คุณสมบัติของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรเป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จ แต่ละหลักสูตรจะมีแนวคิดปรัชญาในการออกแบบหลักสูตร ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของหลักสูตร การกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และสอดคล้องกับคุณสมบัติของนักศึกษาที่กำหนดในหลักสูตร มีเครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือก ข้อมูล หรือวิธีการคัดนักศึกษาให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมทางปัญญา สุขภาพกายและจิต ความมุ่งมั่นที่จะเรียน และมีเวลาเรียนเพียงพอ เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การรับนักศึกษา
- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
การรับนักศึกษา: การรับเข้านักศึกษาใหม่ทั้งในส่วนของการรับตรงและโควต้า และระบบการรับตรงโดยมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการเอง กระบวนการเริ่มจากการกำหนดแผนการรับนักศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย การกำหนดจำนวนรับและคุณสมบัติของผู้สมัครที่สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ของหลักสูตร มีการประชาสัมพันธ์ การรับสมัครทั้งทางเว็บไซต์ และการสมัครด้วยตนเอง การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก การสอบคัดเลือก (พิจารณาผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาและการสัมภาษณ์) การประกาศรายชื่อ และการรายงานตัว 1.1 จำนวนนักศึกษาของสาขาวิชารัฐศาสตร์กำหนดเป็นแผนรับตามความต้องการศึกษาต่อในแต่ละปี โดยอาศัยข้อมูลของปีที่ผ่านมาเป็นฐานในการคำนวณ ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันในเรื่องของเศรษฐกิจ และความพร้อมของอาจารย์ประจำสาขาและอาจารย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.2 สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้จัดทำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยได้กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ตาม TQF 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร การตรงต่อเวลา 2. เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด หลักการเมืองการปกครอง 3. เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะทางปัญญา มีความคิดริเริ่ม และมีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ 4. เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวเพื่อการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น 5. เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม สาขาวิชารัฐศาสตร์ จึงได้กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โดยการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กล่าวข้างต้นแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1. โควตาวิชาการ/กีฬาและความสามารถพิเศษ ซึ่งมีเกรดเฉลี่ยสะสมกรณีโควตาวิชาการไม่ต่ำกว่า2.00 หรือกรณีโควตากีฬาและความสามารถพิเศษ มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า2.00โดยการสอบ/สอบสัมภาษณ์ โดยนักศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดและสอบสัมภาษณ์ผ่านเกณฑ์ 2. การรับรอบทั่วไป ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ นักศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดและมีคะแนนการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ผ่านเกณฑ์ 1.3 ในการคัดเลือกนักศึกษาด้วยวิธีการสอบข้อเขียนผู้เข้ารับการคัดเลือกต้องทำข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะด้าน สิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ในการสอบสัมภาษณ์จะเน้นถึงความตั้งใจจริงในการศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสอบถามทัศนคติของผู้เข้ารับการคัดเลือกเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนักปกครองในอนาคต เช่น ภาวะผู้นำ ความซื่อสัตย์และความมีคุณธรรมจริยธรรม และความละเอียดรอบคอบ หลักสูตรดำเนินการเพื่อนำระบบและกลไกไปปฏิบัติคือ: สำหรับผลการรับนักศึกษาในปี 2563 หลักสูตรมีการรับนักศึกษาเข้าศึกษาตามแผนกำหนดไว้ จำนวน 100 คน ซึ่งรับเข้าศึกษาจริงจำนวน 94 คน พบว่าการรับนักศึกษาต่ำกว่าแผนที่ตั้งไว้ เนื่องมากจากสภาวะการแข่งขันและภาวะทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ประชุมเมื่อสิ้นปีการศึกษา 1/2563 เพื่อทบทวนกระบวนการรับนักศึกษา พบว่ามหาวิทยาลัยของรัฐได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวนและเปิดรับ 2 ครั้ง จึงส่งผลให้นักศึกษามาสมัครเรียนมีจำนวนลดน้อยลง การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง: คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประชุม ประเมินกระบวนการการรับนักศึกษาปีการศึกษา 2563 พบว่า การรับนักศึกษาต่ำกว่าเป้าหมาย ในปีการศึกษา 2563 ทางสาขาวิชาจึงได้ปรับปรุงการดำเนินงานกระบวนการรับสมัครนักศึกษา โดยมีการจัดคณาจารย์และนักศึกษารุ่นพี่เข้าร่วมแนะแนวและประชาสัมพันธ์หลักสูตรกับสำนักส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานกิจกรรมOpenHouse ของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นการแนะนำสาขารวมถึงการจัดการแข่งขันทักษะวิชาการเช่น แข่งขันตอบปัญหารัฐศาสตร์ และออกบูธประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ผลของการปรับปรุงกระบวนการ: มติที่ประชุมการบริหารหลักสูตรสรุปว่า ในปีการศึกษา 2563 ผลจากการปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษาของปีการศึกษา 2562 นั้น จำนวนนักศึกษาก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ เนื่องจากมีการแข่งขันรับเข้ากันสูง ภาวะเศรษฐกิจ มีนักศึกษาลาออกก่อนและระหว่างการศึกษา ดังนั้นในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนำปัญหาเข้าสู่วาระการประชุมและมีมติให้ปรับปรุงกระบวนการใหม่ โดยมีการจัดโครงการบริการวิชาการลงไปยังพื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้คุ้นเคยและรู้จักหลักสูตรมากขึ้น โดยได้รับเกียรติจากศูนย์สังคมศึกษา โรงเรียนกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษในการขอความอนุเคราะห์อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์บรรยายพิเศษให้กับนักเรียนห้องเรียนนิติ-รัฐศาสตร์ โดยมีวิทยากรให้ความรู้อาจารย์กิตติชัย ขันทอง ซึ่งอาจส่งผลให้การนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนเป็นไปตามเป้าหมายในปีการศึกษา 2564 ต่อไป การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษามีระบบกลไกดังนี้: 1.การเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ในด้านการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้ดำเนินการ ทั้งด้านการให้ความรู้เชิงวิชาการพื้นฐานของนักปกครอง อบรมภาษาอังกฤษพื้นฐานคำศัพท์ทางรัฐศาสตร์ แนะนำทักษะการดำรงชีวิตในมหาวิทยาลัย ตลอดจนปลูกจิตสำนึกการมีจิตสาธารณะ และนักศึกษารับใช้สังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2. ในปีการศึกษา 2563หลักสูตรมีการจัดแนะนำการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาใหม่โดยผ่านรุ่นพี่เล่าสู่รุ่นน้อง ในการเตรียมตัวในการเรียน มีการมอบเอกสารตำรา การแนะเทคนิคการเรียนเพื่อให้ได้ผลการเรียนที่ดี เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยและตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพนี้มากขึ้น 3.เพื่อให้นักศึกษาใหม่สามารถการปรับตัวในด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม กิริยามารยาท บุคลิกภาพและการแต่งกาย วิทยาลัยกฎหมายและปกครองจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในภาพรวมของคณะให้ก่อนเปิดภาคการศึกษา และหลักสูตรได้จัดกิจกรรมพี่น้องสัมพันธ์ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังจัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการเพื่อให้คำปรึกษากับนักศึกษาตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในหลักสูตร หลักสูตรนำระบบและกลไกสู่การปฏิบัติ: หลักสูตรส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชาและวิทยาลัยกฎหมายฯ โดยได้มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาคอยติดตามการเข้าร่วมกิจกรรมและการอบรมของนักศึกษา สำหรับผลการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2563 นั้น นักศึกษาใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่วิทยาลัยกฎหมายฯ และสาขาวิชากำหนดไว้ทุกกิจกรรม การประเมินกระบวนการและการปรับปรุง: เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 หลักสูตรฯได้สรุปผลการดำเนินงานในคราวประชุมครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ความว่า - จากแผนการรับนักศึกษาและจำนวนของนักศึกษาที่เข้าศึกษาจริง พบว่า มีนักศึกษาไม่ถึงเกณฑ์ตามแผนที่กำหนดทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจึงเห็นชอบให้มีการปรับคุณสมบัติการรับเข้าของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรมีศักยภาพดียิ่งขึ้นเป็นไปตามคุณลักษณะของหลักสูตรและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการสอบคัดเลือก เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบรอบปีการศึกษาถัดไป - นักศึกษายังไม่ให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมโครงการของหลักสูตรจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้ปรับกระบวนการสร้างแรงจูงใจ เพิ่มโอกาสในการให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อโครงการที่จัดของหลักสูตร และจัดแผนงาน โครงการที่มาจากความต้องการและกำหนดวัตถุประสงค์โดยนักศึกษาเอง เพื่อนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการในปีการศึกษา 2564 ต่อไป - มีการประเมินผลและรายงานผลจากการดำเนินการตามโครงการต่างๆของสาขาวิชาฯ เพื่อนำผลการรายงานมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ผลของการปรับปรุงกระบวนการ: - ได้มีการนำผลการประเมินมาปรับคุณสมบัติการคัดเลือกนักศึกษา โดยนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.00 และในหมวดสังคมศึกษาต้องไม่น้อยกว่า 2.00 หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร - ผลจากการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ดังกล่าว พบว่า นักศึกษาในหลักสูตรฯ สามารถลงทะเบียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่ม ถอน รายวิชาตามกรอบระยะเวลาที่ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการกำหนด นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการที่หลักสูตรฯ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา อาทิเช่น โครงการบริการวิชาการ ให้ความรู้เรื่องระเบียบ ข้อบังคับ การปฏิบัติตนตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯและหลักสูตรยังปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เฉพาะหลักสูตร แนะนำรายวิชาต่างๆในหลักสูตร แผนการเรียนของนักศึกษาตลอด 4 ปี และการปรับตัวในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยฯ จนสำเร็จการศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มีผลจากการปรับปรุงที่เห็นเป็นรูปธรรม ดังนี้ - ได้นำผลการปรับคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา นำมาใช้ในเล่มหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตระดับปริญญาตรี 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559) ที่ สกอ.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2559 - และยังได้จัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ เช่น สานสัมพันธ์น้องพี่รัฐศาสตร์ ครั้งที่ 3ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย การเสริมสร้างภาวะผู้นำ การเสริมสร้างความเป็นพลเมือง สิทธิหน้าที่และการเป็นนักประชาธิปไตยในสังคมไทยส่งผลทำให้จำนวนนักศึกษาคงอยู่มีมากขึ้น ปีการศึกษา จำนวนรับเข้า จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ในแต่ละปีการศึกษา 2561 2562 2563 2561 127 127 (100%) 2562 112 102 (91.07%) 2563 94 84 (89.36%)
หลักฐานอ้างอิง
สรุปโครงการบริการวิชาการสาขาวิชารัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2563
รายงานการประชุมสาขาวิชารัฐศาสตร์ ครั้งที่ 5/2563
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
3.1 - (1) | ระบบการรับนักศึกษา | |
3.1 - (2) | สรุปโครงการบริการวิชาการสาขาวิชารัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 | |
3.1 - (3) | รายงานการประชุมสาขาวิชารัฐศาสตร์ ครั้งที่ 5/2563 |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
4 | 4 |