✓ | 1 | ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ | ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัย และชุมชน ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ ดังนี้
1. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อจัดกิจกรรมตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามพระบรมราโชบายที่มุ่งผลิตครูคุณภาพและพัฒนาท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการศึกษา ตามสภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตามที่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้ง 10/2563 (3.1-1(1)) เมื่อวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 วาระที่ 4.1
2. นอกเหนือจากนั้นคณะยังมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาชุมชน จำนวน 8 พื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยังยื่น ได้แก่ 1) โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน(ตชด.) ตำบลหนองใหญ่ อำเภอกันทราลักษ์ 2) บ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง 3)บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ 4) บ้านเสียว ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 5)บ้านผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน 6) บ้านปรือคำตะวันออก ตำบลเปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ 7) บ้านทุ่งสว่าง ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษณ์ และ 8) บ้านหนองสรวง ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นต้น (3.1-1 (2)) ภายใต้ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยที่ว่า ให้นำพื้นที่ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของจังหวัด และพื้นที่ตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของมหาวิทยาลัยมาเป็นกรอบในการกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน และจะต้องมีชุมชนเดิมตามแผนบริหารวิชาการ ระยะ 1 ปี (3.1-1(3)) อย่างน้อยร้อยละ 20 เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนต่อไป
3. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-1(4)) โดยมี อธิการบดี และ คณะผู้บริหารทุกคน เป็นคณะกรรมการอำนวยการ ทำหน้าที่อำนวยการ พิจารณาสั่งการ กำกับติดตาม กำหนดพื้นที่ ออกแบบวิธีการทำงาน การประเมินแผน การกำกับติดตาม ให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านบริการวิชาการแก่สังคม และมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน มีอาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สำนักงานอธิการบดี สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ กองนโยบายและแผน และ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนบริหารวิชาการที่กำหนด
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชน โดยมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคณะที่รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการลงพื้นที่สำรวจปัญหา และความต้องการของชุมชน โดยการสัมภาษณ์ สอบถามข้อมูลเชิงลึก จากผู้นำท้องที่ และชาวบ้าน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหา ความต้องการ และออกแบบกิจกรรมร่วมกันเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณากำหนดกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-1(5)) โดยมีผลการสำรวจ ดังนี้
ด้าน
|
หน่วยงานที่จัดเก็บ
|
ปัญหา
|
ความต้องการ
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
1. ด้านเศรษฐกิจ
|
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
|
|
|
ชุมชนในเขต อ.วังหิน , อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ , และอ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ
|
คณะมนุศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
1. ชาวบ้านว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว
2. ผลิตภัณฑ์ในชุมชนขาดการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
|
ส่งเสริมอาชีพ ให้กับชาวบ้านในชุมชน เช่นการเลี้ยงกบ การทำปลาส้ม 2.นำวัตถุดิบในชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐา
|
ชุมชนในเขต อ.กันทรลักษ์ , อ.ขุนหาญ และ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ
|
สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ
|
1. ปัญหาการว่างงาน
|
สร้างอาชีพ เช่น การทอผ้าเช็ดเท้า สร้างรายได้จากการทำเกษตรแบบพอเพียง
|
ตำบลหนองแก้ว อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ , ตำบลกู่ อ.ปรางกู่ จ.ศรีสะเกษ
|
2. ด้านสิ่งแวดล้อม
|
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
|
ช
|
อยากให้เกิดการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
|
|
3. ด้านการศึกษา
|
คณะครุศาสตร์
|
|
|
โรงเรียน /ครู/นักเรียน จำนวน 100 โรงเรียนในเขตพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ
|
4. ด้านสังคม
|
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
1. ประชาชนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพ
2. โรงเรียนขาดการพัฒนาทักษะด้านกฏหมายเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน
|
|
อบต.หนองค้า ต.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ , โรงเรียนสตรีสิริเกศ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
|
| |
