ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , วิลาสินี รัตนวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ 4 ปี (พ.ศ. 2561–2565) ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2563 (5.2-1(1)) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งได้มีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้

   1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์  เพื่อทำหน้าที่ในการทบทวนจัดทำแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.-1(3))

   2. คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ได้มีการประชุมเพื่อทบทวน วางแผน เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ และบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในการร่วมกับวิเคราะห์ SWOT ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ นโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากนั้นได้มีการนำแผนกลยุทธ์เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

   3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.1-1(4)) เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) (5.1-1(5)) นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.1-1(6)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (5.1-1(7)) ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยได้มีการจำแนกตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 7/2563 วาระที่ 4.13 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 (5.1-1(8)) และคณะกรรรมการประจำวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 1/2564 วาระที่ 4.8 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 (5.1-1(9))และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

          วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่าย เพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2563 พบว่า มีหลักสูตรต่าง ๆ ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จํานวน 3 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิต ในส่วนของกระบวนการผลิตบัณฑิต่อเนื่อง เนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาน้อยทําให้หลักสูตรต้องออกแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อกระตุ้นการเลือกเรียนในหลักสูตร และเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้กับหลักสูตร  (5.1-2-1))

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานตามแผนแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้

     1. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล และปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-3(1))     

     2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2563 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 (5.2-3(2)) เพื่อเลือกโครงการในการกำหนดประเด็นความเสี่ยง  และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.2-3(3)) และแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง (5.2-3(4))  และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 1/2564 วาระที่ 4.11 วันที่ 6 มกราคม 2564 (5.2-3(5)) ซึ่งแผนบริหารความเสี่ยงได้มีวิเคราะห์และแสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมากเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านความเสี่ยงจากหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม

           ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการวิเคราะห์มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง จำนวน 3 โครงการ  ได้แก่

           1) โครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2562
           2) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านการใช้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา
           3) โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน โรงเรียนกฎหมายเคลื่อนที่

 

   3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแผนบริหารความเสี่ยงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 วาระที่ 4.9 วันที่ 14 มกราคม 2564 (5.2-3(6))
   4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 3 ปัจจัย 3 ประเด็นดังนี้

          4.1 งานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการดังนี้  
                1) มีการจัดเก็บฐานข้อมูลที่เป็นหลักฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของทุกสาขาวิชา
                2) มีการประชุมชี้แจง กำกับติดตามการเก็บหลักฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
                3) มีการตรวจสอบหลักฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร
                4) หลักสูตรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการที่ผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนคณะกรรมการของคปภ. มหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏ

          4.2 ฝ่ายพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่                  
                1) ส่งเสริมนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
                2) จัดอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR
                3) จัดโครงการฯส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่          
                   (3.1) จัดอบรมโครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21
                   (3.2) โครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR         
          4.3 ฝ่ายบริการวิชาการ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการดังนี้

                1) มีการประสานงานกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ในการขอความอนุเคราะห์เพื่อประชาสัมพันธ์จัดโครงการบริการวิชาการกฎหมายเคลื่อนที่    
                2) โครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการบริการวิชาการกฎหมายเคลื่อนที่ให้ชุมชนได้รับทราบอย่างชัดเจน    
                3) ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของโครงการเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

 

   5. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ (5.2-3(7)), (5.2-3(8)) พบการดำเนินงานพบว่า

          5.1 หลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรเป็นที่เรียบร้อย  ระหว่างวันที่ 28 – 30 มิถุนายน 2564 ผลจากการประเมินโดยคณะกรรมการ พบว่าทุกหลักสูตรมีคะแนนการประเมินในแต่ละองค์ประกอบที่สูงขึ้นจากปีการศึกษา 2562 และมีการจัดเก็บหลักฐานเป็นระบบมากขึ้น ข้อเสนอแนะคือ สถานการณ์โควิด-19 การดำเนินโครงการของแต่ละหลักสูตรบางหลักสูตรยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่สามารถอัพหลักฐานได้ แต่ยังต้องมีมาตรการในควบคุมต่อไปเนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อนักศึกษาและมหาวิทยาลัย

