ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 สำนักงานสีเขียว

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัจยา บูรณะ , กมลมาศ เอี้ยวถาวร , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    สถานที่ทำงานที่มีการออกแบบและก่อสร้างของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร ที่ผู้ทำงานหรือผู้ประกอบอาชีพใช้เป็นที่ปฏิบัติงานด้านเอกสาร ด้านการประชุม และการจัดนิทรรศการ รวมไปถึงพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ภายใน ได้แก่ พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสีย ระบบบำบัดของเสีย

 

นิยามศัพท์

    สำนักงานสีเขียว (Green Office) หมายถึงสำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม
3 การวิเคราะห์และแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
4 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
5 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
6 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

สำนักงานอธิการบดี ได้ดำเนินการด้านจัดการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสนับและสนุนการดำเนินงาน ซึ่งได้นำประกาศมาตรการดังกล่าว(๓.๑-๑(๑)) เสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อรับทราบ(รายงานการประชุมคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๓.๒ ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียว (Green Office))และมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์งานบริหารบุคคล (๓.๑-๑(๒))

2มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม

สำนักงานอธิการบดี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสำนักงานสีเขียว ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อทำหน้าที่ในจัดทำแผนการดำเนินงาน การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน
รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลนำเสนอผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง (๓.๑-๒(๑)) โดยได้รายงานผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ เมื่อวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๓.๒ การพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๓.๑-๒(๒))

3การวิเคราะห์และแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ

สำนักงานอธิการบดี ได้จัดการประชุมคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานและหาแนวทางแก้ไข ในคราวประชุมคณะกรรมการสำนักงาน สีเขียว ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ วันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๑ แนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (๓.๑-๓(๑))

4มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน

สำนักงานอธิการบดี ได้ดำเนินการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
โดยมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ (๓.๑-๔(๑))

5กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม

สำนักงานอธิการบดี ได้ดำเนินโครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงานอธิการบดี โดยเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ วาระที่  ๓.๒ การพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมติที่ประชุม รับทราบและให้ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป โดยเริ่ม  ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และให้ทำป้ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่การประหยัดพลังงาน แจ้งให้ทุกหน่วยงาน ในสำนักงานอธิการบดีทราบและถือปฏิบัติ  และได้รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓ เมื่อวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๑๕ โครงการ “การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงานอธิการบดี”

6มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนด

สำนักงานอธิการบดี ได้มีการณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยได้บันทึกขอความร่วมมือและดำเนินการในแนวปฏิบัติเรื่องการประหยัดพลังงานให้หน่วยงานในสังกัด ๓.๑-๖(๑) และได้มีการเผยแพร่ป้ายประชาสัมพันธ์ และมีการติดป้ายรณรงค์ในพื้นที่อาคารของสำนักงานอธิการบดีและให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ๓.๑-๖(๒)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5