✓ | 1 | กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ๑.๑ มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (๔.๑-๑(๑)) (คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมฯ) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตั้งแต่ขั้นตอน การจัดทำแผน ดำเนินการตามแผน กำกับติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงาน
การประเมินตนเองให้เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพของสำนักงานอธิการบดี หลังจากนั้น ได้นำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ (๔.๑-๑(๒))(รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓) เมื่อวันพุธที่ ๑๑ มีพฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๒ เพื่อทราบ
๑.๒ นอกเหนือจากนั้นสำนักงานอธิการบดีได้มอบหมายผู้รับผิดชอบระดับกิจกรรม/โครงการตามแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓
(๔.๑-๑(๓)) (แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมประจำปีการศึกษา๒๕๖๓) เพื่อเป็นผู้จัดกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนรวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | ๒.๑ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๔.๑-๒(๑)) โดยมีการกำหนดโครงการตามแผน จำนวน ๒ โครงการ
มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานตามแผน จำนวน ๓๑,๕๐๐ บาท และมีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของแผน
|
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน
|
๑. เพื่อให้บุคลากร และนักศึกษา ร่วมสืบสานประเพณีทางศาสนาที่สำคัญของชาติให้คงอยู่สืบไป
๒. เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคลากรและนักศึกษา
|
๑. เชิงปริมาณ
๑.๑ ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
๑.๒ ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงด้านศิลปะและวัฒนธรรม ระดับ ๔
๒. เชิงคุณภาพ
๒.๑ ร้อยละของบุคลากรและนักศึกษาที่ร่วมสืบสานประเพณีทางศาสนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
๒.๒ ร้อยละของบุคลากรเกิดคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๗๕
|
๒.๒ หลังจากนั้นได้นำแผนฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๑ /๒๕๖๓ (๔.๑-๒(๒)) วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
| |
✓ | 3 | กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ๓.๑ มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลไกการประชุมของคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓
(๔.๑-๓(๑)) เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๑ และวาระที่ ๕.๕ เพื่อพิจารณาร่างโครงการ กำหนดการ กำหนดสถานที่ และระยะเวลาดำเนินงาน
๓.๒ มีการกำกับติดตามของคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ (๔.๑-๓(๒)) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๗ เพื่อรับทราบสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ถวายเพล ๑ เดือน ๑ วัด ราชภัฏร่วมทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา ปีที่ ๑๐ ปี ๒๕๖๓
| |
✓ | 4 | ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ๔.๑ มีการประเมินความสำเร็จตัวบ่งชี้ตามวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๔.๑-๔(๑)) พบว่า มีการกำหนดโครงการตามแผนฯ จำนวน ๒ โครงการ คือ (๑) โครงการ ถวายเพล ๑ เดือน ๑ วัด ราชภัฏร่วมทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา ปีที่ ๑๐ ปี ๒๕๖๓ (๔.๑-๔(๒))
และ (๒) โครงการ “วันรำลึก ฯพณฯ บุญชง วีสมหมาย” ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๔.๑-๔(๓)) สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน ๒ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ โดยมีผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของแผน
|
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน
|
ผลการดำเนินงาน
|
การบรรลุเป้าหมาย
|
๑. เพื่อให้บุคลากร และนักศึกษา ร่วมสืบสานประเพณีทางศาสนาที่สำคัญของชาติให้คงอยู่สืบไป
๒. เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคลากรและนักศึกษา
|
๑. เชิงปริมาณ
๑.๑ ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
|
มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการตามแผนฯ จำนวน ๓๐๐ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริงจำนวน ๒๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗
|
บรรลุ
|
๑.๒ ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงด้านศิลปะและวัฒนธรรม ระดับ ๔
|
จากการดำเนินงาน ๕ ระดับ สามารถดำเนินการได้ระดับ ๔ คือการวางแผน การดำเนินงาน
