ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุวิทย์ คูหา , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรจะต้องอธิบายถึงผลการดำเนินงานที่ดำเนินการในสถานประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 4 หมายถึง การปรับปรุงแผนตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกส่งเสริมให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงระบบและกลไกตามข้อ 1
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกตามข้อ 1
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกส่งเสริมให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกส่งเสริมให้ทุกคณะ/วิทยาลัย มีการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.1-1(1)) เพื่อทำหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง ระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (ระดับสถาบัน) (5.1-1(2)) เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคณะใช้ในการขับเคลื่อนและบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน และนำประกาศฯ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2565  ลงวันที่  21 ธันวาคม 2565 (5.1-1(3)) เพื่อถ่ายทอดนโยบายสู่คณะต่างๆ 

3. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (5.1-1(4)) และนำประกาศฯ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 11/2565 ลงวันที่  21 ธันวาคม 2565 (5.1-1(5)) เพื่อถ่ายทอดนโยบายสู่คณะต่างๆ 

4. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.1-1(6)) เพื่อให้การบริหารจัดการและการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินงานมีความชัดเจนและเป็นระบบ

5. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานของคณะ/หลักสูตรตามระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ จนส่งผลให้ทุกคณะมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้
    5.1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน วิทยาลัยารกับการทำกฎหมายและการปกครอง (5.1-1(7))
    5.2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณากงาน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (5.1-1(8)) 
    5.3 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะบริหารธุริจและการบัญชี (5.1-1(9)) 
    5.4 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะครุศาสตร์ (5.1-1(10))  
    5.5 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (5.1-1(11))
    5.6 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะพยาบาลศาสตร์ (5.1-1(12))

2มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด

มหาวิทยาลัย มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 (5.1-2(1)) เพื่อทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน 3 ประเด็น ดังนี้
    1.1 รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
    1.2 พิจารณากรอบปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565
    1.3 ทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดี

2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 (5.1-2(2)) เพื่อพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังนี้
    2.1 รายงานข้อมูลการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (KM) ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน  ปีการศึกษา 2565
    2.2 รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับสถาบัน  ประจำปีการศึกษา 2565
    2.3 เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าตามพันธกิจของคณะ และแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนทั้งระดับคณะ และระดับหลักสูตร (5.1-2(3)) 

3. มีการกำกับติดตามให้ทุกคณะดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2564 ทุกคณะมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน จำนวน 41 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2565 เพิ่มมา 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 42 หลักสูตร จากจำนวนหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งหมดจำนวน 45 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 93.33 โดยแยกเป็นคณะ/วิทยาลัย  (ดังตาราง)

คณะ จำนวนหลักสูตรที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (หลักสูตร) การบรรลุเป้าหมาย
แผน ผล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9 9 บรรลุ
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 8 8 บรรลุ
คณะครุศาสตร์ 11 11 บรรลุ
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 11 11 บรรลุ
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 2 2 บรรลุ
คณะพยาบาลศาสตร์ 1 1 บรรลุ
รวมทั้งสิ้น (จำนวน) 42 หลักสูตร 42 หลักสูตร  
3มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

มหาวิทยาลัย มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2566  เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 (5.1-3(1)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของคณะ และรวบรวมผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนตามแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูล (5.1-3(2)) เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2566 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 (5.1-3(3)) ดังนี้ 
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (5.1-3(4))
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (5.1-3(5))
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (5.1-3(6))
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะครุศาสตร์ (5.1-3(7))
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (5.1-3(8))
        - รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะพยาบาลศาสตร์ (5.1-3(9))

2. มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชสภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีผลการประเมิน (ดังตาราง)

วัตถุประสงค์ของแผน

ตัวชี้วัดมหาวิทยาลัย

ค่าเป้าหมาย
(ปี 65)

การบรรลุเป้าหมาย

หน่วยนับ แผน ผล

บรรลุ

ไม่บรรลุ

 

1. ร้อยละของจำนวนหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน

หลักสูตร

90

 

/

 

 

2. นักศึกษามีความพร้อมในการที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือฝึกสหกิจศึกษา

คน

40

 

/

 

 

3. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สอบผ่านรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

คน

20

 

/

 

 

4. นักศึกษาผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงาน

ร้อยละ

95

 

/

 

 

5. ทุกหลักสูตรมีรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นรายวิชาฝึกที่ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

หลักสูตร

16

 

/

 

 

6. จำนวนสถานประกอบการที่ร่วมมือ

เครือข่าย

15

 

 

/

3. ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุง

ผู้รับผิดชอบ

1. จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนด้วยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์การทำงานในแหล่งเรียนรู้ในสภาพจริงนอกสถานศึกษาที่ได้รับการออกแบบไว้ในหลักสูตรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนด

กำหนดนโยบายแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานภายนอก 

คณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2. ควรกำหนดวัตถุประสงค์ แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education) ให้ชัดเจนภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา /เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานวิชาชีพ

ผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ ฯ ร่วมออกแบบ แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำไปจัดทำหลักสูตร ออกแบบการเรียนการสอนได้อย่าง ยืดหยุ่น เน้นความแตกต่างและหลากหลายตามลักษณะเฉพาะของแต่ละสาขาวิชาชีพ สภาพพื้นที่ตั้ง บริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง และสอดรับกับแหล่งเรียนรู้ในสภาพจริง ที มุ่งเน้นให้ผู้เรียนบรรลุ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือเป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานวิชาชีพ

ผู้บริหาร /คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้ 

3. ควรมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาดแรงงานทิศทางพัฒนาของประเทศรวมทั้งศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต

- มีการจัดทำแผนการวิจัยหลักสูตร
- มีประชุมคณะกรรมการวิชาการเพื่อส่งเสริมให้ทุกคณะมีการวิจัยหลักสูตรและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยหลักสูตร โดยเริ่มดำเนินการวิจัยหลักสูตรในปีการศึกษา 2567 ทั้งหลักสูตรที่เปิดใหม่และหลักสูตรปรับปรุง
- สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยพัฒนาหลักสูตรให้กับคณะ เพื่อจัดทำวิจัยพัฒนาหลักสูตรแบบชุดโครงการ

- สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
- คณะ
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
4. ควรมีการดำเนินการพัฒนาศูนย์สหกิจศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นตามประกาศคณะกกรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษา และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน พ.ศ. 2565 (5.1- 4(2)) - มีนโยบายหรือแผนการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษา เชิงบูรณาการกับการทํางาน พร้อมทรัพยากรสนับสนุน 
- สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการทํางาน มาตรฐานและประโยชน์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน ให้แก่ผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ผ่านช่องทางที่หลากหลาย อาทิ การจัดอบรม เผยแพร่บนเว็บไซต์ จัดทําคู่มือ 
- มีระบบและกลไกแสวงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการ 
- มีระบบสนับสนุน ประกอบด้วย การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ จัดระบบนิเทศให้คณาจารย์นิเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การนิเทศ จัดทําฐานข้อมูลเกี่ยวกับสหกิจศึกษาและ การศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน มีระบบติดตามประเมินผล และการกําหนดภาระงานของผู้ดําเนินการ 
ด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน  
- ร่วมกับสถานประกอบการออกแบบหลักสูตร กลไกการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การทํางานที่เน้นสมรรถนะนักศึกษา รวมทั้งออกแบบระบบการบริหารจัดการ สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน 
- ทําความตกลงกับสถานประกอบการให้นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงาน 
ได้รับค่าตอบแทน หรือสวัสดิการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและจําเป็นตามลักษณะงาน อาทิ ที่พัก อาหาร 
รถรับ-ส่ง 
- มีการจัดทําข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจเกิดขึ้นจากผลงาน ของนักศึกษาขณะไปปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน อาทิ การระบุชื่อและ ประกาศเกียรติคุณนักศึกษาที่สร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ หรือจัดสรรผลประโยชน์ให้นักศึกษา 
ผู้คิดค้นอย่างเหมาะสม
คณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

 

4มีการนำผลไปปรับปรุงระบบและกลไกตามข้อ 1

มหาวิทยาลัย มีการนำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ  คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพฯ จำนวน 4 ประเด็น โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุง ระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.1 - 5(1)) โดยมีผลการดำเนินงาน (ดังตาราง)

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุง

ผู้รับผิดชอบ

1. จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนด้วยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์การทำงานในแหล่งเรียนรู้ในสภาพจริงนอกสถานศึกษาที่ได้รับการออกแบบไว้ในหลักสูตรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนด

กำหนดนโยบายแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานภายนอก 

คณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2. ควรกำหนดวัตถุประสงค์ แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education) ให้ชัดเจนภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา /เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานวิชาชีพ

ผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ ฯ ร่วมออกแบบ แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Education) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำไปจัดทำหลักสูตร ออกแบบการเรียนการสอนได้อย่าง ยืดหยุ่น เน้นความแตกต่างและหลากหลายตามลักษณะเฉพาะของแต่ละสาขาวิชาชีพ สภาพพื้นที่ตั้ง บริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง และสอดรับกับแหล่งเรียนรู้ในสภาพจริง ที มุ่งเน้นให้ผู้เรียนบรรลุ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือเป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานวิชาชีพ

ผู้บริหาร /คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้ 

3. ควรมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาดแรงงานทิศทางพัฒนาของประเทศรวมทั้งศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต

- มีการจัดทำแผนการวิจัยหลักสูตร
- มีประชุมคณะกรรมการวิชาการเพื่อส่งเสริมให้ทุกคณะมีการวิจัยหลักสูตรและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยหลักสูตร โดยเริ่มดำเนินการวิจัยหลักสูตรในปีการศึกษา 2567 ทั้งหลักสูตรที่เปิดใหม่และหลักสูตรปรับปรุง
- สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยพัฒนาหลักสูตรให้กับคณะ เพื่อจัดทำวิจัยพัฒนาหลักสูตรแบบชุดโครงการ

- สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
- คณะ
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
4. ควรมีการดำเนินการพัฒนาศูนย์สหกิจศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นตามประกาศคณะกกรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษา และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน พ.ศ. 2565 (5.1- 4(2)) - มีนโยบายหรือแผนการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษา เชิงบูรณาการกับการทํางาน พร้อมทรัพยากรสนับสนุน 
- สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการทํางาน มาตรฐานและประโยชน์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน ให้แก่ผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ผ่านช่องทางที่หลากหลาย อาทิ การจัดอบรม เผยแพร่บนเว็บไซต์ จัดทําคู่มือ 
- มีระบบและกลไกแสวงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการ 
- มีระบบสนับสนุน ประกอบด้วย การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ จัดระบบนิเทศให้คณาจารย์นิเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การนิเทศ จัดทําฐานข้อมูลเกี่ยวกับสหกิจศึกษาและ การศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน มีระบบติดตามประเมินผล และการกําหนดภาระงานของผู้ดําเนินการ 
ด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน  
- ร่วมกับสถานประกอบการออกแบบหลักสูตร กลไกการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การทํางานที่เน้นสมรรถนะนักศึกษา รวมทั้งออกแบบระบบการบริหารจัดการ สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน 
- ทําความตกลงกับสถานประกอบการให้นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงาน 
ได้รับค่าตอบแทน หรือสวัสดิการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและจําเป็นตามลักษณะงาน อาทิ ที่พัก อาหาร 
รถรับ-ส่ง 
- มีการจัดทําข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจเกิดขึ้นจากผลงาน ของนักศึกษาขณะไปปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน อาทิ การระบุชื่อและ ประกาศเกียรติคุณนักศึกษาที่สร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ หรือจัดสรรผลประโยชน์ให้นักศึกษา 
ผู้คิดค้นอย่างเหมาะสม
คณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

 

5มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกตามข้อ 1

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกตามข้อ 1 ดังนี้

1. มีประกาศ เรื่อง ระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (ระดับสถาบัน) ที่จะส่งเสริมให้คณะ/วิทยาลัย ในการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยทุกคณะดำเนินการตามแผนการจัดการเรียรู้แบบบูรณาการกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ปีการศึกษา 2565 ทุกคณะมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน จำนวน 44 หลักสูตร และมีเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 45 หลักสูตร 

2. มีจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานสำหรับหลักสูตรที่ต้องการเป็นสหกิจศึกษาซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพในสถานประกอบการอย่างเป็นระบบโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการต่างๆ (5.1-5(1)) เพื่อนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์จาการปฏิบัติจริงและดำเนินการจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี ของศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา (5.1-5(2)) การศึกษาที่เข้าร่วมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา จะไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา (16 สัปดาห์) โดยปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราว โดยนักศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษและนำผลจากกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารประจำคณะ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อนำมากำหนด เป็นทางในการปฏิบัติงานในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ซึ่งคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีเครือข่ายความร่วมมือ MOU กับบริษัทชั้นนำของประเทศ เป็นบริษัทที่มีมาตรฐานปฏิบัติงานสหกิจมายาวนาน ทำให้ งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาได้รับคำแนะนำและได้รับคำปรึกษาที่ดีอยู่ตลอดเวลาและร่วมสนับสนุนทรัพยากรณ์ทุกด้านจนทำให้ นศ.ที่ไปฝึกงานและสหกิจศึกษาได้รับโอกาสที่ดี อีกทั้งยังมีสถานศึกษาต่างๆ เป็นเครือข่ายสหกิจศึกษาใน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ร่วมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร นารีและมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยสุรนารี เป็นแม่ข่ายและให้คำปรึกษามาตลอด ทำให้มหาวิทยาลัยสุรนารี เชื่อมั่นในระบบการทำงานสหกิจศึกษา และสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนทำให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้รับรางวัลผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาดีเด่น และส่งผลให้นักศึกษาที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สาขาวิชาการตลาดได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานสหกิจศึกษา รองชนะเลิศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และได้เข้าร่วมกิจกรรม สหกิจศึกษาระดับชาติและระดับนานาชาติทุกปี และในปี พ.ศ. 2562 จากการดำเนินงานของศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5 คะแนน