ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : นงนุช แสงพฤกษ์ , พัณณิตา นันทะกาล , อนันศักดิ์ พวงอก , ทิวาพร ใจก้อน , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , พรเทพ เจิมขุนทด
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัย การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ จากการเปรียบเทียบจำนวนงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมของอาจารย์ประจำที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัย โดยได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน

การแปลงค่าคะแนนร้อยละของจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมต่อจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดของคณะ คิดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

ผลรวมของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดในปีที่ประเมินฯ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ของคณะ ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นับจำนวนชิ้นงานของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในปีที่ประเมิน
2. งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน อาจนับคะแนนซ้ำได้ในกรณีต่างชุมชนในปีที่รับการประเมิน กรณีที่มีการนำไปใช้ประโยชน์แต่ละชุมชน ต้องมีหลักฐานการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
3. สำหรับงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่เคยถูกนำไปใช้ประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในการประเมินในปีถัดไปได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม

ผลการดำเนินงาน

คณะมีผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ของชุมชน สามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน และได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากชุมชน ดังนี้

1. แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเข้มแข็งคู่ขนานโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามชายแดนไทย-กัมพูชา
2. กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0
3. แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

                                                        3
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
                                                        10

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ =                                                                        30
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
                                                                       30

 

คะแนนที่ได้ = 5 คะแนน
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5