ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , พัณณิตา นันทะกาล , นลินี อำพินธ์ , นงนุช แสงพฤกษ์ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัย การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ จากการเปรียบเทียบจำนวนงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมของอาจารย์ประจำที่นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัย โดยได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน

การแปลงค่าคะแนนร้อยละของจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมต่อจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดของคณะ คิดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

ผลรวมของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดในปีที่ประเมินฯ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ของคณะ ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นับจำนวนชิ้นงานของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในปีที่ประเมิน
2. งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน อาจนับคะแนนซ้ำได้ในกรณีต่างชุมชนในปีที่รับการประเมิน กรณีที่มีการนำไปใช้ประโยชน์แต่ละชุมชน ต้องมีหลักฐานการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
3. สำหรับงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่เคยถูกนำไปใช้ประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในการประเมินในปีถัดไปได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม
4. บุคคลที่สามารถรับรองการนำไปใช้ประโยชน์ได้ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับตัวบ่งชี้ที่ 1.8
5. คำอธิบายของสูตรคำนวณ
    ตัวตั้ง หมายถึง ผลรวมของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ที่ใช้ประโยชน์ในปีที่ประเมิน
    ตัวหาร หมายถึง จำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดในปีที่ประเมิน (งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในปีที่ประเมินเท่านั้น โดยมีสัญญาการรับทุนสนับสนุนการวิจัย และห้ามนับซ้ำ)

ผลการดำเนินงาน

คณะมีผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ของชุมชน สามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน และได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากชุมชน ดังนี้

ชื่องานวิจัย

การนำไปใช้ประโยชน์

กลุ่มผู้รับผลประโยชน์

1. การพัฒนาเครื่องคัดมะม่วงและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาธุรกิจส่งออกมะม่วงไปประเทศเวียดนามและประเทศจีนเพื่อกระจายความเจริญและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น ด้วยความรู้และนวัตกรรม : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย อาจารย์สิทธิชัย บวชไธสง

กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงบ้านปรือคันตะวันออกได้นำเครื่องคัดมะม่วงเพื่อใช้ในการคัดมะม่วง ซึ่งสามารถคัดแยกขนาดของมะม่วงเพื่อส่งออกขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาที่ต้องใช้กำลังคน ทำให้สะดวก รวดเร็วและแม่นยำ

กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงบ้านปรือคันตะวันออก

2. การสร้างต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานทรัพยากรและภูมิสังคมเพื่อส่งเสริมธุรกิจใหม่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

 

โดย ผศ.ดร.กิจติพงษ์ ประชาชิต

นำผลงานวิจัยใจไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย โดยกำหนดให้เป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมให้มีของที่ระลึกประจำจังหวัดศรีสะเกษโดยมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริม   การขาย

จังหวัดศรีสะเกษ

3. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลผลิตจากปลาบ้านจอมพระ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัด           ศรีสะเกษ

 

โดย อาจารย์รัตตัญญู ศิลาบุตร

ชุมชนบ้านจอมพระได้ตราสัญลักษณ์สินค้าปลาส้มบ้านจอมพระ เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการได้ใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

เทศบาลอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 

การสร้างข้อมูลภาษาจีน เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย “ต้นตราวจู” ชุมชนกันทรอม

 

โดย อาจารย์วิภาวดี ทวี

วิสาหกิจชุมชนบ้านกันทรามใต้ มีตราสัญลักษณ์สำหรับเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

วิสาหกิจชุมชนบ้านกันทรามใต้

การพัฒนาอาชีพชุมชนชายแดนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้อย่างยั่งยืน

 

โดย ผศ เสถียร สีชื่น

รูปแบบการพัฒนาอาชีพต้นแบบของชุมชนที่สามารถต่อยอดกลุ่ม และสร้างอาชีพได้อย่างมั่นคง

ประธานวิสาหกิจข้าวเกรียบรสดีบ้านโนนเกตุ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

6. การสื่อสารเชิงสุนทรีภาพของสัญรูปนาคในวัดศรีบึงบูรพ์

 

โดย ผศ.ดร.กฤษณ์ คำนนท์

การสืบทอดด้านความคิด ความเชื่อและวัฒนธรรมทางด้านการสื่อสารผ่านสถาปัตยกรรม นาค ภายในวัดศรีบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

บ้านโนนสวย หมู่ที่ 4 อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

สูตรการคำนวณ

1.  คำนวณค่าร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

=

ผลงานงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

X 100

จำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดในปีที่ประเมิน ฯ

 

 =

6

x 100

=  ร้อยละ 33.33

18

 

 

2.  แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

    คะแนน  =

ร้อยละของจำนวนชิ้นงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

  X 5

งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

 

คะแนน  =

33.33

 X 5

=   5 คะแนน

30

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
ร้อยละ 33.33 5