✓ | 2 | มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. ขั้นตอนการวางแผน (PIan)
1.1 อธิการบดี มีดำริให้นำโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บรรจุเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ทุกเดือนเป็นระเบียบวาระพิจาณาวาระแรก เพื่อกำกับติดตาม และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
1.2 ทุกคณะ สำนัก และสถาบัน มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-2(1)) ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย
1.3 มีการจัดทำแผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 1 ปี ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-2(2)) แบบมีส่วนร่วมจากคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) และเชื่อมโยงพื้นที่ตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) (3.1-2(4)) และนำข้อมูลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของพื้นที่มาประกอบการพิจารณาออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน
1.4 มีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านบริการวิชาการ (3.1-2(5))
2. ขั้นตอนการดำเนินงานตามแผน (DO)
2.1 มีการสร้างเครือข่ายในการร่วมพัฒนาชุมชน จำนวน 14 เครือข่าย (3.1-2(6)) เป็นเครือข่ายร่วมมือทางวิชาการและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นเรื่องการสร้างแหล่งเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชน ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
2.2 มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนบริการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-2(7)) ซึ่งในปีการศึกษา 2563 ได้กำหนดกิจกรรมโครงการตามแผน จำนวน 74 โครงการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน จำนวน 61 โครงการ และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 13 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 82.43 เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่ากำหนด
3. ขั้นตอนการประเมิน (Check)
3.1 มีการกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการ (อย่างต่อเนื่อง) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทุกเดือน ในวาระพิจารณาที่ 4.1 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อกระตุ้นการกำกับติดตามสถานะการดำเนินโครงการ (3.1-2(8)) และจัดกลุ่มสถานะโครงการแต่ละคณะเป็นคะแนน A , B + , B , และ C ซึ่งหมายถึง
A ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 14 โครงการ
B+ ดำเนินการแล้ว อยู่ระหว่างส่งหลักฐาน (ยืมเงิน,ล้างหนี้เงินยืม) จำนวน 47 โครงการ
B กำลังดำเนินการ (ลงพื้นที่,ประสานผู้เกี่ยวข้อง-ในพื้นที่เป้าหมาย) จำนวน 8 โครงการ
C ขออนุมัติโครงการแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 5 โครงการ
ที่
|
โครงการ
|
สถานะโครงการ
|
รวม
|
A
|
B+
|
B
|
C
|
1 |
คณะครุศาสตร์
|
3
|
12
|
-
|
15
|
|
2 |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
8
|
2
|
-
|
1
|
11
|
3 |
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
|
1
|
10
|
-
|
1
|
12
|
4 |
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
|
-
|
9
|
-
|
1
|
10
|
5 |
วิลัยกฎหมายและการปกครอง
|
-
|
3
|
-
|
-
|
3
|
6 |
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
|
-
|
4
|
8
|
-
|
12
|
7 |
สำนักงานอธิการบดี
|
2
|
6
|
-
|
2
|
10
|
3.2 มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผนบริการวิชาการฯ และโครงการ (3.1 - 2(9)) เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ในระเบียบวาระที่ 5.4 เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดของแผนฯ จำนวน 19 ตัวชี้วัด สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 10 ตัวชี้วัด ไม่บรรลุ จำนวน 9 ตัวชี้วัด คิดเป็น 52.69 และมีคำแนะนำในการดำเนินงาน 2 ประเด็น ดังนี้
1) การเลือกพื้นที่บริการวิชาการแก่สังคม ทุกคณะมีการดำเนินโครงการ ในพื้นที่เดิมต่อเนื่องและยังยื่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพาศึกษา
2) การดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ต้องประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ
4. ขั้นตอนการปรับปรุง (Act)
มีการนำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผนบริการวิชาการฯและโครงการ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2563 และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 (3.1-2(10)) เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ และกำหนดแนวทางการพัฒนา ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
|
การปรับปรุง
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1. การเขียนตัวชี้วัด ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกัน
|
1. นำข้อเสนอแนะ เข้าวาระที่ประชุม เพื่อทบทวนการเขียนตัวชี้วัด ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการ
2. มหาวิทยาลัยควรจัดอบรมให้ความรู้การเขียน ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการ
|
สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ/คณะทุกคณะ/สำนักงาน
|
2. ควรดำเนินกิจกรรมหรือโครงการในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องหรือยังยื่น สอดคล้องกับมาตราฐานและการประกันคุณภาพ
|
