ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , เอกลักษณ์ สุรวิทย์ , วิลาสินี รัตนวรรณ , ทิพวัล โสพิษ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , สันติภาพ รัตนวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

   วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งได้มีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้

            1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ เพื่อทำหน้าที่ในการทบทวนจัดทำแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.-1(1))

            2. คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ได้มีการประชุมเพื่อทบทวน วางแผน เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ และบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในการร่วมกับวิเคราะห์ SWOT ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ นโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากนั้นได้มีการนำแผนกลยุทธ์เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

          3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.1-1(2)) เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) (5.1-1(3)) นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.1-1(4)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (5.1-1(5)) ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยได้มีการจำแนกตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (5.1-1(6)) และกรรรมการประจำคณะ (5.1-1(7)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่าย เพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2564 พบว่า มีหลักสูตรต่าง ๆ ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จํานวน 3 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิต ในส่วนของกระบวนการผลิตบัณฑิต่อเนื่อง เนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาน้อย ทําให้หลักสูตรต้องออกแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อกระตุ้นการเลือกเรียนในหลักสูตร และเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้กับหลักสูตร  (5.1-2-1))

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานตามแผนแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้

     1. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล และปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-3(1))    

     2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 14 กันยายน 2564 (5.2-3(2)) เพื่อเลือกประเด็นความเสี่ยง  และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-3(3)) และแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง (5.2-3(4))  และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 10/2564 วาระที่ 4.3 วันที่ 6 ตุลาคม 2564 (5.2-3(5)) ซึ่งแผนบริหารความเสี่ยงได้มีวิเคราะห์ และแสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมากเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านความเสี่ยงจากหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม

           ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการวิเคราะห์มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง ดังนี้

  1. ขาดการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกในการนำผลวิจัยของมหาวิทยาลัยไปใช้ เนื่องจาก นักวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
    ปัจจัยภายนอก
    ผลงานวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อชุมชน
  2. ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ไม่มีพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
    ปัจจัยภายนอก
    ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการ
  3. การเบิกจ่ายงบประมาณขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามตัวชี้วัด
    ปัจจัยภายใน
    การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่ตรงตามแผนปฏิบัติการ

    3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแผนบริหารความเสี่ยงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 วาระที่ 4.1 (5.2-3(6))

   4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 3 ปัจจัย 3 ประเด็นดังนี้

4.1 ผลงานวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อชุมชน (ปัจจัยภายนอก) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการดังนี้

     1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้แสดงศักยภาพด้านการวิจัย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นได้จริง

     2) ผู้ที่ผ่านการพิจารณาทุนสนับสนุนการวิจัยงบประมาณบำรุงการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในการวิจัย โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัย และผลการดำเนินงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างชัดเจน

     3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการระดับชาติ ในวันที่ 27 มิถุนายน 256 วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์
เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์สามารถเตรียมต้นฉบับที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ วิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บรรยายหัวข้อเรื่อง การเขียนผลงานเพื่อให้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ระดับชาติ และเทคนิคการเขียนทบทวนบทความ
(Review Article) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนงานวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ระดับชาติ และพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

      4.2 ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการ (ปัจจัยภายนอก) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการ ดังนี้                 

           1) จัดทำแผนการใช้ประโยชน์การบริการวิชาการ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564 
โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนอย่างชัดเจน

          2) มีการกำหนดพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม คือบ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

          3) มีการสำรวจความต้องการชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพชุมชนตามศาสตร์พระราชา ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชนด้านการบริหารจัดการตลาดชุมชนตามศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          4) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเยี่ยมชม โครงการบริการวิชาการที่วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

      4.3 การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่ตรงตามแผนปฏิบัติการ (ปัจจัยภายใน) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการ ดังนี้

          1) มีการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองในทุกเดือน เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามโครงการประจำไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส

          2) กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี แจ้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามงบประมาณประจำคณะ

     5. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ (5.2-3(7)), (5.2-3(8)) พบการดำเนินงานพบว่า