          5.2 จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ไม่เป็นไปตามที่กำหนด นักศึกษาสอบผ่านวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ CEFR ผ่านตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ คะแนน B1 ร้อยละ 11.41 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อสรุปผลการประเมินความเสี่ยงภายหลังการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงแล้ว มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วที่ไม่มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์ ควรมีการจัดโครงการออนไลน์ ในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และดูแลได้อย่างทั่วถึง ซึ่งคณะฯ ต้องยอมรับในความเสี่ยงข้อนี้ และมีมาตรการในควบคุมต่อไป ในปีงบประมาณต่อไป  

          5.3 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการกฎหมายเคลื่อนที่ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการปรับปรุงด้านการประสานงานกับพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการกฎหมายเคลื่อนที่ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการที่ชุมชนจะได้ประโยชน์และการเป็นเจ้าของโครงการร่วมกันจนนำไปสู้การเกิดความรู้สึกร่วมในการดำเนินโครงการร่วมกัน

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มติที่ประชุมเห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัยฯ และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (5.2-3(9)), (5.2-3(10))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ยึดมั่นในการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลในการบริหารในองค์กร โดยมีการดำเนินงานตามด้านต่างๆ ดังนี้

ผลงานดำเนินงาน

หลักประสิทธิผล  (Effectiveness)     

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการบริหารงบประมาณและบริหารทรัพยากรที่มีระสิทธิภาพประสิทธิผล  เน้นที่ผลลัพธ์เพื่อใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารด้านการเงิน คณะกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด (productivity

หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)  

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการสร้างระบบบริหารจัดการภายในวิทยาลัยฯให้มีประสิทธิภาพมีการจัดวางระบบการบริหารความเสี่ยง และมีการควบคุมและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า

หลักการตอบสนองResponsiveness 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครอบคลุม โดยวิทยาลัยได้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชนและคลินิกกฎหมาย เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

หลักภาระรับผิดชอบ Accountability 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ
ที่ได้กำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจด้านต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

หลักความโปร่งใส  (Transparency)     

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ในที่ประชุมเป็นประจำ และเปิดโอกาสให้บุคลากร หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ ได้แก่ รายงานผลการดำเนินและกิจกรรมต่างๆ ที่มีการดำเนินการทั้งภายในและภายนอก ซึ่งได้มีการการรายงานผลการดำเนินทุกไตรมาส

หลักการมีส่วนร่วม (Participation)  

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ของวิทยาลัยฯ  เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจของการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเน้นให้ทุกสาขาวิชามีส่วนร่วมในทุกพันธกิจของการดำเนินงาน

หลักการกระจายอำนาจ Decentralization

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการกระจายในการบริหารงาน โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบอำนาจให้รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ปฏิบัติราชการแทนคณบดี คำสั่งแต่งตั้งประธานสาขาทั้ง 3 สาขาวิชา รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในวิทยาลัยให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆในการจัดโครงการ

หลักนิติธรรม 
(Rule of Law)
   

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการออกแนวปฏิบัติระเบียบข้อบังคับต่างๆขึ้น เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์และบุคลากร  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

หลักความเสมอภาค (Equity)

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการการ ปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันเพื่อเป็นการให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพเช่น แผนพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

หลักมุ่งเน้นฉันทามติ Consensus Oriented) 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยมีการจัดแบ่งเป็นระเบียบวาระการประชุมต่างในการเสนอแนะความคิดเห็นในแต่ละประเด็น และสรุปเป็นมติของแต่ละวาระการประชุม เช่น  มติที่ประชุม วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

 

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้การบริหารและดำเนินงาน โดยคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง (5.2-5(1)) มีการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นกระบวนการจัดการความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครอบคลุมพันธกิจ 2 ด้าน (5.2-5(2)) คือ

      1) ด้านการวิจัย ประเด็น การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

      2) ด้านการผลิตบัณฑิต ประเด็น การเพิ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

      โดยทั้ง 2 ประเด็น ได้ครอบคลุมพันธกิจ ทั้ง 2 ด้าน คือ  1) ด้านการวิจัย โดยส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ 2) ด้านการผลิตบัณฑิต โดยสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมการพัฒนาความรู้และทักษะการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งผลการดำเนินงานได้แนวปฏิบัติที่ดี และมีการเผยแพร่ผ่านการประชุมเพื่อให้บุคลากรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสามารถตีพิมพ์ผลงาน และมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้           

      จากผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีการศึกษา 2563 ได้กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนด โดยใช้ผลจากการสำรวจการพัฒนาบุคลากร ในประเด็นความสนใจในการพัฒนาความรู้ 2 ด้าน ดังปรากฏในแผนการจัดการความรู้ ทั้ง 2 ด้านได้แก่

          ประเด็นที่ 1 กลุ่มเป้าหมายบุคลากรสายวิชาการที่ต้องการพัฒนางานวิจัย การเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่

          ประเด็นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายบุคลากรสายวิชาการที่มีความสนใจการพัฒนาความรู้และทักษะการสอนแบบออนไลน์

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยได้การดำเนินการในลักษณะการพบปะพูดคุยแบบการประชุมกลุ่มย่อยภายในกลุ่ม เป้าหมาย โดยทุกครั้งที่มีการพบปะพูดคุยในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย จะมีการบันทึกการประชุม และหลังจากนั้นจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรในกลุ่มผู้สังเคราะห์ความรู้ นำสิ่งที่ได้จากการประชุมในแต่ละครั้งทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการ ประชุมออกมาเป็นเอกสารสรุปความรู้ และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา รวมทั้งทางเว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง    

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งการรวบรวมนั้นรวบรวมทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ พร้อมมีการเผยแพร่ภายในคู่มือการทำเอกสารประกอบการสอน และคู่มือการทำวิจัย และเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (5.2-5(3))

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

                  ผลจากการการจัดการความรู้ทั้ง 2 ประเด็น สรุปได้ดังนี้

ด้านการผลิตบัณฑิต ประเด็น การเพิ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (5.2-5(4))

นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนำองค์ความรู้ไปใช้

1. วิทยาลัยฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้กับอาจารย์ในวิทยาลัยฯ

2. อาจารย์ในวิทยาลัยฯ ได้นำไปใช้วประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์

1. อาจารย์ในวิทยาลัยฯ 3 คน ได้นำโปรแกรม Zoom ไปใช้ในการสอน ดังนี้

อาจารย์

รายวิชา

อ.สุรศักดิ์ จันทา

รัฐและประชาสังคม

ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

องค์การและการจัดการภาครัฐ

ผศ.ว่าที่ ร.ต.ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง

การว่าความและศาลจำลอง

 

2. อาจารย์ในวิทยาลัยฯ  1 คน ได้นำโปรแกรม zipgrade ไปใช้ในการวัดและประเมินผล  คือ ผศ.ปรารถนา มะลิไทย นำไปใช้ในการประเมินผลในรายวิชา องค์การและการจัดการภาครัฐ

 

ด้านการวิจัย ประเด็น การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  (5.2-5(5))

นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนำองค์ความรู้ไปใช้

1.วิทยาลัยฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ให้กับอาจารย์ในวิทยาลัยฯ

2. อาจารย์ในวิทยาลัยฯ ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์

1. มีบทความที่ได้รับการตอบรับนำเสนอในเวทีสัมมนาวิชาการด้านวัฒนธรรม โดยสำนักงานสถาบันวิจัยและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 1 คน คือ อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา

 

2. มีบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ 3 บทความ ดังนี้

อาจารย์

บทความ

แหล่งตีพิมพ์

อ.วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร

ทัศนคติที่มีต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชัภฏศรีสะเกษ

การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น จังหวัดอุบลราชธานี

อ.ยุวดี มัญติยาการกุล

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดศรีสะเกษ

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบัยที่ 4 วัดวังตะวันตก จ.นครศรีธรรมราช

ผศ.พิมพ์ลภัส เสียงหวาน

รูปแบบการพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่เหมาะสม ในพื้นที่ชาติพันธุ์เยอ จังหวัดศรีสะเกษ

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 116 ปี “นวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จ.จันทบุรี

 

 

 

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ซึ่งรวมทั้งบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลจากบุคลากรในหลักสูตร และบุคลากรสำนักงานคณบดี ซึ่งมีการนำข้อมูลของบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากรทั้งหมด คุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อนำมามาวิเคราะห์และจัดทำเป็นแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรประจำปีการศึกษา 2563 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนา 3 ด้าน คือแผนบริหารกำลังคน แผนพัฒนาความก้าวหน้าบุคลากรและแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (5.2-6(1))

             วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบริหารส่งเสริมการพัฒนาและติดตามผลดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้งการพัฒนาทักษะด้านความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ ในปีการศึกษา 2563วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีบุคลากรสายวิชาการที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน ดังนี้

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

สถานะการเรียน

1.อ.สุรศักดิ์ จันทา

รด.รัฐศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูต อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

2. ว่าที่ ร.อ.ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย

ปรด. นิติศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูต อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

3. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

ปรด. รัฐประศาสนศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูต อยู่ระหว่างการเรียน

 

      นอกจากนี้มีบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 2 คน ได้แก่

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

ตำแหน่งทางวิชาการ

มติสถาบัน

ผศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น

รัฐประศาสนศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

25 ก.ค. 2563

ผศ.ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง

นิติศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

25 ก.ค. 2563

          ซึ่งวิทยาลัยได้มีการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรโดยการกล่าวแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ

          ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เกี่ยวกับการประเมินค่างานเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

           วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลกรทั้งวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองในอัตรา 5,000 บาท/คน/งบประมาณ และได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านความรู้ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิทยาลัยได้จัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเองรายบุคคลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

            ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการดำเนินการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และได้ดำเนินการติดตามผล
ปีละ1ครั้งและนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป (5.2-6(2))

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบกลไกการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรของคณะ โดยดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพในทุกองค์ประกอบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชภัฏ โดยเน้นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
     1. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2563 (5.2-7(1)
     
2. กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2563 ที่ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ พร้อมด้วยระบบกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการประกันคุณภาพให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ (5.2-7(2)
     
3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง(Improvement Plan) โดยนำผลการประเมินคุณภาพจากวงรอบปีการศึกษา 2562 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ และขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามปฏิทินการดำเนินงานที่วางไว้ (5.2-7(3)
     
4. ได้มีการส่งเสริมคณาจารย์เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับบุคลากร
     
5. ได้มีการส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรสำหรับการเป็นผู้ประเมินการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ที่หน่วยมาตรฐานปละงานประกันคุณภาพ มหาวิยาลัยราชภัฏได้จัดขึ้น ในวันที่ 7 -8 เมษายน 2564 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (5.2-7(4)
     
6. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีการประชุมคณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อปรึกษาหารือ วางแผน ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (5.2-7(5)
     
7. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และรายงานต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ติดตามการดำเนินงาน รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ (5.2-7(6)
     
8. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2563 ในทุกหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 3 หลักสูตร โดยผลการประเมินจากคณะกรรมการดังนี้ (5.2-7(7))

หลักสูตร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

2561

2562

2563

1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

3.45

3.85

3.97

2. รัฐศาสตรบัณฑิต

3.33

3.66

3.87

3. นิติศาสตรบัณฑิต

3.20

3.37

3.46

รวม

3.32

3.62

3.77

 

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมิน 3.32
  • ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมิน 3.62
  • ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมิน 3.77

  จากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ปีการศึกษา 2561– 2563 พบว่าผลการดำเนินงานของทุกหลักสูตรมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5