ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , วันวิสา นัยเนตร , ชนาภัค มุลกะกุล , ภิญญาภัทฎ์ ใสกระจ่าง , เชิดศักดิ์ ฉายถวิล , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , กิตติพงศ์ สอนเจริญ , สรวีย์ คำนวล , ธันยพงศ์ สารรัตน์ , เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

เกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง
หมายเหตุ

ต้องมีเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงการได้มา การค้นคว้าประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นระบบ
- เอกสารด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในปีการศึกษา 2565 ได้ตีพิมพ์วารสาร รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ หนังสือ และสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้นำไปใช้ประโยชน์กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.องค์ความรู้เรื่องการศึกษาภาพสตรีทอาร์ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ

โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์,ดร.สีหนาท ลอบมณี,โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์,พินิจ มิชารี,ธีรวัฒน์ กันยาสาย,และ ภัคพล ทวี , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , โรงเรียนบ้านหนองขอน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ,คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

               การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสตรีทอาร์ตเพื่  อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของสตรีทอาร์ตเริ่มต้นในมลรัฐนิวยอร์ก เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคม การเมือง และ ความขัดแย้งที่ค่อนข้างมีความรุนแรง เรื่องราวใกล้ตัว กระแสสังคม เหตุการณ์สังคม การสร้างสรรค์ผลงานหลอมรวมเข้ากับ สภาพแวดล้อม สตรีทอาร์ตเพื่อพัฒนาพื้นที่ช่วยปรับปรุงพื้นที่ให้มีความสวยงามมากขึ้น เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับพื้นที่ รกร้าง สตรีทอาร์ตเพื่อการท่องเที่ยวช่วยอนุรักษ์เรื่องราวและวิถีชีวิตของชาวบ้านไว้ มีรูปแบบในลักษณะเหมือนจริงและแบบ 3 มิติที่เน้นเรื่องราวสะท้อนวิถีชีวิตผู้คน ซึ่งการนำเสนอผลงานหรือการสร้างผลงานบริเวณทางเท้า ขั้นบันได หรือกำแพงในแต่ ละพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบหนึ่ง สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีและความเป็นอยู่ ของชาวจังหวัดศรีสะเกษ ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละจุดได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของ ชาวศรีสะเกษที่สื่อสารเรื่องราวผ่านภาพสตรีทอาร์ต โดยเนื้อหาภาพสตรีทอาร์ตในจังหวัดศรีสะเกษแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ภาพบุคคลที่ควรเคารพบูชาคือหลวงปู่หมุน และรัชกาลที่ 9 2) รูปแบบของสตรีทอาร์ตที่ได้รับแนวความคิดที่สื่อถึงวิถี ชีวิตและความงดงามในความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนดินและสายน้ำใหญ่ที่ประกอบด้วยสัตว์บกสัตว์น้ำ และอัตลักษณ์ท้องถิ่นของ อำเภอบึงบูรพ์ ซึ่งพบที่ท่าน้ำวัดศรีบึงบูรพ์  3) สถานที่สำคัญและของดีจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งพบบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เกาะกลางน้ำ และกำแพงข้างโรงเรียนสตรีสิริเกศ เช่น ปราสาท ขอม ดอกลำดวน เกาะกลางน้ำ หอขวัญเมืองศรี ดอกลำดวน ป้ายจังหวัดที่สถานีรถไฟ ลวดลายแส่วผ้า กูปรี ผามออีแดง หอม กระเทียม ภาพสตรีชุดพื้นเมือง ภาพคนถือถังสีเพื่อสร้างสรรค์ภาพ ปั๊มน้ำมัน และ 4) ภาพสตรีทอาร์ตบริเวณวงเวียนสถานี รถไฟและวัดป่าพิมลมังคลาราม เป็นภาพแฟนตาซี เป็นภาพสัตว์หรือบุคคลในจินตนาการ โดยอิงตามรากฐานวัฒนธรรม คือ พลังแห่งหอมกระเทียม ผ้าพื้นเมือง ทุเรียนภูเขาไฟ ดอกลำดวน ผู้หญิง และซุปเปอร์ฮีโร่ รวมถึงภาพสิ่งแวดล้อมภายในวัด ทั้งนี้ความสำคัญของสตรีทอาร์ตในท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะ เกษได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ: สตรีทอาร์ต, ส่งเสริมการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม

 

2.องค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยด้านสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนบ้านปราสาท อําเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์ สาคร แก้วสมุทร์ ปิยวรรณ กันทอง นาฎอนงค์กร รุ้งแก้ว และสรศักดิ์ ปัญญาคม (2565).จาก รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ คณะพัฒนาสังคมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 2 กันยายน 2565.หน้า 17-34.

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนบ้านปราสาท อําเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา และจัดทําหลักสูตรท้องถิ่นคนสร้างปราสาทให้แก่ โรงเรียนบ้านปราสาท อําเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านปราสาทมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เห็นได้จากโครงกระดูก มนุษย์โบราณ ปราสาทบ้านโนนธาตุ  มีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมายที่ใช้เพื่อการดํารงชีพและ สร้างสรรค์วัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาการรําพระอินทร์ ทอผ้า ทํายาสมุนไพร ทําดอกไม้หมก และเครื่องประดับ นางอัปสรา มีการรับรู้ของชุมชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และตํานานมีความเชื่อมโยงกับตํานานเมืองศรีสะเกษที่ ปรากฏเป็นเรื่องเล่ามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพัฒนามาสู่หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งผลการจัดทําหลักสูตรท้องถิ่นสําหรับ นักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนบ้านปราสาท สามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการ เรียนรู้โรงเรียนของฉัน หน่วยการเรียนรู้ลักษณะหมู่บ้านของฉัน หน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีบ้าน ฉัน หน่วยการเรียนรู้ภูมิปัญญาบ้านฉัน และหน่วยการเรียนรู้ความภูมิใจในบ้านฉัน โดยเป้าหมายของการจัดทํา หลักสูตรนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชนของตนเอง อันจะนําไปสู่ความรักและหวงแหนทรัพยากรทางวัฒนธรรมในชุมชน และการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สําหรับโรงเรียนต่างๆ ที่ได้ใช้ศึกษาเป็นแนวทางในการนําภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้บังเกิดผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม)

 

3.หนังสือ ศรีสะเกษแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ในอีสานประเทศของ สรรเพชญ ธรรมาธิกุล รวบรวม โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

ผลงานวิชาการเรื่องนี้กล่าวถึงความสำคัญของเทือกเขาพนมดงเร็กในฐานะพรมแดนทางธรรมชาติที่

เชื่อมโยง 2 วัฒนธรรมไทย - กัมพูชา ตั้งแต่ยุคบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างบ้านแปงเมืองในยุคเขมรก่อนเมืองพระนคร และเขมรสมัยเมืองพระนคร และบทบาทของกษัตริย์ และกษัตริยา ของเขมร ที่มีบทบาทและความเกี่ยวเนื่องกับแผ่นดินศรีสะเกษโบราณได้แก่ พระนางพิณสวรรค์ครามวตี พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระนางกัมพูชาราชลักษมี พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่สร้างรอยอารยธรรมและรอยบรรพชนมาสู่แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์แห่งอุษาคเนย์ที่มีนามว่า ศรีสะเกษแห่งนี้

 

4.หนังสืออัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวิถีวัฒนธรรมสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

ผลงานวิชาการเรื่องนี้กล่าวถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษในฐานะกลุ่มชาติ

