ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ตรัยเทพ ศรีสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน จึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนควบคู่กับการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร ให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร
2 มีการจัดทำแผนการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร จากการ มีส่วนร่วมของอาจารย์และบุคลากร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานตามตามแผนพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และรายงานให้ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณา
5 มีการนำผลจากการประเมินและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีถัดไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการจัดทำระบบและกลไกให้มีการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในปีการศึกษา 2564 ดังต่อไปนี้

1. สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการจัดทำคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 1200/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา (2.2-1(1)) และได้มีการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 1201/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.2-1(2)) โดยมีอาจารย์จากทั้ง 5 คณะ และ 1 วิทยาลัย รวมทั้งบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯนี้ 

2. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการวางแผนให้อาจารย์มีความสามารถในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษให้กับอาจารย์ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ พ.ศ. 2560 (2.2-1(3)) เพื่อเป็นเป้าหมายในด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ 

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการสำรวจผลการทดสอบภาษาอังกฤษของอาจารย์ตามมาตรฐานต่างๆที่ปรากฎในประกาศมหาวิทยาลัยฯ และ นอกเหนือจากประกาศมหาวิทยาลัยเพื่อวางแผนในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับอาจารย์ 

4. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 (2.2-1(4)) เพื่อเป็นแผนและแนวทางในด้านการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรในด้านทักษะภาษาอังกฤษ 

5. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร (2.2-1(5))

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาภาษาอังกฤษโดยมีการจัดการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ TOEFL ITP เพื่อให้บุคลากรที่สนใจสามารถทดสอบเพื่อทดสอบทักษะด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง 

2มีการจัดทำแผนการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร จากการ มีส่วนร่วมของอาจารย์และบุคลากร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. มีการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 1200/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.2-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา และคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 1201/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.2-2(2)) โดยมีอาจารย์และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ นี้

2. ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 3/2564 (2.2-2(3)) โดยมีตัวแทนจากทุกคณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจรรม โครงการ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และร่วมกันยก (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนกลยุทธ์ฯ ระยะ 5 ปี หลังจากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในการประชุมครั้งที่ 12/2564 (2.2-2(4))  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. ได้นำแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 เสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 (2.2-2(5)) เพื่อทราบแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

4. มีการเผยแพร่แผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 (2.2-2(6)) ให้กับคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 1/2564 (2.2-2(7))

3มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานตามตามแผนพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ดังนี้

1. ด้านงบประมาณ
    1.1 มีการจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.2-3(1)) จำนวนเงิน 256,400 บาท เพื่อดำเนินการจัดทดสอบและอบรมภาษาอังกฤษให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา จำนวน 86,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.82
    1.2 มีการสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (2.2-3(2)) เป็นจำนวนเงิน 1,500,000 บาท เพื่ออบรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

2. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
    2.1 มีการจัดหาระบบการเรียนด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ English Discoveries (2.2-3(3)) เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับบุคลากร โดยจัดสรรจากโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21
    2.2 มีการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ภาษาอังกฤษ (2.2-3(4)) ให้อาจารย์สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการพัฒนานักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
               - ABI/INFORM Complete
               - Academic Search Complete
               - ACM Digtal Library
               - American Chemical Society Journal
               - Communication & Mass Media Complete
               - Computer &Applied Science complete
              - Education Research Complete
               - Emerald Management (EM92)
               - H.W. Wilson ( 12 Subjects )
               - ProQuest Dissertations & Theses
               - SpringerLink – Journal
               - ScienceDirect
               - Web of Science
    2.3 ศูนย์ภาษาดำเนินการจัดหาสื่อหนังสือเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆจากสำนักพิมพ์ Cambridge 

4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และรายงานให้ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 2/2565 (2.2-4(1)) เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564 (2.2-4(2)) พบว่า มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้

    1.1 สรุปผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านการอบรมตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น ร้อยละ 20 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 1,482 คน และมีผู้มีผลคะแนนหลังการอบรมดีขึ้น จำนวน 663 คน คิดเป็นร้อยละ 44 บรรลุ
2.เพื่อจัดหาสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ร้อยละของหลักสูตรที่นำสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเอง ร้อยละ 10 ศูนย์ภาษา ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้หลักสูตรในคณะและวิทยาลัยต่างๆได้นำเอาสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้นำไปพัฒนานักศึกษาในหลักสูตร โดยปีการศึกษา 2564 พบการนำไปปรับใช้จำนวน 7 หลักสูตร จาก 45 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 15 บรรลุ
3.เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการเรียนการสอน ร้อยละของอาจารย์ที่เข้าอบรม พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ สามารถสอบผ่านหลังการอบรม (Post-test) ร้อยละ 20 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่อาจารย์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน และมีผลคะแนนสอบภายหลังอบรม (Post-test) จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 40 บรรลุ

 

     1.2 ข้อเสนอแนะรายโครงการ

ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุง การดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ 
ควรจัดโครงการออนไซต์ โดยเน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา  จัดโครงการออนไซต์เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเพิ่มเติมโครงการในแผนดำเนินงาน ปีการศึกษา 2565 ต่อไป โดยจัดควบคู่กับโครงการอบรมออนไลน์ 

1. การปรับปรุง
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
   (   ) ปรับปรุงโครงการ 
   ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน
   (   ) ดำเนินการแล้ว     
   ( /  ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : 

เพิ่มเติมโครงการลงในแผนการดำเนินงานของศูนย์ภาษา โดยประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารและดำเนินงานศูนย์ภาษาอีกครั้ง 
   (   ) ยังไม่ดำเนินการ

สิงหาคม - กันยายน 2565  ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม 

    1.3 คณะกรรมการดำเนินงาน ได้จัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 6/2565 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2565 เพื่อรายงานและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการปรับปรุง 

5มีการนำผลจากการประเมินและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีถัดไป

ศูนย์ภาษา สังกัดสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้นำผลการประเมินและข้อเสนอจากผู้บริหารมาทำการปรับปรุงในปีการศึกษา 2565 ดังต่อไปนี้

1. ศูนย์ภาษา สังกัดสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดทำร่างการปรับปรุงการดำเนินงานในร่างแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากร ปีการศึกษา 2565 (2.2-5(1)) เพื่อเตรียมการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 ต่อไป 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน