ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ธันยพงศ์ สารรัตน์ , ชนาภัค มุลกะกุล , วันวิสา นัยเนตร , ตรัยเทพ ศรีสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

เกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง
หมายเหตุ

ต้องมีเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงการได้มา การค้นคว้าประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นระบบ
- เอกสารด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน

1.กลุ่มงานว่าด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้จังหวัดศรีสะเกษ

          1.องค์ความรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ ผู้รวบรวมและเรียบเรียงโดย  อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

         

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยว เนื่องจากยังคงยึดถือรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตบนฐานวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแระเพณีของกลุ่มชาติพันธ์ 4 เผ่าซึ่งเป็นอัตลักษณ์และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเข้มแข็งของกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นศรีสะเกษที่สั่งสมมาอย่างเหนียวแน่น

 

          2.องค์ความรู้ เรื่อง พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชบุพการี พระประยูรญาติและพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 10 
ที่มีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ ผู้รวบรวมและเรียบเรียงโดย  อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

         

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชบุพการี พระประยูรญาติและพระบรมวงศานุวงศ์อย่างยิ่ง ที่มีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ ทุกพระองค์เสด็จฯ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจที่ยังเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวศรีสะเกษอย่างต่อเนื่อง  ผลจาการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ทุกพระองค์เสด็จฯ มาประกอบ
พระราชกรณียกิจ ทำให้ชาวจังหวัดศรีสะเกษมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น จากจังหวัดศรีสะเกษที่แห้งแล้งกลายเป้นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ จากจังหวัดที่ห่างไกลความเจริญ ขาดการศึกษาประชาชนมีสุขภาพร่างการที่ไม่สมบูรณ์กลายเป็นจังหวัดที่ประชาชนมีความสุขไม่ต่างจากชาวไทยทั่วประเทศ เพราะพระราชดำรัส พระบรมราโชบาย พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระประยูรญาติ พระบรมราชบุพการี พระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จฯ มาพัฒนาจังหวัด
ศรีสะเกษตามโครงการพระราชดำริต่างๆ รวมถึงการประกอลพระราชกรณียกิจที่ส่งผลต่อการเปลี่บนแปลงทางสังคมของเมืองศรีสะเกษหลายประการ ปัจจุบันชาว
ศรีสะเกษได้เดินตามรอยพระราชดำริในกิจกรรมต่างๆของทุกพระองค์ โดยน้อมนำโครงการพระราชดำริต่างๆ ถ่ายทอดสู่ท้องถิ่น ผลที่เกิดขึ้นคือ ความสงบสุขสมบูรณ์ในชีวิตของพสกนิกรชาวศรีสะเกษ

 

 

          3.องค์ความรู้ เรื่อง คู่มือนำชมแหล่งเรียนรู้ ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาสนะ เชิดชู สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

          เพื่อพัฒนาบุคลากรของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สามารถให้บริการความรู้ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมได้รับความประทับใจในการบริการและความรู้ ด้วยสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการศึกษา มีพันธกิจการ
อนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปและวัฒนธรรมและพัฒนาภาษาให้กับนักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยจัดกิจกรรมทางด้านภาษาและศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนพันธกิจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม จึงเห็นควรจะมีการสร้างวิทยากรรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลกรของหน่วยงาน ตลอดจนนักศึกษามาให้เป็นวิทยากรนำชมได้ เพื่อที่จะสามารถให้บริการผู้มาเยี่ยมชมได้อย่างเต็มที่และสร้างความประทับใจในการให้บริการของแหล่งเรียนรู้

 

          4.องค์ความรู้ เรื่อง  ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้รวบรวมและเรียบเรียงโดย  อาจารย์ ดร.ชูวิทย์ นาเพีย และอาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

