ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , ปรารถนา มะลิไทย , อัจฉรา จันเทพา , ประจวบ จันทร์หมื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลงานทางวิชาการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่า สมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการ อยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว โดยมีวิธีการคิด ดังนี้

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 เกณฑ์แบ่งกลุ่มตามสาขาวิชาดังนี้
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
      ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
สรุปคะแนนที่ได้ในระดับคณะ

     คะแนนที่ได้ในระดับคณะ    =    ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ

กำหนดระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการดังนี้
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
- มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตร

0.40 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- มีการยื่นจดสิทธิบัตร
0.60 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ.
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
- มีการจดแจ้งลิขสิทธิ์
0.80 - ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ.
- ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
- ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
- ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการแต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
- ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
- ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ได้แก่
    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ

    ผลงานวิชาการรับใช้สังคม

    กรณีศึกษา

    ตำราหรือหนังสือหรืองานแปล

    ซอฟต์แวร์

    พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน

หมายเหตุ
1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และ เมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
2. ผลงานทางวิชาการทั้งหมดจะต้องได้รับการเผยแพร่ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กำหนดระดับคุณภาพผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ หรือ ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 ผลงานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online
0.40 ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน
0.60 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ
0.80 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ
1.00 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ

ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบ ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

ค่าน้ำหนัก

จำนวน

จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ)

0.0

22

จำนวนอาจารย์ประจำที่ลาศึกษาต่อ

0.0

0

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ

0.20

2

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่พิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2

0.60

1

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล ตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ กพอ./กกอ.ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกประกาศ (ซึ่งไม่อยู่ใน Beall’s list) หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1

0.80

1

- ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว

1.00

6

 

คำนวณ              =         (0.2x2)+(0.6)+(0.8 x1)+(1.00x6)             x 100
                               -----------------------------------------------

                                                   22

 

คะแนนที่ได้       =                       35.45                x 5   
                                         -------------- 
                                                22

 

การบรรลุเป้าหมาย      
    
ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง บรรลุเป้าหมายในตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมผลงานทางวิชาการของอาจารย์ให้มีการเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ 35.45 ค่าคะแนน 8.05 ซึ่งร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

 การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนที่ประเมินตนเอง

     กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

  ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  มีผลการดำเนินงานของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่  ร้อยละ  35.45

 

5

รายการหลักฐานอ้างอิง

ชื่อ-สกุล

ชื่อผลงาน/งานสร้างสรรค์

ประภทวารสาร

ค่าน้ำหนัก

1. ผศ.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส

บทความวิจัยเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ”

วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. ปีที่21(2) ; 79-88. (TCI 1)

0.80

2. ผศ.ปณัยกร บุญกอบ

1. บทความวิจัยเรื่อง “การกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

วารสารเอเชียพิจาร ปีที่ 6  ฉบับที่ 12

0.60

3. อ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น

1. นำเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง “เส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว พื้นที่จังหวัดนครพนมถึงจังหวัดอุบลราชธานี และแขวงคำม่วนถึงจำปาสัก”

ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา ครั้งที่ 2

0.20

2. นำเสนอผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ระบบโลจีสติกส์การท่องเที่ยวไทล-ลาว ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร สะหวัน-เซโน และนครพนม-ท่าแขก”

ในการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อความยั่งยืน" ครั้งที่ 1

0.20

4. ผศ.ดร.เตชิต ศิรวงศ์เดชา

“ตำราวิชากฎหมายมหาชน” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 6/2562 (วันที่ 23 มิถุนายน 2560)

1.00

5. ผศ.ดร.อลงกต แผนสนิท

“ตำราระบบสารสนเทศเพื่อการงานการบริหารงานภาครัฐ” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 6/2562 (วันที่ 23 มิถุนายน 2560)

1.00

6. ผศ.ดร.วิชชุดา
วงษ์พานิชย์

“ตำราวิชานโยบายสาธารณะ” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 4/2563 (วันที่ 24 พฤษภาคม 2563)

1.00

7. ผศ.ทรณ์ สิทธิศักดิ์

“ตำรากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 4/2563 (วันที่ 24 พฤษภาคม 2563)

1.00

8. ผศ.สุเทวี  คงคูณ

“ตำราวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 6/2562 (วันที่ 23 มิถุนายน 2560)

1.00

9. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

“ตำราวิชาองค์การและการจัดการภาครัฐ” ผลงานทางวิชาการที่ผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ

โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุม
ครั้งที่ 4/2563 (วันที่ 24 พฤษภาคม 2563)

1.00

 

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
2.3 - (1)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5