ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ระบบและกลไกการให้บริการของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เริงใจ เขียวอ่อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การให้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดสามารถสะท้อนได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพ สถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และท้ายที่สุด คุณภาพของห้องสมุดจะสะท้อนออกมาเป็นความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกการดําเนินงานการให้บริการของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2 มีการจัดกิจกรรมการให้บริการไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม
3 มีผลการประเมินความพึงพอใจของทุกกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 3.51 คะแนน
4 มีการรายงานผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการประจําหน่วยงานเพื่อรับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนา อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
5 นําผลการประเมินจากคณะกรรมการประจําหน่วยงานหรือผู้ใช้บริการมาปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกการดําเนินงานการให้บริการของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดแบ่งโครงสร้างสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบุในหน้าที่ 16)  (2.2–1(1))  ออกเป็น 5 งาน ดังนี้

1. งานบริหารงานทั่วไป เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านให้การสนับสนุนฝ่ายบริหารให้สามารถบริหารงานได้ในความรับผิดชอบ ด้านการบริหารทั่วไป โดยทําหน้าที่ประสานงานกับงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว

2. งานวิทยบริการ เป็นหน่วยงานดำเนินงานเกี่ยวกับ งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิคทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ งานวารสารและสิ่งพิมพ์ และการบริการและกิจกรรม

3. งานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นหน่วยงาน พัฒนาสื่อการศึกษา ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ ผลิตสื่อการเรียนออนไลน์ คิดค้นและสร้างนวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งและเผยแพร่สารสนเทศทางด้านฐานข้อมูล ออนไลน์ทั้ง E-Book และ E-Journal

4. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ งานพัฒนาซอฟต์แวร์และสื่อมัลติมีเดีย งานบริการฝึกอบรมและทดสอบทักษะดิจิทัล งานบริการฝึกงานจัดการบัญชีผู้ใช้งานอีเมล์ Google Apps for Education ของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย และงานพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ มีหน้าที่ พัฒนาเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัยฯ และเว็บไซต์ของหน่วยงาน ดูแลการใช้งาน แก้ไขปัญหา ให้คำปรึกษาการจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ

         5.งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ     การสื่อสาร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ งานพัฒนาระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร งานพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย และอินเตอร์เน็ต งานบริการคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการ งานวิชาการคอมพิวเตอร์ และดิจิทัล รวมทั้งงานศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง  

     โดยมีระบบและกลไกการการให้บริการที่มีระบบขั้นตอน ตามลักษณะงาน ดังนี้  ขั้นตอนการให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ (2.2–1(2))  ขั้นตอนการให้บริการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ (2.2–1(3))  ขั้นตอนการให้บริการยืมต่อออนไลน์ (2.2–1(4))  ขั้นตอนการให้บริการสมัครสมาชิกออนไลน์ (2.2–1(5)) ขั้นตอนการให้บริการห้องศึกษาค้นว้ากลุ่ม (2.2–1(6)) ขั้นตอนการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (2.2–1(7)) ขั้นตอนการให้บริการห้องมินิเธียเตอร์ (2.2–1(8))

   นอกจากนี้สำนักได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และแนะนำบริการ (2.2–1(9)) ของสำนัก  ไปตามคณะ (ภายใต้โครงการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ออกสัญจรพร้อมด้วยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) (2.2–1(10)), (2.2–1(11))  โดยมีวัตถุประสงค์ในความร่วมมือ ดังนี้ ข้อ 1  ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะดิจิทัลแก่นักศึกษา บุคลากร   และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย  ข้อ 2 ความร่วมมือด้านการส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุด การใช้ทรัพยากรสารสนเทศ และกิจกรรมของห้องสมุด และข้อ 3 ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบ การบริหารจัดการองค์กรที่ดี เพื่อรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ จากทุกคณะ (2.2–1(12))  และนำมาพัฒนาด้านการบริการของสำนักให้ดียิ่งขี้นไป (2.2–1(13)) นอกจากนี้สำนักได้ดำเนินการปรับปรุงการบริการให้ผู้ใช้เข้าถึงในรูปแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น การยืมหนังสือผ่านออนไลน์ การยืมระหว่างห้องสมุด จัดกิจกรรมใจดีให้ยืม เป็นต้น

2มีการจัดกิจกรรมการให้บริการไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม

    สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดกิจกรรมการให้บริการ ดังนี้

