ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , เอกลักษณ์ สุรวิทย์ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือ การสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

            ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

            1. มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่าโดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนชุมชน และการต่อยอดงานชุมชนที่มีอยู่ให้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดที่กว้างขึ้นซึ่งยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนและสร้างรายได้และความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้แนวคิด การเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นกับชุมชน และเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกัน  โดยให้กลุ่มที่มีทักษะ ความชำนาญ เน้นเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนช่วยเหลือในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ มากกว่าการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้

            2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับดูแลงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 1(1))

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

       ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการจัดทำแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 23  กันยายน  2563 4.1-2(1)) เพื่อพิจารณากิจกรรมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนดังนี้

วัตถุประสงค์ของแผน

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน

ค่าเป้าหมาย

1. เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้เข้าร่วมโครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. จำนวนฐานข้อมูลพื้นที่ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม

 

2. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเข้าร่วมโครงการ

1 พื้นที่

 

 

50 คน

2. เพื่อบูรณาการโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือกิจกรรมนักศึกษา หรือวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

1. จำนวนโครงการที่มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรม การเรียนการสอน หรือกิจกรรมนักศึกษา หรือวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

1 รายวิชา

3. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับหน่วยงานท้องถิ่น

1. จำนวนหน่วยงานเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2 เครือข่าย

     ตลอดจนได้มีการจัดสรรงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 9 /2563  วันที่ 2 ธันวาคม 2563 วาระ 4.6(4.1-2(2)) ให้เห็นชอบและอนุมัติแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2563 (4.1-2(3)) และให้ดำเนินงานจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามแผนที่กำหนดไว้

3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

            ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับพันธกิจด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย
ซึ่งได้ดำเนินการจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คือ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย(พัฒนาศักยภาพการผลิตผ้าไหมพื้นบ้าน (การปักแส่วผ้าไหม) )ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ (4.1 – 3 (1)) และโครงการปักแส่วผ้าไหมพื้นบ้านพื้นที่บ้านหนองม่วง  ตำบลหนองครก  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ (4.1 – 3 (2)) ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการบริหารการพัฒนา ในภาคเรียนที่ 2/2563 ซึ่งมีอาจารย์ประเสริฐ บัวจันอัฐ เป็นอาจารย์ผู้สอน และการบูรณาการโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมกับโครงการการวิจัย ซึ่งมีอาจารย์ประเสริฐ  บัวจันอัฐ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยโดยมีรายละเอียดการบูรณาการ ดังนี้

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดำเนินการบูรณาการพร้อมกับการดำเนินโครงการบูรณาการรายวิชา

ข้อมูลโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม

รายละเอียดแผนการบูรณาการ

ค่าเป้าหมาย

1. ชื่อโครงการ: โครงการปักแส่วผ้าไหมพื้นบ้านพื้นที่บ้านหนองม่วง  ตำบลหนองครก  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

 

1.ประเด็นที่นำมาบูรณาการ:
    การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

2. หัวข้อที่สอน/กิจกรรมที่สอน/ประเด็นเรื่อง:
    การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3.รายละเอียด:

   การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนด้วยทุนทางทางวัฒนธรรมในชุมชน

4. รายชื่อผู้สอน:

    อาจารย์ประเสริฐ บัวจันอัฐ

5. รายชื่อผู้บรรยาย

    นายสุรศักดิ์ เหลาคำ นายกองค์การบริหารส่วนตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

6. สัปดาห์ที่สอน: สัปดาห์ที่ 8วันที่ 28 ธันวาคม 2563

1 รายวิชา
บรรลุ

 

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดำเนินการบูรณาการพร้อมกับการดำเนินการวิจัย

ข้อมูลโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม

รายละเอียดแผนการบูรณาการ

ค่าเป้าหมาย

1. ชื่อโครงการวิจัย: เรื่อง “ปัจจัยที่เสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นกรณีศึกษา ตำบลตาโกนอำเภอเมืองจันทร์จังหวัดศรีสะเกษ

1.ประเด็นที่นำมาบูรณาการ:
ปัจจัยที่เสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

