ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ศิริวุฒิ วรรณทอง , เสถียร สีชื่น , ไชยวัฒน์ ศรีแก้ว , ทินกร กมล , ทิวาพร ใจก้อน , พรเทพ เจิมขุนทด , ธัญทิพ บุญเยี่ยม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือ การสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

ในรอบปีงบประมาณ 2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ในรอบปีงบประมาณ 2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของคณะ ฯ ไว้ดังนี้

  1. ยุทธศาสตร์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย "การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ”
  2. เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์“เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (4.1 - 1(2))

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับดูแลงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 1(1))

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดทำแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ  2563 โดยคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้มีการประชุม (4.1-2(1)) เพื่อพิจารณากิจกรรมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ ตลอดจนการกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯให้เห็นชอบและอนุมัติแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทปีงบประมาณ 2563 และให้ดำเนินงานจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามแผนที่กำหนดไว้ (4.1-2(5))

3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับพันธกิจด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ดำเนินการจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สอดคล้องกับสาขาวิชา ดังนี้ 1) โครงการทามจาน : ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมีสาขาวิชาที่เข้าร่วม ได้แก่ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน และสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 2) โครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สืบสานวัฒนธรรมปรางค์กู่ ครั้งที่ 7 สาขาวิชาที่รับผิดชอบคือ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน 3) โครงการสืบสานภาษาและวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 2 รับผิดชอบโดยสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 4) โครงการโฮมบุญข้าวใหม่ปลามัน รับผิดชอบโดย สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ตลอดจนโครงการศิลปวัฒนธรรมที่แสดงซึ่งเอกลักษ์ของสาขาวิชา เช่น โครงการวันตรุษจีน สาขาวิชาภาษาจีน  โครงการวันคริสต์มาส สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ และโครงการนิทรรศการภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น #2019 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น  (4.1 - 3(1)) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2563 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย บูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนร่วมกับสาขาวิชาประวัติศาสตร์ จัดทำโครงการทามจาน : ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมและโครงการเมืองจันทร์: ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจัดทำเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดศรีสะเกษ (4.1 - 3(2)) นอกจากนี้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้แก่นักวิจัยที่ดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 3(3))

4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กำกับและติดตามงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 คณะฯ ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนประจำปีงบประมาณ 2563และสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสิ้นปีงบประมาณและนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ (4.1 – 4 (1)) และวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 นำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนประจำปีงบประมาณ 2563และสรุปผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสิ้นปีงบประมาณและนำเสนอผลการดำเนินต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ (4.1 – 4 (2)และ4.1 – 4 (3))

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำผลการประเมินการดำเนินงานปีงบประมาณ 2562 มาปรับใช้ในการงานปีงบประมาณ 2563 โดยเพิ่มจุดเน้นย้ำในประเด็นของความเป็นไทย แต่ก็ไม่ละเลยซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ตลอดจนปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยให้มีโครงการกิจกรรมที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดำเนินงานวางอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือของสาขาวิชาต่าง ๆ ภายใต้สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีงบประมาณ 2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการประจำคณะ ฯ มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) ควรมีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ควรเพิ่มบทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการเผยแพร่ความรู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5