กำหนดแผนบริการวิชาการ และเป้าหมาย แนวทางการในการกำหนดแผนในปีการศึกษา 2564 ในการลงพื้นที่เดิมเพื่อพัฒนาต่อยอดกิจกรรมโครงการให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องยังยื่น
|
สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ
|
3. การเลือกพื้นที่บริการวิชาการแก่สังคม ทุกคณะมีการดำเนินโครงการ ในพื้นที่เดิมต่อเนื่องและยังยื่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพาศึกษา |
มีการมอบนโยบายให้ทุกคณะกำหนดกิจกรรมโครงการตามแผนบริการวิชาการระยะ 1 ปี โดยให้มีพื้นที่เดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 |
สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ/คณะทุกคณะ/สำนักงาน |
4. การดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ต้องประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ |
มีการส่งเสริมให้ทุกคณะมีการสร้างเครื่องข่ายทั้งภายใน และภายนอก ในการร่วมพัฒนาชุมชน |
สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ/คณะทุกคณะ/สำนักงาน |
| |
✓ | 3 | ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง | ชุมชนมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. มหาลัยมีการจัดระบบพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการ จำนวน 2 โครงการ โดยมีผลดำเนินงานต่อเนื่อง จำนวน 2 ชุมชน (3.1-3(1)) โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
1.1 โครงการบริการวิชาการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตำบลรุ่ง อำเภอกันทราลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มีการส่งเสริมให้ทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาชุมชนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตำบลรุ่ง อำเภอกันทราลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2563 มีการส่งเสริมให้ทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาชุมชนมีผู้นำและสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.2 ชุมชนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
มีการส่งเสริมให้ทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2563 โดยมีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 6 หน่วยงาน ลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน จนส่งผลให้บ้านหนองสาดโนนเจริญมีผู้นำและสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
| |
✓ | 4 | ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน | ชุมชนสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน ดังนี้
1. มหาวิทยาลัย มีการจัดระบบพี่เลี้ยง ในการร่วมขับเคลื่อน การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ชุมชนบ้านหนองสาด สร้างกลไกในการพัฒนาตนเองตามอัตลักษณ์อย่างยั่งยืน (3.1-4(1)) ดังนี้
2. มีการรวมกลุ่มของผู้นำและสมาชิกในชุมชนในรูปแบบคณะกรรมการ “เราทำความดีด้วยหัวใจ” จำนวน 18 คน ประกอบด้วย อสม. , ผู้ใหญ่บ้าน , ประชาชนอาสา , และตัวแทนหัวหน้าคุ้ม และคณะกรรมการได้มีการบูรณาการแหล่งทุนภายนอกมาพัฒนาชุมชน ด้านการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง - ปลายทาง
3. คณะทำงานสามารถประสานงานกับหน่วยงานเพื่อขอทุนสนับสนุนในรูปของหน่วยงานลงมาจัดกิจกรรมให้ เช่น โครงการจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โครงการจากองค์การบริหารส่วนตำบลซำ(แหล่งทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.))
โครงการจากศูนย์การศึกษาพิเศษนอกโรงเรียน โดยทั้งหมดเป็นโครงการเกี่ยวกับสุขภาวะ
| |
✓ | 5 | มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง | มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
มหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563 และแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อเป็นเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นครอบคลุม ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา (3.1-5(1)) และส่งเสริมให้คณะ สำนัก และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนตามแผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 1 ปี ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีการกำหนดกิจกรรม จำนวน 74 โครงการ มีการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำมากำหนดกิจกรรมตามแผน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านต่างๆ ดังนี้
| |
✓ | 6 | เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน | มหาวิทยาลัย มีการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนจนเกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยมีคณะ หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยรวมพัฒนา จนเกิดชุมชนต้นแบบ จำนวน 2 ชุม ดังนี้ (3.1-6(1))
ชุมชน
|
ชุมชนต้นแบบ
|
ผลงานที่โดดเด่น
|
1. บ้านหนองสาดโนนเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
|
ด้านสิ่งแวดล้อม
|
1. มีการรวมกลุ่มของผู้นำและสมาชิกในชุมชนในรูปแบบคณะกรรมการ “เราทำความดีด้วยหัวใจ” จำนวน 18 คน ประกอบด้วย อสม. , ผู้ใหญ่บ้าน , ประชาชนอาสา ,
|
2. โรงเรียนตระเวนชายแดน อ.กันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
|
ด้านการศึกษา
|
บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้นำนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และผลิตชุดการเรียนการสอน และชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนี้
|
| |