำเนินงานเป็นไปตาม แผนและบรรลุตามวัตถุประสงค์

กิจกรรมการส่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

กิจกรรม/กระบวนงาน

ผลการดำเนินงาน

1. มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพที่ดี ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (5.2-6(32))

 

 

 

 

     มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพิ่มเติม อาทิ
        - สวัสดิการเกี่ยวกับด้านการพยาบาล
        - สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือการศึกษาบุตร
        - สวัสดิการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
        - สวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี
        - สวัสดิการค่าใช้จ่ายในโอกาสแสดงความเสียใจต่อบุคลากร
        - สวัสดิการค่าใช้จ่ายในโอกาสแสดงความยินดีต่อบุคลากร
        - สวัสดิการเกี่ยวกับการสะสมทรัพย์ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ)
        - สวัสดิการเกี่ยวกับประกันสังคม

2. มีฐานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากร โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรของสำนักและบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยโดยใช้ระบบ HRMS (http://www. hrms.sskru.ac.th) (5.2-6(33)) ในการจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากร และมีการทำบันทึกเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบุคลากรไปให้แต่ละคณะ/สำนัก/สถาบัน รับทราบ (5.2-6(34))       มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรที่ใช้จัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรหน้าเว็บระบบ HRMS โดยมีการจำแนกบุคลากรตามสายงาน
ประเภท ระดับการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ สามารถค้นหาขอมูลได้ที่(http://www. hrms.sskru.

5. มีการประเมินวัตถุประสงค์ของแผนและกิจกรรม และนำผลมาปรับปรุง
    มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (5.2-6(35)) เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 (5.2-6(36)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการปรับปรุง หลักจากนั้นได้นำเอาข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มากำหนดแนวทางการปรับปรุง ระยะเวลาการปรับปรุงและผู้รับผิดชอบ ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง/การดำเนินการปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. ควรยึดแนวทางเป้าหมาย ตัวชี้วัด ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566-2570) เป็นตัวกำหนดในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

2. ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนให้เชื่อมโยงกับแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)

3. ควรกำหนดสัดส่วน ค่าเป้าหมาย ตามที่กำหนดในแผนพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดผู้รับผิดชอบให้มีความชัดเจน

4. ควรส่งเสริมและมีแผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในการเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งค่าเป้าหมายไว้

 

 

 

1. การปรับปรุง  :
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ
   (   ) ปรับปรุงโครงการ
   ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
   (   ) ดำเนินการแล้ว        
   ( / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ
          1. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ควรรอความชัดเจนของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยในเดือนกรกฎาคม ก่อนนำมาพิจารณาจัดทำแผนบริหาร
และแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี
(พ.ศ. 2566 - 2570)
          2. มอบฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและกำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลากรฯ และกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการฯ ในวันพฤหัสบดี
ที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น.
    (   ) ยังไม่ดำเนินการ

สิงหาคม 2565

คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร
สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

7การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้พัฒนาระบบและกลไกในการกำกับ ติดตาม และดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ สำนัก ให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยครอบคลุมตั้งแต่ระบบการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างครบถ้วน ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.2-7(1)) ดังนี้

1. การควบคุมคุณภาพ
    1.1 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(2)) เพื่อให้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
    1.2 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง กรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-7(3)) เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องและถูกต้องตรงกันทุกหน่วยงาน
    1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อรับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครบทุกตัวบ่งชี้ คลอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย (5.2-7(4))
    1.4 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(5)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร คณะ และสำนัก สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน 
    1.5 มีการจัดทำกรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก ที่มีความชัดเจน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เพื่อพิจารณา (5.2-7(6))
    1.6 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.2-7(7)) ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2562 (5.2-7(8)) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 (5.2-7(9)) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และจัดทำรูปเล่มประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบ
    1.7 มีการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.2-7(10))
    1.8 มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูล และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.2-7(11)) และจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ทุกหน่วยงานในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=km)
    1.9 มีการจัดทำคู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย สูตรการคำนวณ และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.2-7(12))
    1.10 มีการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสนับสนุนหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งระดับสถาบัน และระดับคณะ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ (http://www.qa.sskru.ac.th/sys/)
    1.11 มีการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินตนเอง และรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (มคอ.7) ให้ทุกหน่วยงานใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.2-7(13))
    1.12 มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://www.qa.sskru.ac.th/sys/)
    1.13 มีการจัดทำระบบสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมสูตรการคำนวณ (5.2-7(14))

2. การตรวจสอบคุณภาพ
    2.1 มีการจัดทำรายงานผลการสำรวจสถานะภาพรวมของทุกหลักสูตรที่รับการประเมินประกันคุณภาพภายใน (5.2-7(15)) เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร กระบวนการปรับปรุงหลักสูตร เกณฑ์ทีใช้ประเมินหลักสูตร และอื่นๆ เพื่อให้คณะ มหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมการตรวจประเมิน
    2.2 มีการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพระดับหลักสูตร คณะ สำนัก อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ผ่านระบบและกลไกการประชุมของคณะกรรมการตามพันธกิจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ตั้งขึ้น ได้แก่ พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา พันธกิจด้านพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล พันธกิจด้านการวิจัย พันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม พันธกิจด้านด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย พันธกิจด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง  พันธกิจด้านการจัดการความรู้  พันธกิจด้านการกำกับผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร และ พันธกิจด้านด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-7(16))

3. การประเมินคุณภาพ
    3.1 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(17)) เพื่อให้หลักสูตรยึดถือและดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน
    3.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (5.2-7(18)) เพื่อทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก จำนวน 4 ท่าน เป็นประธาน กรรมการ กรรมการและเลขานุการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิภายใน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยทุกคณะกรรมการตรวจประเมินทุกคนมีประสบการณ์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา และมีประสบการณ์ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และ คปภ.
    3.3 ทุกหลักสูตร คณะ สำนัก มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามปฏิทินการดำเนินงานอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งส่งรายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มายังหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(19)) หลังจากนั้นได้รายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 8/2565 (5.2-7(20)) และรายงานต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2565 (5.2-7(21)) พิจารณา

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 ข้อ 5 คะแนน