ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , เชิดศักดิ์ ฉายถวิล , ชนาภัค มุลกะกุล , ภิญญาภัทฎ์ ใสกระจ่าง , กิตติพงศ์ สอนเจริญ , อนุชิต ผู้มีสัตย์ , สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ธันยพงศ์ สารรัตน์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบัน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
6 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่
7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบันตามมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในมาตรฐานด้านที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กล่าวคือ มีการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นำไปสู่การสืบสาน การสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบัน ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสร้างโอกาสและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามจุดเน้นของสถาบัน  โดยมีการกำหนดขั้นตอนดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2565 (2.3 - 1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงประจำสถาบันฯ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และเรียนแจ้งทุกหน่วยงานในการกำหนดผู้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำกับดูแลและดำเนินงานด้านทำนุบำรุงบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ 1 ท่าน และผู้ช่วยผู้อำนวยการ 1 ท่านที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กล่าวคือ 1.รองผู้อำนวยการฯ ทำหน้าที่กำกับดูแลติดตามงานบริหารงานทั่วไป เช่น งานพัสดุ งานสารบรรณ งานแผนพัฒนาฯ งานงบประมาณ งานบุคลากร งานประกันคุณภาพ งานอาคารสถานที่ รวมถึงงานส่งเสริมเผยแพร่ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง งานชมรมนักศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม และโควต้านักศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม และงานส่งเสริมเผยแพร่ศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ส่วนผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านฐานข้อมูลและประกันคุณภาพ มีหน้าที่กำกับดูแลด้านงานประกันคุณภาพ มีหน้าที่กำกับดูแลติดตามงานอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ดูแลติดตามงานค้นคว้าองค์ความรู้และวิจัย งานบริการวิชาการ งานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว งานเครือข่ายวัฒนธรรม และงานศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมมีชีวิต  นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าสำนักงาน และหัวหน้าพันธกิจต่างๆ เช่น งานบริหารความเสี่ยง งานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มีหน้าที่พิจารณางบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่มีการบูรณาการร่วมกัน วางแผนการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธํรรม และกำกับ ติดตาม รายงานผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (2.3 - 1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์

3. มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมอนุรักษ์เผยแพร่ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (2.3 - 1(3))  โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งถือเป็นการร่วมงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 

4. เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม  ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ สืบทอด ในด้านต่างๆให้คงอยู่สืบไป 

6. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและความเป็นไทย (2.3 - 1(4))  เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน

2จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

มหาวิทยาลัยศรีสะเกษ โดยสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในปีการศึกษา 2565 และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้

1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่...

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์...

ตัวชี้วัด...

1. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(2)) โดยมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ(4.1 - 2(1))  มากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนระยะ 1 ปี (4.1-2(3)) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนโดยเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบันฯ โดยการวิเคราะห์หา SWOT และดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และมีการกำกับติดตามจากการประชุมประจำเดือนในแต่ละเดือนที่จัดกิจกรรมนั้นๆ

2. มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่พอเพียง เหมาะสม สามารถดำเนินงานตามแผนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้สถาบันภาษา สิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 ร่วมกับส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 613,000 บาท (4.1-2(4)) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ จำนวน 5 โครงการ  (ระบุแยกว่า งบประมาณแผ่นดินกี่โครงการ อะไรบ้าง และงบประมาณเงินรายได้ จำนวน 6 โครงการ (กี่คณะ)  ดังนี้ (ระบุชื่อโครงการไปเลย และระบุว่า แต่ละโครงการได้เงินกี่บาท)

    2.1 โครงการบริหารจัดการงานศิลปะและวัฒนธรรม
    2.2 โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
    2.3 โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม
    2.4โครงการบริการวิชาการในมิติศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    2.5 โครงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ

 

3มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัย มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้

เขียนให้สัมพันธ์กับโครงการใหญ่ โครงการย่อย

ที่

เรื่อง

การบูรณาการ

1

สรุปโครงการ : กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ “เพ้นท์สี ละเลงศิลป์ บนผืนผ้า” โครงการการบูรณาการ

องค์ความรู้ในมิติศิลปะและวัฒนธรรม เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติป่าต้นน้ําตามศาสตร์พระราชา

ค่ายศิลป์รักษ์ป่า“ราชภัฏ”ปลูกป่าในใจคน รุ่นที่ 2 วันที่ 2 มิถุนายน 2565

ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (2.2 - 3(1))

บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ  โดยมีการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา ทำให้นักศึกษาและเยาวชนมีชิ้นงานและผลงานภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมมาจัดแสดงในงานสำคัญต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมการอบรมพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมและการจัดแสดงผลงานทางทัศนศิลป์ โปรแกรมสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ มุ่งเน้นในการอบรมพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมและการแสดงผลงานทางทัศนศิลป์ในการดำเนินกิจกรรมการอบรมการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา โดยมีวิทยากรเป็นคณาจารยืประจำสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสดงผลงานทางทัศนศิลป์มาถ่ายทอดและให้ความรู้ตลอดระยะเวลาการอบรม ทั้งนี้ ได้มีการฝึกการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การนำเสนอการจัดแสดงผลงาน การเตรียมผลงานให้มีความพร้อมในการนำผลงานไปจัดแสดงนิทรรศการ การปรับและประยุกต์ใช้สิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนต่อไป  และได้นำนักศึกษามาจัดแสดงผลงานทางทัศนศิลป์ โดยมีการบูรณาการในงานครบรอบ 2 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ                                                                                                                                                                                        

2

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมราชมรรคา (2.2 - 3(2)) 

บูรณาการกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญมาให้ความรู้กับเครือข่ายพระสงฆ์ภายในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งการบูรณาการดังกล่าวนำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมให้เกิดคุณค่าและก่อมูลค่าให้แก่ชุมชนท้องถิ่นด้วย โดยมีการบูรณาการกับงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวงิชาพุทธประวัติและคำสอนพระพุทธเจ้า โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาเข้าร่วม 60 คน

 

โครงการวันคล้ายวันก่อตั้งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม(สภศ.) ครบรอบ 2 ปี

"สองปีทำ นำฮอยศิลป์ ม่วนถิ่นเดิน เพลินภาษา"

วันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 (2.2 - 3(3) )

เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ทั้ง 3 ศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ศิลปะการแสดง และศิลปะการออกแบบ มีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการตอบปัญหาและกิจกรรมการจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ต่อหน้าสาธารณชนเพื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อไป

 

4กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน

       มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีกองนโยบายและแผนได้กำหนดให้มีกรอบการรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2566 และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้

ในปีการศึกษา 2565 สถาบันภาษา สิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินการกำกับติดตามการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเช่น

1.โครงการขนมตระกูลทอง ซึ่งเป็นกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพชุมชน บูรณาการยกระดับการท่องเที่ยวด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความรู้ความเข้าใจในการสร้างอาชีพและสามารถพัฒนาสินค้าจากชุมชนได้ และส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนเผยแพร่ในช่องทางตลาดออนไลน์ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

2.

3.

ตลอดจนสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารเป็นประจำทุกเดือนเพื่อติดตามการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่่างๆ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และมีการประชุมคระกรรมการประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน โดยให้หน่วยงานจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รอบ 12 เดือน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบ 9 เดือน เพื่อรายงานมหาวิทยาลัยให้ทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลของการกำกับติดตามเป็นประจำทำให้การดำเนินภารกิจเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยสถาบันภาษา สิลปะและวัฒนธรรม มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่...

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

ตัวชี่้วัด

ผลการดำเนินงาน....บรรลุ/ไม่บรรลุ

สรุปผลการประเมินผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน....ตัวชี้วัด บรรลุค่าเป้าหมาย...ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ....และแผนยุทธศาสตร์สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีทั้งหมด...ตัวชี้วัด มีตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมายจำนวน...ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ...และมี...ตัวชี้วัด ที่ไม่บรรลุเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ...

 

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 / 2566 วันที่ 13 มกราคม 2566  (2.3 - 4(1)) 

2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระดับสถาบัน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 (2.3 - 4(2))  เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยทางมหาวิทยาลัยมอบผู้รับผิดชอบกำกับติดตาม คือ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำกับติดตามติดตามผลโดยหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
    1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
    1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

3.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำกับติดตามให้มีการดำเนินการไปตามประจำทุกไตรมาส  (2.3 - 4(3)) 

 

4. มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในวาระเสนอให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้ 2.3 - 4(4) 

ครั้งที่ 5/2565  เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565

ครั้งที่ 6/2565  เมื่อวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565

ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565

ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565

ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565

ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566

ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566

5.มีการจัดทำรายงานความสำเจ็ของแผน.....แผน คิดเป็นร้อยละ....

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ

ปรากฏข้อเสนอแนะดังนี้......บรรลุ ...โครงการ คิดเป็นร้อยละ... ไม่บรรลุ...โครงการ คิดเป็นร้อยละ...

5นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการประเมินผลการดำเนินงานตามตั้วชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการประจำปี และรายงานผลต่อผู้บริหารและคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา สิลปะและวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีข้อเสนอแนะ....ข้อ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงการดำเนินงานในแผนงานให้เกิดความเหมาะสมต่อภารกิจของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อกำหนดประเด็นการดำเนินงานในโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเพือ่การพัฒนาท้องถิ่น และในโครงการหลักเพื่อการส่งเสริมและยกระดับงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการภายใต้งบยุทธศาสตร์ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมจำนวน.....โครงการ.....กิจกรรม

 

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ

ประเด็นที่ทบทวน (ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์)

ผลการพิจารณาทบทวน (จากเดิม...ปรับเป็น....)

ทั้งนี้ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม  เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการประชุมพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านทำนุบำรุงสิลปะและวัฒนธรรมให้กับคณะ และได้มีแนวนโยบายในการจัดทำโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 คระละ 1 โครงการ/กิจกรรม โดยกำหนดให้ให้โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวข้องกับงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามศาสตร์ของแต่ละคณะรวม 6 โครงการ...กิจกรรม

 ได้มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เช่น

1.ข้อเสนอแนะ ให้ลดขั้นตอนการจัดกิจกรรมถวายราชสดุดี

 การปรับปรุงกิจกรรม ขั้นตอนของพิธีการต่างๆ ให้มีความกระชับ และเรียบร้อย สง่างามมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการประเมินความสำเร็จโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา มีข้อเสนอแนะในกิจกรรมพิธีเฉลิมพระเกียรติที่มีพิธีสงฆ์ด้านในอาคาร และจะต้องเคลื่อนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาร่วมทำบุญตักบาตรด้านนอกอาคาร จากนั้นต้องเคลื่อนเข้าในหอประชุมอีกครั้งเพื่อประกอบพิธีถวายราชสดุดี ทำให้เกิดความล่าช้า และไมเรียบร้อย ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีการจัดพิธีสงฆ์ด้านนอกให้เรียบร้อยแล้วจึงเข้าไปด้านในอาคารหอประชุมเพื่อจัดพิธีถวายราชสดุดี

ผลจากการปรับปรุง คือ ขั้นตอนกระชับ สง่างาม สมพระเกียรติ โดยมีการประชุมชี้แจงให้ผู้รับผิดชอบได้ทราบปัญหา และวิธีดำเนินงานให้สนองวัตถุประสงค์การจัดงานมากขึ้น

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมีการจัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนกลยุทธ์สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ระยะ 5 ปี  (พ.ศ.2566 -2570)  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 15-16  ธันวาคม  2565 ณ ยูอาร์แคมป์ปิ้งสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี   เพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ จากบุคลากรภายในสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม  ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานร่วมกัน โดยมุ่งสู่เป้าหมายและบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยโดยรวม เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย  และเพื่อนำแผนปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  (2.3 - 5(1)) (2.3 - 5(2))

-มีการเพิ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับการให้บริการและเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งกำหนดโครงการพัฒนายุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ข้อเสนอแนะ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการในโครงการต่างๆ ได้อย่างสะดวก แต่การดำเนินโครงการต้องมีต่อเนื่อง

การปรับปรุง ทำให้จึงต้องการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ Online ผสมผสานกับรูปแบบ Onside (ไม่ให้เกินจำนวนคนตามนโยบายภาครัฐ) โดยอาจแบ่งเป็นกิจกรรมย่อยๆ หรือเพิ่มจำนวนวันในการจัดกิจกรรม หรือแบ่งกลุ่มประชากรในการร่วมกิจกรรมเป็นหลายกลุ่มในหลายสถานที่ เพื่อรักษาระยะห่างในการจัดกิจกรรม เป็นต้น

ผลจากการปรับปรุง การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนในระยะเวลาที่กำหนด

6มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบหรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ ดังนี้ มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) (4.1 - 7(1)) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชน ได้แก่
    1. หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาชุมชนเยอบ้านโพนค้อ) เป็นแหล่งเรียนรู้ในกลุ่มวัฒนธรรมเยอ เป็นพื้นที่ในการศึกษาดูงานและสืบค้นงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อหลวงปู่มุม มีความสำคัญในฐานะวัดที่ ร.9 เสด็จถวายผ้าพระกฐินต้น และวัฒนธรรมการทำกระดุมเม้ดเงิน ตีนซิ่น เป็นต้น มีการมอบโล่ห์รางวัลให้ปราชญ์ท้องถิ่นจากสถาบันภาษาฯ และป้ายชุมชนต้นแบบ

