ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , วิภาวดี ทวี , นิลวรรณ จันทา , รุ่งทิวา เนื้อนา , ทินกร กมล , ปวริศา แดงงาม , นงนุช แสงพฤกษ์ , ตรัยเทพ ศรีสุข , ทิวาพร ใจก้อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานดังต่อไปนี้

      1. คณะกรรมการได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 5.1 -1(1) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย)

      2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563)

      3. คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน (อ้างอิง 5.1-1(3) ระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน)

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เพื่อกำหนดแผนในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับรายวิชา ของแต่ละหลักสูตร (อ้างอิง 5.1-2(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการ    บริหารคณะ ครั้งที่ 2/2563 หน้าที่ 6-9) และมีการประชุมคณะกรรมการบริหาคณะ ครั้งที่ 3/2563 วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 เพื่อกำกับติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด (อ้างอิง 5.1-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการ    บริหารคณะ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 4-5)

ลำดับที่

หลักสูตร

รายละเอียดการบูรณาการหลักสูตร

การดำเนินงาน

1.

ศศ.บ.การพัฒนาชุมชน

2533803 เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1. การฝึกทักษะการศึกษาชุมชนและเก็บข้อมูลชุมชน

2. การเสริมสร้างแรงจูงใจของนักศักษาพัฒนาชุมชนสู่นักพัฒนาชุมชนอย่างมืออาชีพ

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2.

นศ.บ. นิเทศศาสตร์

1563804 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์

1. โครงการการแสดงผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และการแสดงร่วมสมัย “นาฏยพัสตราภรณ์”

2. โครงการเปิดม่านละครเวที

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. โครงการนิเทศฯ ลั่นทุ่ง: มุ่งสร้างสื่อดี ให้ศรีสะเกษ ตอน สอนน้องทำหนัง

5. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน                                   

3.

ศศ.บ.ภาษาอังกฤษธุรกิจ

1553806 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษธุรกิจ

1. การฝึกเขียนResume และสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ

2. ทักษะการพิมพ์ภาษาไทย-อังกฤษ การใช้งาน excel การเรียนรู้จดหมายราชการ

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา-ด้านโรงแรม ด้านสำนักงาน ด้าน4. ประชาสัมพันธ์และด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ

5. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

4.

ศศ.บ.ภาษาจีน

1573803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1. การฝึกประสบการณ์ด้านการทำงานในสำนักงาน (เก็บชั่วโมง)

2. การพิมพ์เอกสารทางราชการ

3. การทำโครงการ /การสรุปโครงการ

4. โปรแกรมที่ใช้ในงานสำนักงานที่เกี่ยวข้อง

5. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวมารยาททางสังคม

ฝึกการแต่งตัวให้เหมาะสม/การมีบุคลิกภาพที่ดี

6. ฝึกปฏิบัติงานล่าม

7. การจัดทำแฟ้มประวัติ

8. การแนะนำตัวในการสมัครงาน และการสัมภาษณ์งาน

9. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5.

ศศ.บ.ภาษาญี่ปุ่น

1563802 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาญี่ปุ่น

1. การฝึกเขียนResume และสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาญี่ปุ่น

2. ทักษะการพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5. การแชร์ประสบการณ์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

6.

ศศ.บ.ศิลปะและการออกแบบ

2003803 การเตรียมการฝึกประสบการณืวิชาชีพศิลปะและการออกแบบ

1. ทักษะการนำเสนอผลงานทางศิลปะและการออกแบบ

2. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

3. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

7.

ศศ.บ.ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

1543802การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

1. ทักษะการพิมพ์หนังสือราชการและระบบงานสารบรรณ

2. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับการทำงานในหน่วยงาน

3. ทักษะการเขียนแผนการสอน

4. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาไทยเพื่อการสื่อสารจากพี่สู่น้อง

8.

ศศ.บ.ประวัติศาสตร์

1643806 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพประวัติศาสตร์

1.โปรแกรมเสริมสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในงานสำนักงานที่เกี่ยวข้อง

2.การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

3.โครงการสัมมนาทางประวัติศาสตร์

4.การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5.ทักษะการทำหนังสือราชการ

6.การฝึกเขียน Resume

7.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวมารยาททางสังคมและการเอาตัวรอดในสังคมโรคระบาด

 

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

         คณะกรรมการฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2563 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (อ้างอิง 5.1-3(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 4.1-4(3)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 31) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 4.1-4(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 31)

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

            คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (อ้างอิง 5.1-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน) มาปรับปรุงแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2564 (อ้างอิง 5.1-4(2) แผนงานพัฒนานักศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2563 และ 5.1-4(3) แผนงานพัฒนานักศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2564)

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ โดยจัดการอบรม ประกอบด้วย

          1. โครงการอบรมบุคลิกภาพ (อ้างอิง 5.1-5(1) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมบุคลิกภาพ)

          2. โครงการอบรมภาษาอังกฤษ 5.1-5(2) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมภาษาอังกฤษ

          3. โครงการอบรมคอมพิวเตอร์ (อ้างอิง 5.1-5(3) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมคอมพิวเตอร์)

          4. โครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ (อ้างอิง 5.1-5(4) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ)

          5. โครงการอบรมทักษะการทำวิจัยเบื้องต้น (อ้างอิง 5.1-5(5) รายงานผลการดำเนินโครงการอบรมทักษะการทำวิจัยเบื้องต้น)

          เพื่อให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 4 จำนวน 9 สาขาวิชา ภายใต้สังกัดคณะฯ เกิดความรู้ทักษะและประสบการณ์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4