การบริหารและพัฒนาอาจารย์ เริ่มต้นตั้งแต่ระบบการรับอาจารย์ใหม่ ต้องกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติอาจารย์ที่สอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบัน และของหลักสูตรมีกลไกการคัดเลือกอาจารย์ที่เหมาะสม โปร่งใส นอกจากนี้ต้องมีระบบการบริหารอาจารย์ โดยการกำหนดนโยบาย แผนระยะยาว เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ มีการวางแผนและการลงทุนงบประมาณและทรัพยากรและกิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการกำกับดูแล และการพัฒนาคุณภาพอาจารย์
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
- ระบบการบริหารอาจารย์
- ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
1. ในปีการศึกษา 2562หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ดำเนินงานตามระบบและกลไกบริหาร และพัฒนาอาจารย์ดังนี้
1. ในปีการศึกษา 2562หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ดำเนินงานตามระบบและกลไกบริหาร
และพัฒนาอาจารย์ดังนี้
2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้มีการนำเอาระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ และมีการประเมินกระบวนการ ดังนี้
การรับอาจารย์และแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
2.1 สาขาวิชารัฐศาสตร์จัดการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มีอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน 5 ท่าน
1.ผศ.ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี
2. ผศ.สุเทวี คงคูณ
3.นายสุรศักดิ์ จันทา
4.นายกิตติชัย ขันทอง
5.น.ส.วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร
2.2 ระบบการรับอาจารย์ใหม่ของสาขา จะกำหนดคุณวุฒิแต่ละสาขาอาจมีหลักเกณฑ์ต่างกันของผู้สมัครให้ตรงหรือเกี่ยวข้องกับหลักสูตร โดยผ่านการทดสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ ตามระบบของมหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการคัดสรรอาจารย์ประจำหลักสูตรเพิ่มเติมจากระบบและกลไกลของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดังนี้
-มีคุณวุฒิปริญญาเอก/โท ทางรัฐศาสตร์ (พิจารณาลำดับต้น)
-ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (พิจารณาลำดับต้น)
-มีศักยภาพสูงในการผลิตผลงานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ
-มีความมุ่งมั่นในการบริหารหลักสูตร
-มีความเป็นผู้นำ และความสามารถทำงานเป็นทีม
2.3. หลักสูตรฯ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
- คณบดีวิทยาลัยฯ เสนอเรื่องการขอปรับปรุงหลักสูตรต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เพื่อพิจารณาเสนอให้กรรมการวิชาการพิจารณา
2.4. กรรมการวิชาการเสนอสภามหาวิทยาลัย ความเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักสูตรในวันที่ 19 มิถุนายน 2558
- มหาวิทยาลัยแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อทราบ
3. มหาวิทยาลัยมีการจัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ปีละ 1 ครั้งโดยกองบริหารงานบุคคลคณะฯ และหัวหน้าสาขาวิชามีส่วนร่วมในการแนะนำการจัดการเรียนการสอนให้อาจารย์ใหม่ในการประชุมพัฒนาบุคคลากรเป็นประจำทุกปี
4. อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ได้รับการพัฒนาความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยงบประมาณของวิทยาลัยกฎหมายและกากรปกครอง นอกจากนั้นคณะฯและมหาวิทยาลัยมีการจัดอบรมความรู้ทางวิชาการให้อาจารย์ในภาพรวมให้แก่อาจารย์
5. อาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 5 ท่าน มีคุณวุฒิตรงและเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรที่จัดการศึกษาและรับผิดชอบสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญดังนี้
อาจารย์ประจำหลักสูตรปัจจุบัน คุณวุฒิ รายวิชาที่รับผิดชอบ
1. ผศ.ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี รป.ด.(รัฐประศาสนศาสตร์)
ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
ศศ.บ. (เศรษฐศาสตร์) ระบบรัฐสภาไทย
หลักรัฐประศาสนศาสตร์
นโยบายสาธารณะ
หลักรัฐศาสตร์
2. ผศ.สุเทวี คงคูณ ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
ศศ.บ. (การบัญชี) หลักรัฐศาสตร์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ
การบริหารการคลังและงบประมาณ
เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์
3. อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง
รัฐและประชาสังคม
การเมืองการปกครองท้องถิ่น
สัมมนาขอบข่ายทางรัฐศาสตร์
4. อาจารย์กิตติชัย ขันทอง ร.ม. (การเมืองการปกครอง)
ร.บ. (การเมืองการปกครอง) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ชนชั้นนำ อำนาจ โครงสร้างอำนาจทางการเมือง
5. อาจารย์วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร ร.ม. (การเมืองการปกครอง)ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์) อาเซียนในการเมืองโลก
การเมืองการปกครองไทย
องค์การระหว่างประเทศ
ระบบบริหารอาจารย์
2.1หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตมีนโยบายในการพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ โดยจัดทำเป็นแผนระยะยาวด้านอัตรากำลังคนในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและการจัดทำตำแหน่งทางวิชาการ
แผนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและการขอตำแหน่งทางวิชาการ
ตำแหน่ง/ชื่อ-สกุล ปีที่คาดว่าจะศึกษาต่อป.เอก ปีที่คาดว่าจะขอตำแหน่ง ผศ. ปีที่คาดว่าจะขอตำแหน่ง รศ.