2. หัวข้อที่สอน/กิจกรรมที่สอน/ประเด็นเรื่อง:
ปัจจัยที่เสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
3.รายละเอียด:

การลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัย “ปัจจัยที่เสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น” โดยนักศึกษาในรายวิชาการบริหารการพัฒนาร่วมกับอาจารย์เจ้าของโครงการวิจัย คือ อาจารย์ประเสริฐ บัวจันอัฐ ได้เรียนรู้ในการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อการเก็บข้อมูลด้านการเสริมสร้างอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

4. รายชื่อผู้สอน:

อาจารย์ประเสริฐ บัวจันอัฐ

5. รายชื่อผู้บรรยาย

นายสุรศักดิ์ เหลาคำนายกองค์การบริหารส่วนตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

6. สัปดาห์ที่สอน:สัปดาห์ที่ 8วันที่ 28 ธันวาคม 2563

1 เรื่อง

 

4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการกำกับและติดตามงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 2 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 (4.1–4(1)) และการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนประจำปีการศึกษา 2563 (4.1–4(2)) และสรุปผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรม จำนวน 2 โครงการ ดังนี้ (4.1 – 4 (3))

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน

ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้

(ผลการดำเนินงาน)

การบรรลุเป้าหมาย

1. จำนวนฐานข้อมูลพื้นที่ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม 1 พื้นที่

2. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม จำนวน 2 พื้นที่  คือ พื้นที่บ้านพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ และพื้นที่บ้านหนองม่วง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

 

บรรลุ

1. 2. จำนวนโครงการทีมีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรืองานวิจัย หรืองานบริการวิชาการ

1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน จำนวน 1 รายวิชา  ได้แก่ รายวิชาการบริหารการพัฒนา (4.1 – 4 (4))

2. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการวิจัย จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง “ปัจจัยที่เสริมสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นกรณีศึกษา ตำบลตาโกนอำเภอเมืองจันทร์จังหวัดศรีสะเกษ

 

บรรลุ

1. จำนวนหน่วยงานเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2 เครือข่าย

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม ใน 2 พื้นที่ ได้แก่

1. โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตผ้าไหมพื้นบ้าน (การปักแส่วผ้าไหม) )พื้นที่บ้านพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัด

ศรีสะเกษ

2. โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 

การปักแส่วผ้าไหมพื้นบ้านพื้นที่บ้านหนองม่วง  ตำบลหนองครก  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ซึ่งจากพื้นที่ในการดำเนินโครงการ จำนวน 2 พื้นที่นั้นได้นำมาสู่มาสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2564 ต่อไป

 

บรรลุ

จากการดำเนินโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นเป็นไทย วิทายาลัยกฎหมายและการปกครอง

ได้มีการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะประเมินนำเสนอผลการดำเนินต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 6/2564 วาระที่ 4.7 วันที่ 2 มิถุนายน 2564  (4.1–4(5))

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

จากการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมกรรมการบริการวิทยาลัย นั้น วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการนำข้อเสนอแนะจากมติที่ประชุมเพื่อไปปรับปรุงสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป ดังนี้ 

     1) ให้มีการดำเนินโครงการในพื้นที่เดิมต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2563 จำนวน1 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ และในงบประมาณ 2564 จำนวน 1 พื้นที่ พื้นที่บ้านหนองม่วง  ตำบลหนองครก  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

     2) จากมติที่ประชุมกรรมการบริหารฯ ได้เสนอมีการต่อยอดการดำเนินโครงการในพื้นที่เดิม จำนวน 1 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านหนองม่วง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการจัดโครงการเพื่อการพัฒนาลวดลายการปักแส่ว โดยการนำลวดลายพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านหนองม่วง มาออกแบบเป็นลวดลายสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนหนองม่วง (4.1 – 5 (1))

     3) คณะกรรมกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยจัดทำร่างแผนแผนงานการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2564 (4.1-5(2), (4.1–5(3)) เพื่อนำเสนอผลการดำเนินต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยคณะต่อไป

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4