ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ศิริวุฒิ วรรณทอง , เสถียร สีชื่น , สิทธิชัย บวชไธสง , พรเทพ เจิมขุนทด , วุฒิชัย นาคเขียว , ทินกร กมล , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ปิ่นอนงค์ จำปาเงิน , จุฑาสินี ชนะศึก
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

ปีงบประมาณ 2565 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชนภายใต้สถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อโรคโคโรน่าไวรัส 2019 โดยมีระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ (3.1-1(1) แผนงานบริการวิชาการชุมชน)

การกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการกำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการแก่ชุมชนในปีงบประมาณ 2565 โดยดำเนินการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนที่สะท้อนและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะ ฯ โดยเฉพาะพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่ชุมน โดยงานบริการวิชาการลงพื้นที่สำรวจและจัดประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการในการรับบริการวิชาการ โดยมีจุดเน้นที่พื้นที่ที่เคยได้รับการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562  2563 และปีงบประมาณ 2564 และดำเนินงานต่อในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการ และในปีงบประมาณ 2565 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้กำหนดพื้นที่ในการบริการวิชาการเพิ่มขึ้นเพื่อขยายโอกาสให้กับพื้นที่อื่น ๆ ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ได้รับการบริการทางวิชาการอย่างทั่วถึง

ดังนั้นในปีงบประมาณ 2565 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนของคณะฯ (3.1-1(2)) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ 2565 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยมองถึงพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือชุมชนตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชาหรือตามแนวพระราชดำริ

2จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

ปีงบประมาณ  2565 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกอาทิ ชุมชน พัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ทำการปกครอง ตลอดจน กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในส่วนหน้าจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น การดำเนินงานงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการทั้งสิ้น 4 โครงการ (3.1- 2(1) แผนงานบริการวิชาการชุมชน) ดังนี้  

          1) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง“โครงการเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มของผู้นำชุมชนสู่การขับเคลื่อนชุมชนที่ยั่งยืน”บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 2(2)โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง“โครงการเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มของผู้นำชุมชนสู่การขับเคลื่อนชุมชนที่ยั่งยืน”บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ) 

          2) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการฝึกอบรมการจัดทำอาหารปลานิลสมทบการเลี้ยงปลาในกระชัง”กลุ่มเกษตรรักบ้านเกิด ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ   (3.1- 2(3)โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการฝึกอบรมการจัดทำอาหารปลานิลสมทบการเลี้ยงปลาในกระชัง”กลุ่มเกษตรรักบ้านเกิด ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ)

          3)โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการกิจกรรมการสร้างกระบวนการกลุ่มเพื่อการพัฒนาในพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนสู่การพัฒนากลุ่มที่เข้มแข็ง”บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 2(4) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการกิจกรรมการสร้างกระบวนการกลุ่มเพื่อการพัฒนาในพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนสู่การพัฒนากลุ่มที่เข้มแข็ง”บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ) 

          4) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการพัฒนากระบวนทัศน์สู่การพัฒนากลุ่มพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน” ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 2(5) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “โครงการพัฒนากระบวนทัศน์สู่การพัฒนากลุ่มพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน” ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ)

3ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

ปีงบประมาณ  2565 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกอาทิ ชุมชน พัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ทำการปกครอง ตลอดจน กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในส่วนหน้าจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น การดำเนินงานงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการทั้งสิ้น 4 โครงการ ดังนี้ 

          1) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มของผู้นำชุมชนสู่การขับเคลื่อนชุมชนที่ยั่งยืนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 3(1)โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการเสริมสร้างกระบวนการกลุ่มของผู้นำชุมชนสู่การขับเคลื่อนชุมชนที่ยั่งยืนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ) 

          2) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการฝึกอบรมการจัดทำอาหารปลานิลสมทบการเลี้ยงปลาในกระชังกลุ่มเกษตรรักบ้านเกิด ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ   (3.1- 3(2)โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการฝึกอบรมการจัดทำอาหารปลานิลสมทบการเลี้ยงปลาในกระชังกลุ่มเกษตรรักบ้านเกิด ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ)

          3) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการกิจกรรมการสร้างกระบวนการกลุ่มเพื่อการพัฒนาในพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนสู่การพัฒนากลุ่มที่เข้มแข็งบ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 3(3) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการกิจกรรมการสร้างกระบวนการกลุ่มเพื่อการพัฒนาในพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนสู่การพัฒนากลุ่มที่เข้มแข็งบ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ) 

          4) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการพัฒนากระบวนทัศน์สู่การพัฒนากลุ่มพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1- 3(4) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการพัฒนากระบวนทัศน์สู่การพัฒนากลุ่มพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ)

 

 

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ  2565 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนได้ประชุม เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน (3.1- 4(1) แผนงานบริการวิชาการและ 3.1- 4(2) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน) พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนคณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ  2565 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนได้ประชุม เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน

5นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ  2565 ที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ (3.1-5(1)) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 2/2565 เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ (3.1- 5(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ) ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 ต่อไป (3.1- 5(3) ร่างพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ 2566)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5