  1. บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (walk-in) (2.2 – 2 (1))
  2. บริการยืม-คืนผ่านช่องทางออนไลน์ (2.2 – 2 (2))
  3. บริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด (2.2 – 2 (3))
  4. บริการขอหมายเลข ISBN และ ISSN (2.2 – 2 (4))
  5. บริการรับคืนหนังสือ 24 ชม. (Book Drop) (2.2 – 2 (5))
  6. บริการห้องศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่ม (2.2 – 2 (6))
  7. บริการห้องมินิเธียเตอร์ (2.2 – 2 (7)) 
  8. บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (2.2 – 2 (8)) 
  9. บริการถาม-ตอบผ่านเพจสำนัก (2.2 – 2 (9)) 
  10. บริการส่งเสริมการอ่าน (2.2 – 2 (10)) 
  11. บริการใจดีให้ยืม (วัสดุ-อุปกรณ์) (2.2 – 2 (11)) 
  12. บริการรับฝากของ (2.2 – 2 (12))
3มีผลการประเมินความพึงพอใจของทุกกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 3.51 คะแนน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเก็บผลการประเมินความพึงพอใจของทุกกิจกรรมบริการ (2.2 – 3 (1)) ดังนี้

     ระดับความพึงพอใจด้านกิจกรรมให้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมาก 9 ข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ บริการรับคืนหนังสือ 24 ชม. (Book Drop) (x = 3.93) ระดับรองลงมาคือ บริการรับฝากของ (x = 3.86) บริการใจดีให้ยืม (วัสดุ-อุปกรณ์)  (x = 3.82 ) บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ (walk-in) (x = 3.81) บริการห้องศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่ม (x = 3.78) บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ บริการส่งเสริมการอ่าน (x = 3.67)  บริการถาม-ตอบผ่านเพจสำนัก (x = 3.56)  บริการยืม-คืนผ่านช่องทางออนไลน์ (x = 3.52)  และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ บริการขอหมายเลข ISBN และ ISSN (x = 3.48) บริการห้องมินิเธียเตอร์ (x = 3.24)  และระดับน้อยที่สุด คือ บริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด (x = 3.10)

4มีการรายงานผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการประจําหน่วยงานเพื่อรับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนา อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ   มีการรายงานผลการดำเนินงานซึ่งได้จากการสรุปผลแบบสอบถาม และสภาพปัญหาในการดำเนินการให้บริการ (2.2 – 4 (1)) นำเสนอต่อคณะประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 วาระที่ 4.3 (2.2 – 4(2)) โดยคณะกรรมการ ให้ตรวจสอบคำถูก คำผิด การเว้นวรรค และฟอนต์ ในแบบสอบถาม

      และนำผลการดำเนินงานการให้บริการ(2.2 – 4 (3)) ของสำนักประจำภาคเรียนที่ 2/2565  เสนอต่อคณะประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันพุธที่ 12  กรกฎาคม 2566  (2.2 – 4 (4)) โดยคณะกรรมการ ได้ให้แนวทางดังนี้

    1. ควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำบริการต่าง ๆ ภายในห้องสมุด เช่น ในการค้นหาหนังสือ หรือการใช้บริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม การตอบข้อซักถามอื่นๆ

    2. ปัญหาในช่วงฤดูฝน มีกระรอกเข้าไปในกล่องกระจายไฟฟ้า ควรจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันธรรมชาติ และมีงบประมาณสำรองกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน สำหรับซ่อมบำรุง และอาจจะมีการของบประมาณเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัย

3. สายไฟไหม้ ควรมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

4. จุดบริการน้ำดื่มไม่เพียงพอต่อการให้บริการต่อการให้บริการ ควรเพิ่มจุดบริการน้ำดื่มในอนาคตต่อไป

                    ฯลฯ

5นําผลการประเมินจากคณะกรรมการประจําหน่วยงานหรือผู้ใช้บริการมาปรับปรุงพัฒนาการดําเนินงาน

         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำคำแนะนำจากผู้ใช้บริการมาปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการ ดังนี้

ที่

ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำ

การปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

1.

ควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำบริการต่าง ๆ ภายในห้องสมุด เช่น ในการค้นหาหนังสือ หรือการใช้บริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม การตอบข้อซักถามอื่นๆ

 

จัดทำป้ายวาง ณ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรประตูทางเข้าออกเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ (2.2 - 5 (1))

2.

ปัญหาในช่วงฤดูฝน มีกระรอกเข้าไปในกล่องกระจายไฟฟ้า ควรจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันธรรมชาติ และมีงบประมาณสำรองกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน สำหรับซ่อมบำรุง และอาจจะมีการของบประมาณเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัย

จัดทำเป็นแผนความเสี่ยงของสำนักในปีงบประมาณ 2567

3.

จุดบริการน้ำดื่มไม่เพียงพอต่อการให้บริการต่อการให้บริการ ควรเพิ่มจุดบริการน้ำดื่มในอนาคตต่อไป

 

จัดสรรงบประมาณในงบรายงานได้ห้องสมุดเพื่อจัดซื้อในปีงบประมาณ 2567

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน