ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ธันยพงศ์ สารรัตน์ , ชนาภัค มุลกะกุล , วันวิสา นัยเนตร , ตรัยเทพ ศรีสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบัน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน
7 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่
8 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบันตามมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในมาตรฐานด้านที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย   กล่าวคือ มีการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นำไปสู่การสืบสาน การสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบัน ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสร้างโอกาสและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ  โดยมีการกำหนดขั้นตอนดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 (4.1-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงประจำสถาบันฯ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และเรียนแจ้งทุกหน่วยงานในการกำหนดผู้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์

3. มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมอนุรักษ์เผยแพร่ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (4.1-1(3)) โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งถือเป็นการร่วมงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 

4.มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าด้วยการสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สื่อการเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล ภาษา พัฒนาเว็บไซต์ ศิลปะและวัฒนธรรมและการประกันคุณภาพการศึกษา

5. เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม  2.3 - 1(6) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ สืบทอด ในด้านต่างๆให้คงอยู่สืบไป 

6. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(4)) เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน

2จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

มหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้

1. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(2)) โดยมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ(4.1 - 2(1))  มากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนระยะ 1 ปี (4.1-2(3)) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนโดยเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบันฯ โดยการวิเคราะห์หา SWOT และดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และมีการกำกับติดตามจากการประชุมประจำเดือนในแต่ละเดือนที่จัดกิจกรรมนั้นๆ

2. มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่พอเพียง เหมาะสม สามารถดำเนินงานตามแผนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ 2565 ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 676,000 บาท (4.1-2(4)) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้

    2.1 โครงการบริหารจัดการงานศิลปะและวัฒนธรรม
    2.2 โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
    2.3 โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม
    2.4โครงการบริการวิชาการในมิติศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    2.5 โครงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ

3มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัย มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 7 เรื่อง ดังนี้

 

ที่

เรื่อง

การบูรณาการ

หน่วยงาน

1

“ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” วันที่ ณ

4.1 - 3(1) 

บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ  โดยมีการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 5 คณะ

2

อบรมศาสนพิธี วันที่ ณ

บูรณาการกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญมาให้ความรู้กับนักศึกษาทุดคณะ

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 5 คณะ

3

บุญผะเหวดเทศมหาชาติ วันที่ ณ

บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำพระสงฆ์มาให้ความรู้คนในชุมชน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 5 คณะ

 

โครงการ เบิ่งศรีในศิลป์ แยงศิลป์ในศรี ครบรอบ 1 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันฯ วันที่ 1 มีนาคม 2565

บูรณาการกับการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาฝึกการนำชมแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น ไทย และอาเซียน ต่อผู้สนใจ

2

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย การปักแส่วผ้าลายโบราณ วันที่ ณ

4.1 - 3(2) 

บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญมาให้ความรู้คนในชุมชน

วิทยาลัยกฏหมายและการปกครอง

3

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า วันที่ ณ

4.1 - 3(3) 

บูรการร่วมกับหน่วยงานภายนอก และการบริการวิชาการร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและการตลาดออนไลน์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างกิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อเตรียมเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

4

โครงการการส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการย้อมผ้าบาติก ด้วยเทคนิคปั้มลาย สําหรับชุมชนท้องถิ่น วันที่ ณ

4.1 - 3(4) 

บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก การบริการวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้จากการบูรณาการจากการเรียนการสอนในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไปถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์วัสดุลวดลายชุมชนท้องถิ่นให้กับชุมชนท้องถิ่น

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

5

โครงการการส่งเสริมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์ลวดลายชุมชนท้องถิ่นวันที่ ณ

4.1 - 3(5) 

บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก การบริการวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้จากการบูรณาการจากการเรียนการสอนในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไปถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสกรีนเสื้อจากเอกลักษณ์วัสดุลวดลายชุมชนท้องถิ่นให้กับชุมชนท้องถิ่น

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

6

โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมวันที่ ณ

4.1 - 3(6) 

บูรณาการปัญหาที่ท้าทายในชุมชนรอบเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนกับชุมชนในลักษณะการอภิปรายเชิงเหตุและผลสะท้อนปัญหาชุมชน

ท้องถิ่นพร้อมร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาได้ผ่านกิจกรรมกลุ่มและสามารถสร้างนวัตกรรมชุมชน

คณะครุศาสตร์

7

ละครประวัติศาสตร์ไทย 2 เรื่อง และเสวนาวิชาการ (บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์

4.1 - 3(7) 

มีการบูรณาการร่วมกับรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา  โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจวิวัฒนาการของท้องถิ่นอีสานและศรีสะเกษในด้านต่างๆ ตั้งแต่อดีต

จนถึงปัจจุบันในเชิงวิวัฒนาการและบูรณาการ ตลอดจนตระหนักถึงความสําคัญของการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรม เช่น ตํานานและนิทาน โดยเน้นพลวัตของท้องถิ่น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของชุมชน เช่น จารีต ประเพณีของท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการดํารงอยู่ในสังคม และมีการเผยแพร่ในช่องยูทูป

สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์  โดย อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์

 

4กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีกองนโยบายและแผนได้กำหนดให้มีกรอบการรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน2565 (ไตรมาส 3) และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระดับสถาบัน ครั้งที่ ........... เมื่อวันที่   …………….. (4.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยทางมหาวิทยาลัยมอบผู้รับผิดชอบกำกับติดตาม คือ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำกับติดตามติดตามผลโดยหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
    1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
    1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2.

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำกับติดตามให้มีการดำเนินการไปตามประจำทุกไตรมาส ครั้งที่ ..................

 

3. มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ ……./2565 วันที่ …………………… วาระเพื่อโปรดทราบ 

5นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการ Action Plan ปีงบประมาณ 2564 โดยได้ตรวจการประเมินคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2563 แล้วนั้น คณะกรรมการตรวจประเมินได้ให้คำแนะนำในการดำเนินงานควรมีข้อแก้ไขปรับปรุงรายตัวบ่งชี้เพื่อให้หน่วยงานได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา Improvement Plan นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพในปีการศึกษาต่อไป รวมถึงการนำผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของแผนและข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมเมื่อครั้งเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักส่งเสริมฯ ในปีการศึกษา 2563 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน………………… ในการประชุมครั้งที่ ……………….. เมื่อวันที่ .......................เพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางการปรับปรุง ในปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ 

 

และได้มีการประชุม คณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564 ได้มีการจัดการประชุม ครั้งที่......................... เมื่อวันที่ ................................. โดยได้มีการประชุมดังนี้

เรื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ

                        3.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบฯ ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564

                        3.2 ปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2564

            3.3 รายงานผลการประกันประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2563

3.4 รายงานผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละหน่วยงาน

ระเบียบวาระที่ 4  เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

                        4.1 พิจารณารายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2563 และกำหนดแนวทางการปรับปรุง

6เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน

มหาวิทยาลัย มีการเผยแพร่กิจกรรม และการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังนี้

1. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Fanpage สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม , Facebook  สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ , และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 

2. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในวารสารสัมพันธ์ขาวทองของมหาวิทยาลัยในหน้าข่าว สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  และมีการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ จำนวน 278 หน่วยงาน

ประชาสัมพันธ์ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์หน้าห้อง และในลิฟท์ทุกอาคาร

3. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในรายงานประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

4.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการรายงานผลการดำเนินโครงการไปยังการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) เพื่อทราบการดำเนินในแต่ละไตรมาส

7มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่

มหาวิทยาลัย มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ ดังนี้
มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) (4.1 - 7(1)) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชน ได้แก่
    1. หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสุ่โครงการพัฒนาชุมชนเยอบ้านโพนค้อ)
    2. หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    3. หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  
    4. หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาชุมชนส่วยบ้านเมืองจันทร์)

   - การพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการถาวร และเผยแพร่คู่มือนำชม/หนังสือพระมหากรุณาธิคุณ/ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ/ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเอกสารวิจัยประกอบการชมห้องที่สื่อถึงความเป็นไทยอันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจต่อไป

  - มีการมอบหนังสือสรุปโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในแต่ละปีให้แก่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศและสถานที่ราชการในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง

-โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ MUSEUM POOL โดยบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

8กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ดังนี้

มีการดำเนินงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเอกสาร ชุดความรู้ ทั้งฉบับตีพิมพ์และออนไลน์ การแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติโดยมีการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง  ที่เป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัด ในการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2565  โดยมีการร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียน ชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

 รวมถึงความร่วมมือกับทางจังหวัดในการจัดงาน 239 ปี ศรีสะเกษ ซึ่งมีเผยแพร่ชุดการแสดงจิตลีลาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการแสดงศิลปวัฒนธรรมในพิธีเปิดและปิดกีฬา “ศรีสะเกษเกมส์” และ “นครลำดวนเกมส์” และการพัฒนาชุดการแสดง “วงผกาลำดวน” ที่เป็นมาตรฐานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษเพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วประเทศได้รับรู้ โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด ยอมรับว่าเป็นมาตรฐาน

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
8 5 คะแนน