    2. หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งเรียนรู้ในกลุ่มวัฒนธรรมลาว เป็นพื้นที่ในการศึกษาดูงานและสืบค้นงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีความโดดดเด่นในเรื่องการเขียนลายบั้งไฟ และฟ้อนกลองตุ้ม มีการมอบโล่ห์รางวัลให้ปราชญ์ท้องถิ่นจากสถาบันภาษาฯ และป้ายชุมชนต้นแบบ
    3. หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งเรียนรู้ในกลุ่มวัฒนธรรมเขมร เป็นพื้นที่ในการศึกษาดูงานและสืบค้นงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีชุดความรู้เรื่องแซนโฎนตา พิธีกรรมบำบัดโรค และหลวงพ่อตาตน มีการมอบโล่ห์รางวัลให้ปราชญ์ท้องถิ่นจากสถาบันภาษาฯ และป้ายชุมชนต้นแบบ
    4. หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาชุมชนส่วยบ้านเมืองจันทร์) เป็นแหล่งเรียนรู้ในกลุ่มวัฒนธรรมเขมร เป็นพื้นที่ในการศึกษาดูงานและสืบค้นงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีชุดความรู้เรื่องรำพระอินทร์ พิธีกรรมบำบัดโรค พระเจ้าพืด และดอกไม้หมก มีการมอบโล่ห์รางวัลให้ปราชญ์ท้องถิ่นจากสถาบันภาษาฯ และป้ายชุมชนต้นแบบ

2.แหล่งเรียนรู้ภายในอาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม

และยังมีการสร้างแหล่งเรียนรู้จัดทำห้องนิทรรศการ เช่น ห้องเสวยราชสมบัติกษัตรา ห้องร้อยภาพพันเรื่อง ห้องศูนย์ศรีสะเกษศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา ห้องประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ ห้องประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ห้องวัฒนธรรม 4 เผ่า ห้องคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน  เป็นต้น ซึ่งให้ผู้ที่สนใจ นักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้ข้อมูลต่างๆ โดยมีผู้มาเรียนรู้มากมายทั้งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด รัฐมนตรี อ.ว. ผู้ว่าราชการจังหวัด โรงเรียนจากภาครัฐและเอกชน ถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียรรู้ที่คนภายนอกให้การยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของชุดความรู้

   - การพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการถาวร และเผยแพร่คู่มือนำชม/แผ่นพับ/หนังสือพระมหากรุณาธิคุณ/ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ/ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเอกสารวิจัยประกอบการชมห้องที่สื่อถึงความเป็นไทยอันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจต่อไป

- มีการมอบหนังสือสรุปโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในแต่ละปีให้แก่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศและสถานที่ราชการในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง

-มีการบูรณาการร่วมกับรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้กับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น

-มีการเข้าเยี่ยมชมจากผู้ที่สนใจจาก หน่วยงานภายนอก ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการ ศึกษาความรู้ เพิ่มเติม

3.การจัดทำสื่อการเรียนรู้แอพพลิเคชั่นนำชม

-มีการจัดทำวีดิทัศน์นำชมแหล่งเรียนรู้ภายในศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นสื่อออนไลน์เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์และผู้ที่สนใจทั่วไป               

7กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ดังนี้

มีการดำเนินงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเอกสาร ชุดความรู้ ทั้งฉบับตีพิมพ์และออนไลน์ ในเวทีการประชุมระดับชาติและวารสารระดับชาติ การแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติโดยมีการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง  ที่เป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัด ในการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2566 วันที่ 8-12 มีนาคม 2566 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ (2.3 - 7(1)) (2.3 - 7(2))  โดยมีการร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ วัด โรงเรียน ชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆเป็นอย่างดี  

 รวมถึงความร่วมมือกับทางจังหวัดในการจัดงาน 240 ปี ศรีสะเกษ (2.3 - 7(2)) (2.3 - 7(3)) ในการแสดงพิธีเปิด รำเฉลิมฉลอง 240 ปีศรีสะเกษ ๒๔๐ ปี ศรีสะเกษ  เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เกาะกลางน้ำ ห้วยน้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 

และการพัฒนาชุดการแสดง “วงผกาลำดวน” ที่เป็นมาตรฐานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษเพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วประเทศได้รับรู้ โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด ยอมรับว่าเป็นมาตรฐาน  

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกำหนดนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมกับภาคีเครือข่ายสภาศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยฯ

มีการจัดทำคู่มือนำชมแหล่งเรียนรู้ภายในอาคารศูนยืศิลปะและวัฒนธรรม มีการเผยแพร่ไปยังหน่วยงานส่วนราชการและสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียนในสังกัด อ.บ.จ.และ สพฐ ได้นำคู่มือนี้ไปประกอบการเรียนการสอนเรื่องแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการนำผู้คนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ต่อมา

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5 คะแนน