ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , รุ่งทิวา เนื้อนา , พรเทพ เจิมขุนทด , ทิวาพร ใจก้อน , ธัญทิพ บุญเยี่ยม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานดังต่อไปนี้

      1.คณะกรรมการได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 5.1 -1(1) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย)

      2.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 5.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562)

      3.คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน (อ้างอิง 5.1-1(3) ระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน)

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการประชุมเพื่อกำกับติดตาม(อ้างอิง 5.1-2(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการบรหารคณะ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 4) ให้หลักสูตรทุกหลักสูตร ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่บูรณาการกับการทำงาน โดยกำหนดรายวิชาให้สอดคล้องกับการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

คณะกรรมการฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2562 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (อ้างอิง 5.1-3(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 5.1-3(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 11-51) และนำเสนอผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานในการประชุมครั้งที่ 2/2563 วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 5.1-3(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯครั้งที่ 2/2563 หน้าที่ 20-60)

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน มาปรับปรุงแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.1-4(1)(2) แผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2563)

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ โดยจัดการอบรม ประกอบด้วย 1)โครงการอบรมบุคลิกภาพ 2)โครงการอบรมภาษาอังกฤษ 3)โครงการอบรมคอมพิวเตอร์ 4)โครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ 5)โครงการอบรมทักษะการทำวิจัยเบื้องต้น เพื่อให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 4 จำนวน 9 สาขาวิชา ภายใต้สังกัดคณะฯ เกิดความรู้ทักษะและประสบการณ์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา -ในส่วนของสาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ และสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ก่อนการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และสหกิจศึกษา โดยส่งนักศึกษาในชั้นปีที่ 4 เก็บชั่วโมงการทำงานในหน่วยงานจังหวัดศรีสะเกษ เช่น สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกเก็บชั่วโมงเรียนรู้งาน เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์กับโรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และสาขาวิชาพัฒนาชุมชน ได้ส่งนักศึกษาออกเก็บชั่วโมง กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5