ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา คือเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องจัดสรรเงินจากภายในสถาบันและที่ได้รับจากภายนอกสถาบันเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพตามสภาพแวดล้อมและจุดเน้นของสถาบัน
นอกจากนั้นเงินทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่คณะได้รับจากแหล่งทุนภายนอกสถาบันยังเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่แสดงถึงศักยภาพด้านการวิจัยของคณะ โดยเฉพาะคณะที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการวิจัย
โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนน ระหว่าง 0 – 5
จำแนกเป็น 3 กลุ่มสาขาวิชา
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน
1. คำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ | = | จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ จากภายในและภายนอก |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- | ||
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยภายในคณะทั้งหมด |
2. แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
คะแนนที่ได้ | = | จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ จากภายในและภายนอก |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 5 | ||
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 |
คะแนนที่ได้ในระดับคณะ = ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ
1. จำนวนอาจารย์และนักวิจัยให้นับตามปีการศึกษา และนับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ
2. ให้นับจำนวนเงินที่มีการลงนามในสัญญารับทุนในปีการศึกษาหรือปีงบประมาณหรือปีปฏิทินนั้นๆ ไม่ใช่จำนวนเงินที่เบิกจ่ายจริง กรณีที่งานวิจัยมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี ให้เฉลี่ยงบประมาณตามจำนวนปีที่ได้รับการพิจารณาจากงบประมาณทั้งหมด
3. กรณีที่มีหลักฐานการแบ่งสัดส่วนเงินสนับสนุนงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นหลักฐานจากแหล่งทุนหรือหลักฐานจากการตกลงร่วมกันของสถาบันที่ร่วมโครงการ ให้แบ่งสัดส่วนเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ กรณีที่ไม่มีหลักฐาน ให้แบ่งเงินตามสัดส่วนผู้ร่วมวิจัยของแต่ละคณะ
4. การนับจำนวนเงินสนับสนุนโครงการวิจัย สามารถนับเงินโครงการวิจัยสถาบันที่ได้ลงนามในสัญญารับทุนโดยอาจารย์ประจำ หรือนักวิจัย แต่ไม่สามารถนับเงินโครงการวิจัยสถาบันที่บุคลากรสายสนับสนุนที่ไม่ใช่นัก วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดอยู่ใน กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1. จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน 6,997,230 บาท
2. จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย 22 คน
แหล่งงบประมาณ |
จำนวนงบประมาณ (บาท) |
ประเภทงบประมาณ |
ทุนสนับสนุนวิจัยภายใน งบประมาณบำรุงการศึกษา |
140,000 |
งบประมาณภายใน |
เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายนอก |
1,302,030 |
งบประมาณภายนอก |
รวมงบประมาณทั้งสิ้น |
1,442,030 |
สูตรการคำนวณ
1. คำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย
|
|
1,442,030 |
|
|
22 |
2. แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
คะแนนที่ได้ =
|
|
65,546.81 |
X 5 |
|
5 |
ดังนั้น สรุปได้ว่าในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งจากภายในและภายนอก จำนวน 65,546.81 บาท/คน
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนที่ประเมินตนเอง |
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาท ขึ้นไปต่อคน |
ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง |
5 |
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
2.2 - (1) | ประกาศทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | |
2.2 - (2) | ทุนสนับสนุนงานวิจัย ภายใน | |
2.2 - (3) | ทุนสนับสนุนงานวิจัย ภายนอก |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
5 |