✓ | 1 | กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ตามเกณฑ์ดังนี้
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของคณะ ฯ ไว้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย "การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ”
เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์“เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (อ้างอิง 4.1-1(1) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับดูแลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (อ้างอิง 4.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ 2564)
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดทำแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยคณะกรรมการดำเนินงาน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณากิจกรรมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ ตลอดจนการกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯให้เห็นชอบและอนุมัติแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ 2564 และให้ดำเนินงานจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามแผนที่กำหนดไว้ (อ้างอิง 4.1-2(1) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และ 4.1-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2563)
งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้นำเสนอแผนในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 4/2563 มีการพิจารณาแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 4.1-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หน้าที่ 12-13) และเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เพื่อเห็นชอบแผน(อ้างอิง 4.1-2(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14)
| |
✓ | 3 | มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับพันธกิจด้านอื่น ๆ อาทิ
ด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ดำเนินการจัด ได้แก่ โครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สอดคล้องกับสาขาวิชา ดังนี้
ด้านการการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน เช่น โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์ สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (อ้างอิง 4.1-3(1) โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชนุภาพรำลึก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ (อ้างอิง 4.1-3(2) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชนุภาพรำลึก) โครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส (อ้างอิง 4.1-3(3) โครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส)
ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดำเนินการจัดโครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน” (อ้างอิง 4.1-3(4) โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน”)
ด้านการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมให้บุคคลากรให้ความสำคัญกับการวิจัยที่บูรณาการกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยจัดสรรทุน (อ้างอิง 4.1-3(5) บัญชีแนบท้ายประกาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ 014 /2563 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563) ดังนี้
- นายสิทธิชัย บวชไธสง เรื่อง แนวทางการจัดการโฮมสเตย์เผ่ากูย บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
- นางสาวพัณณิตา นันทะกาล เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- นายวุฒิชัย นาคเขียว เรื่องประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากอดีตจนถึงปัจุบัน
- ผศ.บุรณ์เชน สุขคุ้ม เรื่องภูมินามสถานที่ที่มาจากภาษากูยในจังหวัดศรีสะเกษ
- ดร.สีหนาท ลอบมณี เรื่อง การศึกษาความหมาย สุนทรียภาพ แลนด์มาร์ค การท่องเที่ยวท่าน้ำวัดศรีบึงบูรพ์
| |
✓ | 4 | มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กำกับและติดตามงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยได้ประชุม (อ้างอิง 4.1 - 4(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 3/2564) เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ คณะกรรมการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ (อ้างอิง 4.1-4(2) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2564) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 4.1-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 30) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 4.1-4(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 30)
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำผลการประเมินการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มาปรับใช้ในการงานปีงบประมาณ 2564 โดยเพิ่มจุดเน้นย้ำในประเด็นของความเป็นไทย แต่ก็ไม่ละเลยซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ตลอดจนปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยให้มีโครงการกิจกรรมที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดำเนินงานวางอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือของสาขาวิชาต่าง ๆ ภายใต้สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 4.1-5(1) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2564) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 4.1-5(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 30) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 3.1-5(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 30) เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1) ควรมีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ควรเพิ่มบทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการเผยแพร่ความรู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (อ้างอิง 4.1-5(4) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2565)
| |