ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , เชิดศักดิ์ ฉายถวิล , สรวีย์ คำนวล , ชนาภัค มุลกะกุล , วันวิสา นัยเนตร , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบัน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน
7 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่
8 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการประกาศจัดตั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเป็นการจัดตั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพิ่มเติมและให้สอดคล้องกับขอบข่ายความจำเป็นในการผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อให้ทันต่อความต้องการและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2654  (4.1-1(1))

2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(2)) ดังนี้
     2.1 อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงเอกลักษณ์และเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
     2.2 สนับสนุน ส่งเสริม และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต ตามศาสตร์พระราชาพัฒนาต่อยอด และสร้างมูลค่าเพิ่ม
     2.3 เป็นผู้นำหรือมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการส่งเสริม สนับสนุน ทำนุ บำรุงและสืบสานประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในระดับประเทศหรือต่างประเทศ
     2.4 ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเข้มแข็งมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เป็นพลเมืองที่ดีและเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจและพัฒนาสังคมให้รู้รักสามัคคี สมานฉันท์
     2.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจในชนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธ์ ในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อสะท้อนให้เห็นลักษณะพหุสังคมทางวัฒนธรรมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

3. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(3)) เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน

4. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 (4.1-1(4)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงประจำสถาบันฯ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และเรียนแจ้งทุกหน่วยงานในการกำหนดผู้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

5. มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมอนุรักษ์เผยแพร่ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง (4.1-1(5)) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา 4 ปี เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ ส่งเสริม เชิดชูและพัฒนางานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่นสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน ซึ่งถือเป็นการร่วมงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 

6. มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (4.1-1(6)) ว่าด้วยการสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สื่อการเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล ภาษา พัฒนาเว็บไซต์ ศิลปะและวัฒนธรรมและการประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สื่อการเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล พัฒนาเว็บไซต์และเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน

7. มีการลงนามเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม (4.1-1(7)) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ สืบทอด ในด้านต่างๆให้คงอยู่สืบไป ดังนี้
          1. ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภุมปัญญาท้องถิ่น และการแสดงแบบผ้านานาชาติ
          2. ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการวิจัย ด้านวิชาการ ด้านอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรและนักศึกษา
          3. ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

มหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้

1. มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(2)) โดยมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ(4.1 - 2(1))  มากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนระยะ 1 ปี (4.1-2(3)) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ค่าเป้าหมาย

1. เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ร้อยละ 90

- ร้อยละของกิจกรรมโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน

ร้อยละ 85

- จำนวนการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน

4 ครั้ง/ปี

2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ

- จำนวนกิจกรรมโครงการที่บูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ

1 กิจกรรม

3. เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

- จำนวนช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

4 ช่องทาง

- จำนวนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

3 เรื่อง

- จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนากับภาคีเครือข่ายให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัดระดับชาติ

3 แหล่ง

2. มีการกำหนดกิจกรรมโครงการ ระยะเวลา สถานที่ ผู้รับผิดชอบ ไว้ในแผนอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ ที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้จัดสรรงบประมาณ (4.1-2(3)) จำนวนทั้งสิ้น 676,000 บาท ภายใต้กิจกรรมโครงการจำนวน 5 โครงการ ดังนี้
    2.1 โครงการบริหารจัดการงานศิลปะและวัฒนธรรม
    2.2 โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
    2.3 โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม
    2.4 โครงการบริการวิชาการในมิติศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    2.5 โครงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ

3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัย มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับคณะต่างๆ มีจำนวน 7 เรื่อง ดังนี้

ที่

เรื่อง

การบูรณาการ

หน่วยงาน

1

“ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)”
(4.1 - 3(1))

บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ  โดยมีการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา

สภาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 5 คณะ

2

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย การปักแส่วผ้าลายโบราณ
(4.1 - 3(2))

บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญมาให้ความรู้คนในชุมชน

วิทยาลัยกฏหมายและการปกครอง

3

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
(4.1 - 3(3))

บูรการร่วมกับหน่วยงานภายนอก และการบริการวิชาการร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและการตลาดออนไลน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

4

โครงการการส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการย้อมผ้าบาติก ด้วยเทคนิคปั้มลาย สําหรับชุมชนท้องถิ่น
(4.1 - 3(4))

บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก การบริการวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้จากการบูรณาการจากการเรียนการสอนในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไปถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์วัสดุลวดลายชุมชนท้องถิ่นให้กับชุมชนท้องถิ่น

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

5

โครงการการส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์ลวดลายชุมชนท้องถิ่น
(4.1 - 3(5))

บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก การบริการวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้จากการบูรณาการจากการเรียนการสอนในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไปถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์วัสดุลวดลายชุมชนท้องถิ่นให้กับชุมชนท้องถิ่น