อาจารย์ประจำหลักสูตร
1 ผศ.ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี - - 2567
2 ผศ.สุเทวี คงคูณ 2565 - 2567
3 อ.สุรศักดิ์ จันทา กำลังศึกษาต่อ ป.เอก 2565 2568
4. อ.กิตติชัย ขันทอง 2565 2567 2569
5 อ.วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร กำลังศึกษาต่อ ป.เอก 2567 2569
2.2 หลักสูตรฯ มีนโยบายสนับสนุนให้บุคลากรในสาขาได้ศึกษาต่อที่ตรงสายในระดับที่สูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาภาครัฐโดยงบประมาณของมหาวิทยาลัย
2.3 สาขาวิชารัฐศาสตร์ได้รับการจัดสรรอัตราอาจารย์ผู้สอนเพิ่ม เพื่อเป็นไปตามเกณฑ์ สกอ. ในเรื่องสัดส่วนของอาจารย์ประจำต่อนักศึกษา
2.4 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2.5 สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีเกณฑ์ในการกำหนดอาจารย์ประจำวิชาจากประสบการณ์ในการสอนโดยให้อาจารย์กรอกประวัติการสอนและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนำมากำหนดภาระการสอนในแต่ละภาคการศึกษา
2.6 สาขาวิชารัฐศาสตร์มีระบบการยกย่องและธำรงรักษาอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.นักวิจัยดีเด่น อาจารย์วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร
2. การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผศ.ดร.วิชชุดา วงศ์พานิชย์
2.7 สาขาวิชารัฐศาสตร์มีระบบการยกย่องอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ระบบและกลไกการยกย่องและธำรงรักษาปีการศึกษา 2563 ดังนี้
1. ให้หลักสูตรมอบหมายตัวแทนหลักสูตรทำหน้าที่ติดตามข้อมูลของอาจารย์ในหลักสูตร เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นให้ตัวแทนหลักสูตรที่ทำหน้าดังกล่าวแจ้งให้ประธานหลักสูตรรับทราบ
2. เมื่อพบเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ในหลักสูตร ตัวแทนที่ทำหน้าที่ติดตามข้อมูลต้องดำเนินการแจ้งให้ประธานหลักสูตรทราบ ได้แก่ การสำเร็จการศึกษา การได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ การได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งในการบริหาร รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญอื่นใดของอาจารย์ในหลักสูตรฯ ในเรื่องที่น่ายินดี เช่น วันเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญ การคลอดบุตร การสำเร็จการศึกษาของบุตรธิดา หรือแม้แต่เหตุการณ์สำคัญอื่นใดที่ไม่น่ายินดี เช่น งานฌาปนกิจของญาติพี่น้อง การประสบอุบัติเหตุ การป่วย เป็นต้น
3. หากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ส่งผลให้อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ใน 3 กรณี คือ
3.1 เหตุการณ์มีภาวะพัวพันไม่สามารถปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถได้ตั้งแต่ 1 ภาคเรียนขึ้นไป ให้ประธานหลักสูตรพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรใหม่โดยเร่งด่วน เช่น การลาศึกษาต่อ การประสบอุบัติเหตุ หรือการป่วยเรื้อรัง เป็นต้น
แผนการทดแทนอัตรากำลัง อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์
ชื่อ-สกุล ปีที่เกษียณอายุราชการ แผนรับอัตราใหม่ทดแทน
ดร,ณัฐศรัณย์ อารยะพงศ์ พ.ศ.2567 พ.ศ.2567
ผศ.ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี พ.ศ.2568 พ.ศ.2568
3.2 เหตุการณ์ทั่วไปที่สามารถปฏิบัติงานไม่ได้ตามปกติในภาคเรียนนั้นให้ประธานหลักสูตรติดตามข้อมูลและหาอาจารย์ปฏิบัติงานทดแทนเป็นการชั่วคราว หรือแล้วแต่กรณี เช่น การลาศึกษาต่อโดยลาเพียงจำกัดเวลา มีญาติ คู่ชีวิต บุตร ธิดา ประสบอุบัติเหตุ หรือป่วยเรื้อรัง เป็นต้น
3.3 เหตุการณ์ทั่วไปที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติในภาคเรียนนั้นให้ประธานหลักสูตรให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ตามความจำเป็นและตามการร้องขอ เช่น การป่วยเล็กน้อย การลากิจ การลาพักผ่อน เป็นต้น
4. หากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในข้อ 2 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าแสดงความยินดี หรือแสดงน้ำใจจากหลักสูตรฯ ให้ประธานหลักสูตรขอความเห็นจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอย่างน้อย 3 คน (รวมประธานหลักสูตรด้วย) อนุมัติเงินงบประมาณซื้อของแสดงน้ำใจในนามหลักสูตรฯ ในงบประมาณตามความเหมาะสม ต่อคน ต่องาน
5. ประธานหลักสูตรหรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว เป็นผู้มอบของแสดงน้ำใจต่ออาจารย์ในหลักสูตรท่านนั้น
6. นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในรอบถัดมา
7. ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ให้กรรมการฝ่ายการเงินของหลักสูตรสรุปค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบการยกย่องและธำรงรักษาให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรทราบ
8. ก่อนสิ้นปีการศึกษาให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประเมินระบบการยกย่องและธำรงรักษา หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขประการใด ให้จัดทำปรับปรุงระบบดังกล่าว ที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วด้วยการประกาศแจ้งให้ทราบทั่วกัน
ระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
หลักสูตรมีความต้องการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยมีการวางแผนและการลงทุนงบประมาณ ทรัพยากรและกิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการกำกับดูแล และการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ทางด้านการสอน และการวิจัย รวมถึงการยกศักยภาพอาจารย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด เพื่อความเป็นมาตรฐานของหลักสูตร
ปีการศึกษา 2563 นี้ อาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 5 คน มีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี สำหรับในกรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิทางวิชาการนั้น หลักสูตรฯ มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิทางวิชาการจำนวน 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทวี คงคูณ
หลักสูตรมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก อย่างน้อยปีละ 1 คน มีการขอตำแหน่งทางวิชาการ อย่างน้อยปีละ 1 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนได้รับการฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ชื่อ-สกุล หลักสูตร/โครงการฝึกอบรม
1. ผศ.ดร.ลือศักดิ์ แสวงมี อบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมารถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2. ผศ.สุเทวี คงคูณ อบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมารถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3. อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา อบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมารถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
4. อาจารย์กิตติชัย ขันทอง อบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมารถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
5. อาจารย์วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร อบรมการสอนออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom
โครงการสมารถนะทางภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การฝึกอบรม อาจารย์เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน 100%
หลักสูตรมีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ โดยคณะกรรมการหลักสูตร มีมติกำหนดเป้าหมายของหลักสูตร ดังนี้
- การลาศึกษาต่อของอาจารย์ต่อปี อย่างน้อย 1 คน โดยศึกษาต่อให้ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชารัฐศาสตร์ อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ต่อปี อย่างน้อย 1 คน
- การฝึกอบรม อาจารย์เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน 100%
หลักสูตรฯ ได้กำหนดระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ใน 3 ส่วน คือ 1) ระบบและกลไกการลาศึกษาต่อ 2) ระบบและกลไกการส่งเสริมด้านวิชาการ และ 3) ระบบและกลไกการฝึกอบรม โดยจัดทำเป็นแผนประกอบการดำเนินการ ดังนี้
1) แผนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและการขอตำแหน่งทางวิชาการ
2) แผนด้านความต้องการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการเข้าอบรม
โดยหลักสูตรต้องมีการกำหนดแนวทางของระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ใน 7 ประเด็นต่อไปนี้
1. อาจารย์ทุกคนได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพมาตรฐานทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
2. การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีศักยภาพที่สูงขึ้น เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิต
3. มีการควบคุม กำกับ ส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาตนเองในการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
4. มีการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการระหว่างอาจารย์ทั้งในและระหว่างหลักสูตร
5. มีการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
6. มีการประเมินการสอนของอาจารย์และนำมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาความสามารถด้านการสอนของอาจารย์
7. อาจารย์อาวุโส หรืออาจารย์ที่มีเทคนิคการสอนดีเด่น มีการถ่ายทอดประสบการณ์สู่อาจารย์ในหลักสูตร
การส่งเสริมด้านวิชาการ
: ระบบและกลไกการส่งเสริมด้านวิชาการ ปีการศึกษา 2563
หลักสูตรฯ สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ในหลักสูตรจัดทำผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งวิชาการ ตลอดจนอนุญาตให้เข้าร่วมงานวิชาการต่าง ๆ เช่น การอบรมทำผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง การเผยแพร่ผลงานวิชาการทั้งในและต่างประเทศ การอบรมการเขียนโครงร่างข้อเสนองานวิจัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
และหลักสูตรมีการสนับสนุนให้อาจารย์ในหลักสูตรที่ได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น พี่เลี้ยงสำหรับให้คำปรึกษาต่ออาจารย์ที่ต้องการส่งผลงานทางวิชาการ รวมถึงการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งทำให้อาจารย์ในหลักสูตรมีศักยภาพทางด้านวิชาการสูงขึ้น และสอดคล้องกับเกณฑ์อาจารย์ประจำหลักสูตรตามที่ สกอ. กำหนด เพื่อกำหนดระบบและกลไกการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในหลักสูตรได้ยึดเป็นแนวปฏิบัติ หลักสูตรจึงได้จัดทำระบบและกลไกการขอตำแหน่งวิชาการ1โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผู้มีความประสงค์ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการตามแผนพัฒนาตนเอง
2. คณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาอนุมัติให้ส่งผลงานทางวิชาการ
3. หลักสูตรเสนอต่อคณะฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
4. ผู้มีความประสงค์ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่ยื่นก่อนกำหนดจากแผนการขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรก่อน
5. หลักสูตรจัดหาอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการที่มีอยู่ในสังกัดหลักสูตรหรือในหลักสูตรอื่น ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาผลงานทางวิชาการ
3. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน ดังนี้
- หลักสูตรฯ ภายใต้ระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยฯ มีมติให้ความเห็นชอบผลการดำเนินงานบริหารและพัฒนาอาจารย์รอบ 6 เดือน ในเรื่องของการเร่งรัดการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และในคราวการประชุมของอาจารย์ประจำหลักสูตร ครั้งที่ 3/2563 มีข้อเสนอแนะว่า ควรปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของหลักสูตร โดยให้รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหลักสูตร เพื่อกำกับดูแลการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพ และกำหนดให้มีการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรด้านการวิจัยในโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งงานวิจัย และอาจารย์ต้องนำเสนอผลงานทางวิชาการในเวทีการประชุมสัมมนาวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเป็นการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยพิจารณาจัดร่วมกับสถาบันเครือข่าย
4. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีการปรับปรุง/พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
- จากการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ส่งผลให้มีการปรับปรุงรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรให้ทันสมัย ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจำนวน 2คน คือ
1. อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2. อาจารย์วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์และความมั่นคง) มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
4.1 - (1) | รายงานการประชุมสาขารัฐศาสตร์ ครั้งที่ 1/2563 | |
4.1 - (2) | สรุปข้อมูลบุคลากรเข้าร่วมอบรม | |
4.1 - (3) | คำสั่งเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ประเมิน |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
4 | 4 |