การประเมิน การปรับปรุง
|
บรรลุ
|
๒. เชิงคุณภาพ
๒.๑ ร้อยละของบุคลากรและนักศึกษาที่ร่วมสืบสานประเพณีทางศาสนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
|
มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการ
เข้าร่วมโครงการตามแผนฯ จำนวน ๓๐๐ คน มีบุคลากรและนักศึกษาร่วมสืบสานประเพณีทางศาสนา จำนวน ๒๓๑ คิดเป็นร้อยละ ๗๗
|
บรรลุ
|
๒.๒ ร้อยละของบุคลากรเกิดคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๗๕
|
- มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการตามแผนฯ จำนวน ๓๐๐ คน เป็น บุคลากร จำนวน ๑๕๐ คน และนักศึกษา จำนวน ๑๕๐ คน
- มีบุคลากรเกิดคุณธรรมจริยธรรม จำนวน ๑๒๔ คน
สูตรคำนวณ
๑๒๔ x ๑๐๐ / ๑๕๐ = ร้อยละ ๘๒.๖๖
|
บรรลุ
|
๔.๒ มีการนำผลการประเมินความสำเร็จตัวบ่งชี้ตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และนำสรุปโครงการตามแผนฯ
เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
(๔.๑-๔ (๔)) เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๓ เพื่อพิจารณาผลการประเมินและให้ข้อเสนอแนะ
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ๕.๑ มีการนำผลการประเมินความสำเร็จตัวบ่งชี้ตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และ
นำสรุปโครงการตามแผนฯ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ (๔.๑-๕ (๑)) เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๓ เพื่อพิจารณาผลการประเมิน
ให้ข้อเสนอแนะ กำหนดแนวทางการปรับปรุง และผู้รับผิดชอบ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงาน
|
- ควรมีการกำหนดสถานที่ตามแผนฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ ปี
|
- มีการกำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น โดยการสำรวจสถานที่ก่อนการจัดกิจกรรม และกำหนดไว้ในแผนฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ - ๒ ปี
|
สำนักงานอธิการบดี
|
- ควรหมุนเวียนและเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมให้คลอบคลุมทุกวัดภายในอำเภอเมืองศรีสะเกษ
|
- มีการหมุนเวียนและเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมทุกปี
|
สำนักงานอธิการบดี
|
๕.๒ มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ (๔.๑-๕ (๒)) เพื่อปรับปรุงและขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ผลการปรับปรุง
|
- ควรมีการกำหนดสถานที่ตามแผนฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ ปี
|
- มีการกำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น โดยการสำรวจสถานที่ก่อนการจัดกิจกรรม และกำหนดไว้ในแผนฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ – ๒ ปี
|
- มีการสำรวจวัดภายในอำเภอเมืองศรีสะเกษ ที่มีหน่วยงานอื่นๆ ลงไปจัดกิจกรรมทางศาสนาน้อยที่สุด และวัดที่มหาวิทยาลัยยังไม่เคยลงไปจัดกิจกรรม พบว่า มีวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม วัดป่าศรัทธาธรรม และวัดศรีมิ่งเมือง
- มีการจัดทำรายงานสรุปผลการสำรวจเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี พิจารณา เพื่อกำหนดวัดในการจัดกิจกรรมโครงการถวายเพล ๑ เดือน ๑ วัด ราชภัฏร่วมทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา ปีที่ ๑๑ ปี ๒๕๖๔
|
- ควรหมุนเวียนและเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมให้คลอบคลุมทุกวัดภายในอำเภอเมืองศรีสะเกษ
|
- มีการหมุนเวียนและเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมทุกปีโดยปรับสถานที่ในโครงการ ถวายเพล ๑ เดือน ๑ วัด ราชภัฏร่วมทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา ปีที่ ๑๑ ปี ๒๕๖๔
|
- มีการหมุนเวียนและปรับเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมถวายเพล ๑ เดือน ๑ วัด ราชภัฏร่วมทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา ปีที่ ๑๑ ปี ๒๕๖๔ โดยเปลี่ยนจากเดิม เป็นวัดพานทา วัดหนองตะมะ และวัดเฉลิมกาญจนาราม (โนนกอง) มาเป็นวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม วัดป่าศรัทธาธรรม และวัดศรีมิ่งเมือง
|
| |
✓ | 6 | เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน | ๖.๑ มีการเผยแพร่กิจกรรมในวารสาร “ลดาลำดวน” ฉบับที่ ๖๐ ประจำวันศุกร์ ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔ (๔.๑-๖ (๑)) และประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยทุกหน่วยงาน
๖.๒ มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและบริการในเพจเฟสบุ๊ค “ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ” (๔.๑-๖ (๒)) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมสู่สาธารณชน
| |