ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เทวา ขันติวงษ์ , รัชฎาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันได้มีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนา และมีการกำหนดชุมชนเป้าหมายการพัฒนาไว้ในแผน การจัดทำแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจึงต้องศึกษาความต้องการของชุมชนเป้าหมายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามแผน

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
จำนวนชุมชนเป้าหมายทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. ต่อเนื่อง หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
2. กรณีมหาวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเดิมต่อเนื่องมากกว่า 3 ปี จะต้องมีการเปลี่ยนประเด็นการพัฒนา

ผลการดำเนินงาน

ปีงบประมาณ 2566 ( ปีการศึกษา 25665) มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบของมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 3 พื้นที่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่องพื้นที่บริการวิชาการระดับสถาบัน (3.2-1(1) คือ 1) บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางกู่  จังหวัดศรีสะเกษ และ 2.บ้านทับทัมสยาม 07 อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สอดคล้องตามแผนแผนการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 1 ปี (พ.ศ.2565) (3.2-1(2) ซึ่งมีผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี ปรากฎตามรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ 2566) (3.2-1(3) ดังนี้

1. บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางคู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ได้แก่ 1) โครงการพััฒนาและยกระดับการแปรรูป และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์บริการทางทางวัฒนธรรม สู่การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกูยบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2) โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการเรียนรู้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ 3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ส่งเสริมการเรียนรู้โครงการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “โคกหนองนาโมเดล” บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
    1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ ,การเปิดศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล และ โฮมสเตย์ ดังนี้ 1) เกิดรายได้จากการรวมกลุ่มอาชีพ โดยเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท/เดือน/กลุ่ม 2) เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม
    1.2 สังคม (In Kind) ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่  1) การพัฒนาลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษ์ชุมชน 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง  3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
    1.3 เครือข่าย (Development Network)  เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม

2. บ้านทับทิมสยาม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564  และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน คือ โครงการแปรรููปผลิตภัณฑ์จากหวายเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม07 จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
    2.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เป็นการนำทุนชุมชนเครือหูช้างและเครือย่านางมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่ม และ มีรายได้จากการขายโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชน พร้อมบริการอาหารเที่ยง 1 มื้อ ในราคา หัวละ 500 บาท ดังนี้ 1) เกิดรายได้จากการรวมกลุ่มอาชีพ โดยเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 50,000 บาท/เดือน/กลุ่ม หรือ 3,000-5,000 บาท/เดือน/คน 2) เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม
    2.2 สังคม (In Kind)  ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่  1) ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น เช่น กระเป๋าถือจากเครือหูช้างและเครือย่านาง 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง  3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
    2.3 เครือข่าย (Development Network)  เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม

3. ตำบลผักไหม อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564  และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน คือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาลายผ้าอัตลักษณ์ประจำชุมชนย้อมผ้า ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลและกลุ่มทอผ้าไหมตำบลผักไหม จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
    3.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
    3.2 สังคม (In Kind) ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่  1) ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง 3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
    3.3 เครือข่าย (Development Network)  เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม

4. ผลการดำเนินงาน

    4.1 คำนวณค่าร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

คำนวน = 3 x     100         =          100
--------------------------------------------------------------------
3

    4.2 แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = 100 x     5         =          5
-------------------------------------------------------------------
20

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 คะแนน