          1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 นักวิจัยมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในการวิจัย โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัย และผลการดำเนินงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างชัดเจน และได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการระดับชาติ ในวันที่ 27 มิถุนายน 256 วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์สามารถเตรียมต้นฉบับที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ วิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บรรยายหัวข้อเรื่อง การเขียนผลงานเพื่อให้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ระดับชาติ และเทคนิคการเขียนทบทวนบทความ (Review Article) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนงานวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ระดับชาติ และพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

          2) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดทำแผนการใช้ประโยชน์การบริการวิชาการ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564  โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนอย่างชัดเจน  มีการกำหนดพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม คือ บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  และสำรวจความต้องการชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพชุมชนตามศาสตร์พระราชา ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชนด้านการบริหารจัดการตลาดชุมชนตามศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเยี่ยมชม โครงการบริการวิชาการที่วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

          3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองในทุกเดือน เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามโครงการประจำไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส และกองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มีการแจ้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามงบประมาณประจำคณะ

         รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มติที่ประชุมเห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัยฯ และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (5.2-3(9)), (5.2-3(10))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ยึดมั่นในการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลในการบริหารในองค์กร โดยมีการดำเนินงานตามด้านต่างๆ ดังนี้

ผลงานดำเนินงาน

หลักประสิทธิผล  (Effectiveness)     

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการบริหารงบประมาณและบริหารทรัพยากรที่มีระสิทธิภาพประสิทธิผล  เน้นที่ผลลัพธ์เพื่อใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารด้านการเงิน คณะกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด (productivity

หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)  

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการสร้างระบบบริหารจัดการภายในวิทยาลัยฯ ให้มีประสิทธิภาพ มีการจัดวางระบบการบริหารความเสี่ยง และมีการควบคุมและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า

หลักการตอบสนองResponsiveness 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครอบคลุม โดยวิทยาลัยได้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน และคลินิกกฎหมาย เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

หลักภาระรับผิดชอบ Accountability 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ
ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจด้านต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

หลักความโปร่งใส  (Transparency)     

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ในที่ประชุมเป็นประจำ และเปิดโอกาสให้บุคลากร หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ ได้แก่ รายงานผลการดำเนินและกิจกรรมต่างๆ ที่มีการดำเนินการทั้งภายในและภายนอก ซึ่งได้มีการการรายงานผลการดำเนินทุกไตรมาส

หลักการมีส่วนร่วม (Participation)  

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ของวิทยาลัยฯ  เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจของการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเน้นให้ทุกสาขาวิชามีส่วนร่วมในทุกพันธกิจของการดำเนินงาน

 

หลักการกระจายอำนาจ Decentralization

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการกระจายในการบริหารงาน โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบอำนาจให้รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ปฏิบัติราชการแทนคณบดี คำสั่งแต่งตั้งประธานสาขาทั้ง 3 สาขาวิชา รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในวิทยาลัยให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆในการจัดโครงการ

หลักนิติธรรม 
(Rule of Law)
   

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการออกแนวปฏิบัติระเบียบข้อบังคับต่างๆขึ้น เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน 
ในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์และบุคลากร  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

หลักความเสมอภาค (Equity)

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการการ ปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันเพื่อเป็นการให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
เช่น แผนพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

หลักมุ่งเน้นฉันทามติ Consensus Oriented) 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยมีการจัดแบ่งเป็นระเบียบวาระการประชุมต่างในการเสนอแนะความคิดเห็นในแต่ละประเด็น และสรุปเป็นมติของแต่ละวาระการประชุม เช่น  มติที่ประชุม วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้การบริหารและดำเนินงาน โดยคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง (5.2-5(1)) มีการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นกระบวนการจัดการความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครอบคลุมพันธกิจ 2 ด้าน (5.2-5(2)) คือ

           1) ด้านการวิจัย โดยส่งเสริมให้บุคลากรมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป

           2) ด้านการผลิตบัณฑิต โดยการเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ

            ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดการความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจทั้ง 2 ด้าน คือ  1) ด้านการวิจัย โดยส่งเสริมให้บุคลากรมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป และ 2) ด้านการผลิตบัณฑิต โดยการเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ ซึ่งผลการดำเนินงานวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้แนวปฏิบัติที่ดี และมีการเผยแพร่ผ่านการประชุม เพื่อให้บุคลากรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาหัวข้อการวิจัย และการเขียนบทความวิจัย รวมทั้งการพัฒนาความรู้และทักษะการสอนแบบมืออาชีพ            

            จากผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการปรับปรุง ซึ่งในปีการศึกษา 2564 วิทยาลยกฎหมายและการปกครอง ได้กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนด โดยใช้ผลจากการสำรวจการพัฒนาบุคลากร ในประเด็นความสนใจในการพัฒนาความรู้ 2 ด้าน ดังปรากฏในแผนการจัดการความรู้ ทั้ง 2 ด้านได้แก่  

ประเด็นที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป

ประเด็นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่สนใจการเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ

          วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยได้การดำเนินการในลักษณะการพบปะพูดคุยแบบการประชุมกลุ่มย่อยภายในกลุ่มเป้าหมาย โดยทุกครั้งที่มีการพบปะพูดคุยในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย จะมีการบันทึกการประชุม และหลังจากนั้นจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรในกลุ่มผู้สังเคราะห์ความรู้นำสิ่งที่ได้จากการประชุมในแต่ละครั้งทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการประชุมออกมาเป็นเอกสารสรุปความรู้ และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา รวมทั้งทางเว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง    

            วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งการรวบรวมนั้นรวบรวมทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ พร้อมมีการเผยแพร่ภายในคู่มือการทำเอกสารประกอบการสอน และคู่มือการทำวิจัย และเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (5.2-5(3))

            วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ผลจากการการจัดการความรู้ทั้ง 2 ประเด็น สรุปได้ดังนี้

ด้านการผลิตบัณฑิต ประเด็นการเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ (5.2-5(4))

 

การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อที่น่าสนใจ

 

2. อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งรูปแบบแบบออนไลน์และรูปแบบปกติ

1. อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จำนวน 4 คน ได้นำโปรแกรมอินโฟกราฟฟิก และโปรแกรมเคนวาไปใช้ในกาจัดทำสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

 

ชื่อ - สกุล

รายวิชาที่นำโปรแกรมอินโฟกราฟฟิก
ไปใช้ในการจัดทำสื่อ
ประกอบการจัดการเรียนการสอน

ผศ. ดร.เตชิต ศิรวงษ์เดชา

กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

ผศ. สุเทวี คงคูณ

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ

 

 

 

ชื่อ - สกุล

รายวิชาที่นำโปรแกรมเคนวา
ไปใช้ในกาจัดทำสื่อ
ประกอบการจัดการเรียนการสอน

ผศ. ทรณ์  สิทธิศักดิ์

กฎหมายลักษณะมรดก

ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

องค์การและการจัดการภาครัฐ

 

 

 

 

 

ด้านการวิจัย ประเด็น การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติ
ที่มีชื่ออยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป
(5.2-5(5))

 

การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

1.วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติการเขียนบทความ เพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป

 

2. อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปเขียนบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ/วิจัย ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 ขึ้นไป

1. มีบทความที่ได้รับการตอบรับ และเผยแพร่ฉบับสมบูรณ์ ในวารสาร เสนอในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 จำนวน 2 คน 4 บทความ คือ

   - ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส
   - ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทวี คงคูณ

ชื่อ - สกุล

ชื่อผลงาน

วารสาร

ผศ.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส

นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย.

วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม: ปีที่6 ฉบับที่ 3 (2564). (TCI2 )

ผศ.ดร. ธัญวรัตน์ แจ่มใส

กลไกการขับเคลื่อนการจัดการภาวะวิกฤตของการบริหารราชการไทย “กรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19”

วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น: ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (2564). (TCI2 )

ผศ.ดร. ธัญวรัตน์ แจ่มใส

กลไกการสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมสูงวัยของกลุ่มคนทุกช่วงวัยในชุมชนเกษตรกรรมพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ.

วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น: ปีที่ 6 ฉบับที่ 1(2564). (TCI2 )

ผศ. สุเทวี คงคูณ

ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบประชาธิปไตยกรณีศึกษา: ตําบลธาตุ อําเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ.

วารสารวิชาการมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปที่ 4 ฉบับที่ 3 (2564). (TCI2 )

2. มีบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 จำนวน 1 บทความ และกลุ่มที่ 1 จำนวน 1 บทความ คือ

   - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรารถนา มะลิไทย
   - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อลงกต แผนสนิท

 

ชื่อ - สกุล

ชื่อผลงาน

วารสาร

ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

การจัดการด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)”

วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ (TCI1)

ผศ.ดร.อลงกต แผนสนิท

แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ (TCI2)

 

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
ซึ่งรวมทั้งบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลจากบุคลากรในหลักสูตร และบุคลากรสำนักงานคณบดี ซึ่งมีการนำข้อมูลของบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากรทั้งหมด คุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อนำมามาวิเคราะห์และจัดทำเป็นแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรประจำปีการศึกษา 2564 ปีงบบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนา 3 ด้าน คือ แผนบริหารกำลังคน แผนพัฒนาความก้าวหน้าบุคลากร และแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
(5.2-6(1))

          วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบริหารส่งเสริมการพัฒนา และติดตามผลดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาทักษะด้านความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ

            ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีบุคลากรสายวิชาการที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก จำนวน
3 คน ดังนี้

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

สถานะการเรียน

1.อ.สุรศักดิ์ จันทา

รด.รัฐศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

2. ว่าที่ ร.อ.ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย

ปรด. นิติศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

3. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

ปรด. รัฐประศาสนศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการพัฬนาหัวข้อดุษฎีนิพนธ์

     นอกจากนี้มีบุคลากรที่ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 4 คน โดยแยกเป็น ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการองศาสตราจารย์ จำนวน 3 ท่าน และขอกำหนดทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย จำนวน 1 ท่าน

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

ตำแหน่งทางวิชาการ

1. ผศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น

รัฐประศาสนศาสตร์

รองศาสตราจารย์

2. ผศ.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส

รัฐประศาสนศาสตร์

รองศาสตราจารย์

3. ผศ.วรเดช ภาวัตเวคิน

นิติศาสตร์

รองศาสตราจารย์

4. อ.ประเสริฐ บัวจันอัฐ

รัฐประศาสนศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

         

          ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง เกี่ยวกับการประเมินค่างานเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  

         วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลกรทั้งวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองในอัตรา 5,000 บาท/คน/งบประมาณ และได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านความรู้ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิทยาลัยได้จัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเองรายบุคคลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

          ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการดำเนินการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร และนำผลการการดำเนินการไปเป็นแนวทางในการจัดโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย

 

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบกลไกการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรของคณะ โดยดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพในทุกองค์ประกอบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชภัฏ โดยเน้นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

            1. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-7(1))

            2. กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564 ที่ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ พร้อมด้วยระบบกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการประกันคุณภาพให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ (5.2-7(2))

            3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง(Improvement Plan) โดยนำผลการประเมินคุณภาพจากวงรอบปีการศึกษา 2563 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ และขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามปฏิทินการดำเนินงานที่วางไว้ (5.2-7(3))

            4. ได้มีการส่งเสริมคณาจารย์เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับบุคลากร และนักศึกษาดังนี้

  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (สำหรับบุคลากร) ประจำปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 19 มกราคม 2565 เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาทักษะความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย
  •  โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564ในเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ทราบถึงบทบาทของตนเองเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะความรู้ให้กับนักศึกษา

          5. ได้มีการส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรสำหรับการเป็นผู้ประเมินการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ที่หน่วยมาตรฐานปละงานประกันคุณภาพ มหาวิยาลัยราชภัฏได้จัดขึ้น ในวันที่ 7 -8 เมษายน 2564 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (5.2-7(4))

           6. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีการประชุมคณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อปรึกษาหารือ วางแผน ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (5.2-7(5)

           7. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และรายงานต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ติดตามการดำเนินงาน รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ (5.2-7(6))

          8. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2564 ในทุกหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 3 หลักสูตร โดยผลการประเมินจากคณะกรรมการดังนี้ (5.2-7(7))

 

หลักสูตร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

2562

2563

2564

1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

3.85

3.97

4.09

2. รัฐศาสตรบัณฑิต

3.66

3.87

3.95

3. นิติศาสตรบัณฑิต

3.37

3.46

3.78

รวม

3.62

3.77

3.94

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมิน 3.62
  • ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมิน 3.77
  • ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมิน 3.94

     จากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ปีการศึกษา 2562– 2564 พบว่าผลการดำเนินงานของทุกหลักสูตรมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5