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

6

โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม
(4.1 - 3(6))

บูรณาการปัญหาที่ท้าทายในชุมชนรอบเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนกับชุมชนในลักษณะการอภิปรายเชิงเหตุและผลสะท้อนปัญหาชุมชนท้องถิ่นพร้อมร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาได้ผ่านกิจกรรมกลุ่มและสามารถสร้างนวัตกรรมชุมชน

คณะครุศาสตร์

7

ละครประวัติศาสตร์ไทย 2 เรื่อง และเสวนาวิชาการ (บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)
(4.1 - 3(7))

มีการบูรณาการร่วมกับรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา  โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจวิวัฒนาการของท้องถิ่นอีสานและศรีสะเกษในด้านต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในเชิงวิวัฒนาการและบูรณาการ ตลอดจนตระหนักถึงความสําคัญของการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรม เช่น ตํานานและนิทาน โดยเน้นพลวัตของท้องถิ่น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น จารีต ประเพณีของท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการดํารงอยู่ในสังคม

สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์  โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์

8

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี วันที่ 22-23 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ณ ห้องประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2548 (ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

(4.1 - 3(8))

มีการบูณาการกับหน่วยงานภายในเพื่อให้บริการวิชากร โดยการนำผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ แก่บุคลากร นักศึกษาที่เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในเรื่องของพิธีกรรมต่าง ๆ  ตลอดจนปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกัน 

สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับ 5 คณะ

 

 

4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน

มหาวิทยาลัย มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระดับสถาบัน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่  11 พฤษภาคม 2565 (4.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยทางมหาวิทยาลัยมอบผู้รับผิดชอบกำกับติดตาม คือ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำกับติดตามติดตามผลโดยหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
    1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
    1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2. สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำกับติดตามให้มีการดำเนินการไปตามประจำทุกไตรมาส ครั้งที่ 1/2564 วันพุธที่ 19  มกราคม   2565  (4.1 – 4 (2)) วาระเพื่อทราบ
    4.1 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ (กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในระหว่างวันที่  19 – 21  ธันวาคม  2564
    4.2 สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี ในระหว่างวันที่  22-23  ธันวาคม  2564

3. สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำกับติดตามให้มีการดำเนินการไปตามประจำทุกไตรมาส ครั้งที่ 2/2564 วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 (4.1 – 4 (3)) วาระที่ 4 เรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ
    4.1 สรุปโครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ TOEFL ITP ประจำเดือน มกราคม 2565
    4.2 สรุปโครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน ประจำเดือนมกราคม 2565
    4.3 สรุปผลการดำเนินงาน โครงการการบูรณาการองค์ความรู้ในมิติศิลปะและวัฒนธรรม เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติป่าต้นน้ำตามศาสตร์พระราชา ค่ายศิลป์รักป่า“ราชภัฏ” ปลูกป่าในใจคน รุ่นที่ 1 วันที่ 28 – 30 มกราคม พ.ศ. 2565 ณ หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยสวาย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

4. มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 3 / 2565 วันพุธที่ 23 มีนาคม 2565 ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ (4.1 – 4 (4)) วาระที่ 5.9 สรุปรายงานการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
    1. รายงานการเข้าร่วมประชุมสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
     2. รายงานการจัดงานครบรอบการก่อตั้งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครบ 1 ปี วันที่ 3 มีนาคม 2565 ณ อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    3. รายงานการจัดกิจกรรม “ไหว้ครูบูชาบรมครูแห่งงานศิลป์ ประจ าปี 2565” วันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
    4. รายงานการกิจกรรมอบรมการพัฒนาภาษาอังกฤษส าหรับนักศึกษาและคณาจารย์ ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21
    5. สรุปโครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ประจ าเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
    6. สรุปโครงการ 14 กุมภา “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศาลาพระราชภัฏมุณีศรีสะเกษ

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจึงดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะคณะกรรมการตรวจประเมินประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2563 เมื่อครั้งที่สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ยังเป็นกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้สังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และศูนย์ภาษา ภายใต้สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการจัดโครงการ/กิจกรรม ซึ่งส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันฯ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีแนวทางในการดําเนินกิจกรรมให้บรรลุพันธกิจ ทั้งด้านบริการการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและบูรณาการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การพัฒนาด้านภาษาและการบริการและการจัดการด้านวัฒนธรรม ผลักดันงานภายในสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ได้อย่างถูกต้องเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจนครบถ้วนต่อไป (4.1 - 5(1))

             ซึ่งได้รับการประเมินเมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2564  ณ ห้องประชุมวิเศษสิงหนาท อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม โดยได้รับข้อเสนอแนะ องค์ประกอบที่ 4: การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้