          จากนโยบายแห่งรัฐในการจะส่งเสริมการศึกษาทุกระดับให้เจริญก้าวหน้า และลดความเหลื่อมล้ำโอกาสในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของชุมชนท้องถิ่น
โดยการกระจายการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาคเฉพาะจังหวัดที่มีประชากรมากและยังไม่มีสถาบันอุดุมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จุดกำเนิดของการจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ คือ หนังสือจาก นายบุญชง วีสมหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ(ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2537) เรื่องขอจัดตั้งสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ในความสำคัญในหนังสือบางส่วน “...กระผมต้องการให้ประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษได้ใช้บริการสถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็น
ที่ถ่ายทอดความรู้ในระดับที่สูงขึ้นจะได้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่างๆ ของจังหวัดต่อไป...จึงเห็นว่าจังหวัดศรีสะเกษน่าจะมีสถาบันราชภัฏ จัดตั้งที่จังหวัดศรีสะเกษด้วยแห่งนี้ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์และประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษในอนาคตต่อไป...”พร้อมทั้งระบุความพร้อมและความเหมาะสมในด้านสถานที่ตั้งคือ บริเวณที่สาธารณประโยชน์โนนบักบ้าและจุดเริ่มต้นการก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษอย่างเป็นทางการคือ หนังสือจาก นายบุญชง วีสมหมาย ถึงอธิบดีกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

2.กลุ่มงานวิจัยจากโครงการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

                5.องค์ความรู้ เรื่องสภาพความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม จาก “เรื่องเล่า” ของคนในชุมชนบ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ.
ใน ศุภกานต์ พงศ์ยี่หล้า (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 9 มิถุนายน 2564 (น 366-385). คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.(รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ) โดย อาจารย์ธัญยพงศ์ สารรัตน์ คณะครุศาสตร์

https://drive.google.com/drive/folders/1nQoo6Rr1dG3fX8zeuF1we5qGvkaTm_Tm

 

          จากเรื่องเล่าประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนบ้านละทายหมู่ 1-9 อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็น มวลประสบการณ์ของผู้คนในชุมชนในบริบทที่แตกต่างอันได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ พื้นที่ ความหลากหลายทาง ธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมที่หลากหลายในชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละ ช่วงเวลานับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งคนในชุมชนรื้อฟื้นความทรงจำที่แต่ละคนได้ยินได้ฟังมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ บรรพชนใน ชุมชนเล่าสู่กันฟังและถ่ายทอดสืบเนื่องต่อกันมา นับเป็นส่วนหนึ่งของ 1) แนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มองจากเบื้อง ล่างสู่บนอย่างเป็นพัฒนาการ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง (ธิดา สาระยา, 2540) 368 โดยเรื่องเล่าจากคนในชุมชน ทั้งที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมุขปาฐะ ทำให้ทราบความรู้ และพัฒนาการ ของสังคมบ้านเมือง
ซึ่งประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ (ศรีศักร วัลลิโภดม และ นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2549 ; ดารา รัตน์ เมตตาริกานนท์, 2547) ทั้งนี้2) แนวคิดเรื่องเล่าที่สร้างวิถีชีวิตชุมชนและผูกโยงผู้คนเข้าด้วยกันไม่เพียงแต่จะผูก โยงในทางพื้นที่เท่านั้น แต่ยังผูกโยงกันทางความคิด ความเชื่อ และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นให้เกิดการสืบทอดและขยาย ต่อ
(นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ, 2540) นอกจากนี้บทบาทของเรื่องเล่าในวิถีชุมชนยังเป็นการแสดงตัวตนทาง วัฒนธรรม อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และการสร้างพื้นที่ทางสังคม ซึ่งเชื่อมโยงกับ 3) แนวคิดความหลากหลายทาง ชีวภาพและวัฒนธรรมที่สะท้อนสภาพของชุมชนได้เป็นอย่างดี ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุค สมัยใหม่นี้ด้วยเช่นกัน ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่ชุมชนของ ตนเอง (ปฐม หงส์สุวรรณ, 2557 ; พิเชฐ แสงทอง, 2559) จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้นพบว่าเรื่องเล่าของ ชุมชนละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่มี การเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการขยายตัวของชุมชนละทายจากอดีตถึงปัจจุบัน

          บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงสภาพความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมจากเรื่องเล่าใน ชุมชนละทายจากเอกสารประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์คนในชุมชนบ้านละทายจำนวน 9 ชุมชน โดยใช้แนวคิด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แนวคิดเรื่องเล่า และแนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ที่สร้างวิถีชีวิตชุมชน และผูกโยงผู้คนไว้ด้วยกัน อันจะนำมาซึ่งการเกิดเรื่องเล่าที่หลากหลายโดยการสอบถามปราชญ์พื้นบ้านที่ทีความรู้ และได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น
ซึ่งการศึกษาในประเด็นนี้ผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะมีส่วนที่ทำให้ชุมชนบ้านละทายมี สำนึกร่วมและมีอุดมการณ์ร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ ฉะนั้นเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในมิติความหลากหลายทาง ชีวภาพและวัฒนธรรมที่ค่อนข้างเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ สร้างพลังชุมชนให้มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งเมื่อสอบถามชาวบ้านส่วนใหญ่จะรู้สึกเสียดายข้อมูล เหล่านี้มาก เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก จึงต้องการทำเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้สำหรับผู้สนใจ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการวิจัยเพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนลาวละทายเพื่อให้เป็น ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน และท้ายนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าหากจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องนำข้อมูลที่ได้มา จัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อต่อยอดต่อไป

