ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , อัจฉรา จันเทพา , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทาง การดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งการสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณของสถาบันให้กับบุคลากรส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์และนักวิจัย การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งรวมถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม นำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ตลอดจนจัดระบบสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยอย่างเหมาะสมตลอดจนมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)
3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

   วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้บริการงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  (2.1-1(1 โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัยภายในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ดังต่อไปนี้
     1.บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ลงในฐานข้อมูล
     2.บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านการประชุมทางวิชาการ
     3.บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ
     4.สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
     5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูลประวัติส่วนตัวของบุคลากรเพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล
     6.ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร
เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
        6.1 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับสถาบันจำแนกตามปีงบประมาณ
        6.2 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับคณะ จำแนกตามปีงบประมาณ
        6.3 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับ จำแนกตามแหล่งทุน
     นอกจากนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ยังได้มีการนำระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS)เข้ามาใช้สำหรับระบบการจัดการการวิจัยในด้านต่าง ๆเช่น(2.1-1(2))
     • การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ  
     • การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ
     • การจัดลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา
     • การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ
     • การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนรายบุคคล
     • ตรวจสอบประวัตินักวิจัย
       (2.1-1(3))

 

2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่างๆ  ดังต่อไปนี้
     1) มีการจัดเตรียมศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย
        วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา ดังนี้

  • ห้องศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-2(1))
  • ห้องสมุดนิติศาสตร์ เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารงานวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยฯ และเปิดให้บริการทั้งบุคลากรและนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ (2.1-2(2))

        มีหน่วยวิจัยที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย คือมีการจัดตั้งกลุ่มงานวิจัยศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรทุนวิจัย จัดหาแหล่งทุนที่มีความเหมาะสม ส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ภายนอกตลอดจนการกำกับติดตามการดำเนินงานวิจัย (2.1-2(3))

            2) มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีห้องสมุดที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคลากรภายในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-2(4))

            3) มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย

    วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดเตรียมระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนางานวิจัย  ได้แก่

  • ระบบงานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (2.1-2(5))
  • ระบบการสืบค้นข้อมูลห้องสมุดออนไลน์ (2.1-2(6))

       ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงานและเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนงานวิจัย โดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่

  • ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องสมุดนิติศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง(2.1-(7))

4) มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  ได้แก่

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย  ดังนี้
          1. มีการจัดสัมมนาระดับจังหวัดเพื่อสร้างฐานข้อมูล มีวัตถุประสงค์คือ
             1.1 เพื่อทำความเข้าใจ ในการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ กับภาคีเครือข่าย
             1.2 เพื่อสำรวจสถานภาพการทำงานด้านเด็ก ประกอบด้วยด้านหน่วยงาน, ภารกิจ, โครงการด้านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับ เด็กที่จะเป็นฐานข้อมูลใช้ในการวิจัยและ
             1.3 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และข้อมูลสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่อีสานใต้

         2.โครงการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับพื้นที่และสร้างทีมวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์คือ
             2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้เข้าใจกระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (การเก็บข้อมูล ,การพัฒนาโจทย์วิจัย, การเขียนโครงการ, การทำวิจัย, การเขียนรายงาน)
             2.2 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับทีมวิจัยและ
             2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย

3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับคณาจารย์และบุคลากรในปีงบประมาณ 2564(2.1-3(1)) ดังนี้

แหล่งงบประมาณ

จำนวนงบประมาณ

ทุนสนับสนุนวิจัยภายใน งบประมาณบำรุงการศึกษา

140,000  บาท

เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายนอกงบประมาณแผ่นดิน

ววน. Basic Research

1,909,500  บาท

  • เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายใน (งบประมาณเงินบำรุงการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง) จำนวน 140,000 บาท(2.1-3(2)) 
  • เงินทุนสนับสนุนวิจัยสนับสนุนวิจัยภายนอกงบประมาณแผ่นดินววน. Basic Researchจำนวน 1,909,500 บาท (2.1-3(3))
4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีศักยภาพในด้านการวิจัยให้สูงขึ้น โดยได้ส่งอาจารย์ เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหลายอย่าง  เช่น

  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาโจทย์วิจัยห่วงโซ่อุปทาน อำเภอปรางค์กู่  ในวันที่ 9  กันยายน  2563เพื่อขับเคลื่อนการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยแบบบูรณาการโดยการวิจัยส่วนใหญ่จะเป็นระดับแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการ จะมีการเชื่อมโยงโครงการวิจัยย่อย ที่ธรรมชาติของการวิจัยมีความแตกต่างกัน แต่สามารถบูรณาการกันได้ (2.1-4(1))
  • โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564ศึกษาดูงานคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2563 โดยมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย  และเทคนิคการส่งบทความวิจัยเข้าระบบ Thaijo(TCT)โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุรสม  กฤษณะจูฑะ  รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์  ดร.จันทรา  ธนะวัฒนาวงศ์  ในการบรรยายให้ความรู้  และการนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยและวิพากย์ข้อเสนอโครงการวิจัย สำหรับนักวิจัยที่ขอรับทุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และกิจกรรมบรรยาย “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อให้ได้ทุน  วิทยากรบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญวรัตน์  แจ่มใส  ประธานสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ , กิจกรรมระดมความคิดเห็น “การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับ มคอ.3 วิทยากรบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น  รองคณบดีวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-4(2))
  • โครงการอบรม “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ เป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ การจัดการอบรมดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างเทคนิคในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตอบสนองวารสารต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ พร้อมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเขียนบทความวิจัย เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญครบถ้วน จัดในระหว่างวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมถนอมอินทรกำเนิด ศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-4(3))

     โดยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่นระดับคณะ โดยการมอบเกียรติบัตรเพื่อประกาศเป็นคณูปการ และแสดงความยินดีผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นนักวิจัยดีเด่น คือ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ  จันทร์หมื่น ประเภท นักวิจัยดีเด่น 2.1-4(4))

5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้ดำเนินงานกับเครือข่ายนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย โดยในปี 2563 มีความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  เรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่นำร่องของประเทศไทย” เป็นงานวิจัยที่สร้างนวัตกรรมการท่องเที่ยววิถีลำน้ำในพื้นที่นำร่องของภาคอีสานใน 2 จังหวัดคือจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดศรีสะเกษ มีภาคเอกชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมประกอบด้วย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวศรีสะเกษ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง (อุบล ยโสธร ศรีสะเกษ)   เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เทศบาลตำบลน้ำคำ อบต.โพธิ์  จากการวิจัยสามารถสร้างนวัตกรรมเส้นทางท่องเที่ยววิถีลำน้ำในลำน้ำมูล เกิดกลุ่มผู้ประกอบการเรือให้บริการนักท่องเที่ยว มีผู้ได้รับประโยชน์ทั้งผู้ประกอบการและพื้นที่ชุมชน  2.1-5(1)

7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2553(2.1-7(1))เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง(2.1-7(2))
      มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ(2.1-7(3))เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นกำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไประเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในการวิจัย สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบทีกำหนด ในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง 2.1-7(4))โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้  
         1.เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องไปที่งานวิจัยและพัฒนาพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
         2.งานวิจัยและพัฒนา เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง (2.1-6(4))
         3.ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการละเอมิดลิขสิทธิ์ของงานวิจันที่ได้มีการร้องเรียน
         4. นำเสนอแนวทาในการจัดการปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และมติของที่ประชุมต่ออธิการบดีเพื่อสั่งการ
         5. ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความ ให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 4