ตัวบ่งชี้

คะแนนที่ได้

ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

4.1

ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

5.00

-เกณฑ์ข้อ 1 ควรตัดออกเพราะมีแผนในเกณฑ์ข้อ 2 แล้ว

-การบูรณาการที่จะทำให้เกิด impact อย่างเป็นรูปธรรมควรใช้หลายหลักสูตรหลายคณะมาบูรณาการร่วมกัน

-เกณฑ์ข้อ 3 ไม่ควรใช้ในตัวบ่งชี้นี้ ถ้าเปลี่ยนเป็นเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมไทยจะบ่งชี้คุณภาพมากกว่า

-สอบถามข้อมูลผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ข้อ 8 เพิ่มเติม

4.2

ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

5.00

-ผลการดำเนินงานขาดข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้ที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มหรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรม

-การทำวิจัยหรือการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองท้องถิ่นในการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ ขาดการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยทุนทางวัฒนธรรม

 ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคุณภาพ
          - การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายได้จริง เห็นผลเป็นรูปธรรมควรตั้งโจทย์และกำหนดผลลัพธ์ (Output, Outcome) ให้ชัดเจนแล้วหาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ภายในคณะร่วมกับคณะหรือหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกเพื่อดำเนินการให้ตอบโจทย์และได้ผลลัพธ์ตามกำหนด ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับนักศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
          - ควรมีการประเมินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามเป้าหมายของแผนและวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมในแผนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการเผยแพร่กิจกรรม และการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังนี้

1.มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Fanpage สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม , Facebook สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, Website สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ Website มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  (4.1-6(1) , 4.1-6(2) , 4.1-6(3) , 4.1-6(4))

 2. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในวารสารสัมพันธ์ขาวทองของมหาวิทยาลัยในหน้าข่าว สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(5)) และมีการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ จำนวน 278 หน่วยงาน

3. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในวารสารสัมพันธ์ ขาวทอง (4.1 - 6(6)) 

4.ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้มีการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์หลายหลายกิจกรรมเช่น กิจกรรมการประกวดสื่อวีดิทัศน์โครงการธำรงรักษาโรคตามความเชื่อในพิธีกรรมบำบัดโรคของชาติพันธุ์ 4 เผ่า เป็นต้น

7 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่

ในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการจัดสรรงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ศูนย์ศรีสะเกษศึกษา อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ดังนี้ (4.1 - 7(1))

1. ห้อง 100 ภาพ 1,000 เรื่อง

2. ห้องนิทรรศการ “น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

3. ห้องนิทรรศการ “อาเซียนศึกษา”

4. ห้องนิทรรศการ “กลุ่มชาติพันธ์ 4 เผ่า ไทศรีสะเกษ”    โดยเป็นการพัฒนาจากโครงการที่ได้มีการดำเนินการก่อนหน้านี้เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชุน ได้แก่
    - หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
    - หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    - หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  
    - หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
    ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว เป็นการต่อยอดโครงการเพื่อเชื่อมโยงชุมชนกับแหล่งกลุ่มชาติพันธุ์ 4 เผ่า ภายในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากสถานการณ์ แพร่ระบาดโรคโควิด -19 ทำให้ไม่สามารถจัดทำโครงการตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ 2565 ในระยะเวลาตามแผนได้อย่างเต็มที๋ ซึ่งในระยะที่ผ่านมามีผู้ที่สนใจในการเข้าเยี่ยมชมเรียนรู้อย่างมากมาย (4.1 - 7(2))

 

8 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ดังนี้

1. มีการดำเนินงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ เอกสาร ชุดความรู้ที่มีการตีพิมพ์เป็นเอกสาร (4.1 - 8(1))  การแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติโดยมีการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง (4.1 - 8(2)) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัด ในการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2565  โดยมีการร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียน ชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

2. ร่วมมือกับทางจังหวัดในการจัดงาน 239 ปี ศรีสะเกษ (4.1 - 8(3)) ซึ่งมีการเผยแพร่การแสดงจินตลีลาด้านศิลปะและวัฒนธรรม  โดยร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) โดยได้รับความร่วมมือทั้งบุคลากร นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

3. มีการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมในพิธีเปิดและพิธีปิดกีฬา “ศรีสะเกษเกมส์” และ “นครลำดวนเกมส์” (4.1 - 8(4))  และการพัฒนาชุดการแสดง “วงผกาลำดวน” ที่เป็นมาตรฐานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ โดยได้รับความร่วมมือทั้งบุคลากร นักศึกษา ที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ให้สาธารณชนทั่วประเทศได้รับรู้โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด เป็นต้น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
8 ข้อ 5 คะแนน