 

          6.องค์ความรู้ เรื่อง กระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนลาวละทายรอบวัดโพธิ์ ศรีละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน ภารดี มหาขันธ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.วันที่ 17-18 มิถุนายน 2564 (น 1-20). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ) โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ คณะครุศาสตร์ https://drive.google.com/drive/folders/1daEIBLkvmf8kHeNcLyTmH5MTKjF7qe33

 

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนลาวละทายรอบวัดโพธิ์ศรีละทาย อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) กระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) ศึกษา ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการสุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยเทคนิควิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ปราชญ์พื้นบ้าน ผู้นําชุมชน และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนลาวละทายมีภูมิปัญญาที่ สําคัญคือ การสานกระติบข้าว การทําไม้กวาด การทอผ้าสไบ กางเกง หน้ากากอนามัย การทําแกงปลาย่างใส่ขนุน การทําน้ำพริกข่าปลาย่าง ข้าวต้มหัวหงอก เครื่องดื่มสมุนไพร และการทําลวดลายบั้งไฟ ที่มีความสัมพันธ์กับบริบทเชิงพื้นที่ มีการสืบทอดและปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยกระบวนการเรียนรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นจากบรรพชน คนในครอบครัว และการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก และอาศัยกระบวนการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้งนี้เยาวชนในชุมชนที่สนใจเรียนรู้โดย การสังเกตหรือเลียนแบบประกอบด้วย กระบวนการใส่ใจ กระบวนการเก็บจํา การะบวนการกระทํา และ กระบวนการจูงใจ ผ่านการจัดศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหา ด้านผู้สืบทอด สถานที่การจัดการเรียนการสอน และรูปแบบและราคาผลิตภัณฑ์

 

            7.องค์ความรู้ เรื่อง การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำไข่เค็มภูเขาไฟของชุมชนตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน โกเมน  อรัญเวศ (บ.ก.), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วันที่ 17 ตุลาคม 2564 (น 897-908). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.(รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ) ) โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์, สุุจิรา คงวัน, นาฎอนงค์กร รุ้งแก้ว คณะครุศาสตร์

https://drive.google.com/drive/folders/1XzlqAUtNGndCEQoIkVZAq0QaNxoxAeP0

 

          บทความนี้ศึกษาการมีส่วนรวมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านการทําไข่เค็มภูเขาไฟในตําบลโนนสูง อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านการทําไข่เค็มภูเขาไฟ และ 2) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านการทําไข่เค็ม ภูเขาไฟของชุมชนตําบลโนนสูง อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า 1) การถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านการทําไข่เค็มภูเขาไฟ พบว่า มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
การถ่ายทอดภายในกลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ และการถ่ายทอดโดยจัดในรูปของแหล่งเรียนรู้ โดยวิธีการบรรยายสาธิตและลงมือปฏิบัติจริง เน้นประเด็นการเตรียมวัตถุดิบ
และกระบวนการผลิต มีเป้าหมายของการถ่ายทอดเพื่อพัฒนาสืบทอด และอนุรักษ์ความเป็นอัตลักษณ์ (ของไข่เค็มภูเขาไฟศรีสะเกษ) และ 2) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านการทําไข่เค็มภูเขาไฟ พบว่า การมีส่วนรวมแบ่งเป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ การมีส่วนร่วมจากภาครัฐการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งลักษณะการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนนั้นๆ
แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การสืบทอดและอนุรักษ์ความเป็นอัตลักษณ์ของไข่เค็มภูเขาไฟศรีสะเกษ

 
หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
2.4 - (1)
2.4 - (2)
2.4 - (3)
2.4 - (4)
2.4 - (5)
2.4 - (6)
2.4 - (7)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5 คะแนน