พันธุ์พื้นถิ่นที่มีบทบาทในการสร้างบ้านแปงเมืองศรีสะเกษตั้งแต่ยุคอาณาจักรฟูนัน เจนละ เขมรก่อนเมืองพระนคร เขมรสมัยเมืองพระนคร จนถึงการล่มสลายของอารยธรรมขอม ล่วงเข้าสู่ยุคการสถาปนาเมืองขุขันธ์และศรีสะเกษในสมัยรัตนโกสินทร์ ดังกล่าวถูกถ่ายทอดผ่านชุดการแสดงแสงสีเสียง ตำนานอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวรใน 3 ภาค คือ ภาค 1 ตำนานอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวร ภาค 2 ตำนานอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวร ตอน สืบราชมรรคา ศรีชยราชา ชัยวรมันที่ 7 และภาค 3 ตำนานอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวร ตอน รอยบรรพชน ซึ่งมีการจัดการแสดงที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2561 เป็นต้นมา เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศรีสะเกษในสังคมไทยปัจจุบัน (บูรณาการการเรียนการสอนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วม)

 

5.หลวงพ่อพระพุทธมณีนพรัตน์ (พระไม้ทอง) : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองศรีสะเกษ โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์

วัดพันทาหรือวัดพานทา อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธมหามณีนพรัตน์ (พระไม้ทอง) พระพุทธรูปโบราณที่มีความสําคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาพบว่า ภายในสิม ที่สร้างขึ้นใหม่ของวัดพานทา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธมณีนพรัตน์ (พระไม้ทอง) พระพุทธรูปโบราณลงรักปิดทอง ปางมาร วิชัย ศิลปะล้านช้าง ฝีมือช่างพื้นบ้าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 23-24 หลวงพ่อพระพุทธมณีนพรัตน์ (พระไม้ทอง) เป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงและชาวศรีสะเกษอีกองค์หนึ่ง ปัจจุบัน วัดพานทาถือเป็นสถานที่สําคัญทางด้านพระพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ

คําสําคัญ: ชุมชนโบราณ ประวัติศาสตร์ พุทธศิลป์ วัดพานทา เมืองศรีสะเกษ

จาก :: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566. หน้า 2665-2672.

 

6.หลวงพ่อใหญ่ : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ.

ธันยพงศ์ สารรัตน์ จรัญชัย เสาเวียง ธีนพัฒน์ จันทร์สว่าง ภูธเนศ ศรีมงคล ปฏิพล แสนหยุด และ บดินทร์ มานะวงศ์. (2566). วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 10(1), 205-220. ISSN (Print): 2465-3683  ISSN (Online): 2730-3098. (TCI2)

บทความนี้ศึกษาความสําคัญของหลวงพ่อใหญ่ในฐานะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดจําปา อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า วัดจําปา หรือวัดจําปาบ้านหัวนา ตําบล หนองแก้ว อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูป โบราณที่มีความสําคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของชุมชนบ้านหัวนา โดยภายในโบสถ์ของวัด จําปาเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปโบราณเนื้อหินทรายทางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ฝีมือช่างพื้นบ้าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 23-24 แต่กลับมีการบันทึกข้อมูลว่ามี ลักษณะพุทธศิลป์เป็นแบบทวารวดีและมีอายุราว 1,400 ปี ซึ่งไม่น่าจะมีความเก่าแก่มากเพียงนั้น ถือ เป็นการบันทึกไว้อย่างคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีถือว่าหลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันวัดจําปาถือเป็นสถานที่สําคัญทางด้านพระพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ: หลวงพ่อใหญ่, พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, วัดจำปาหัวนา

นอกจากนี้ยังมีผลลัพธ์อื่นๆ เช่น ชุดการแสดง ตำนานอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตราศรีพฤทเธศวร ตอน รอยบรรพชน ที่ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธืทางวัฒนธรรมกับเพื่อนบ้าน การพัฒนาห้องนิทรรศการภายในอาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การจัดโครงการเรื่องผ้าเบญจศรี  การถ่ายทอดองค์ความร฿้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ  โครงการศิลป์รักษ์ป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เป็นต้น

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
2.4 - (1)
2.4 - (2)
2.4 - (3)
2.4 - (4)
2.4 - (5)
2.4 - (6)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5 คะแนน