✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้บริการงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2.1-1(1)) โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัยภายในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดังต่อไปนี้
- บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ลงในฐานข้อมูล
- บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านการประชุมทางวิชาการ
- บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ
- สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
- สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูลประวัติส่วนตัวของบุคลากรเพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล
- ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
-
- จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับสถาบันจำแนกตามปีงบประมาณ
- จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับคณะ จำแนกตามปีงบประมาณ
- จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับ จำแนกตามแหล่งทุน
นอกจากนี้ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ยังได้มีการนำระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัย จากภายนอก คือ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System (NRIIS) เข้ามาใช้สำหรับระบบการจัดการการวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น (2.1-1(2))
- การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
- การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ
- การจัดลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา
- การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ
- การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนรายบุคคล
- ตรวจสอบประวัตินักวิจัย
(2.1-1(3))
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) มีการจัดเตรียมศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา ดังนี้
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับคณาจารย์และบุคลากรในปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ (2.1-3(1))
แหล่งงบประมาณ
|
จำนวนงบประมาณ (บาท)
|
ประเภทงบประมาณ
|
งบประมาณบำรุงการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
140,000
|
งบประมาณภายใน
|
ทุน งบประมาณแผ่นดิน ววน. Basic Research ,กองทุนกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมฯ
|
1,302,030
|
งบประมาณภายนอก
|
รวมงบประมาณทั้งสิ้น
|
1,442,030
|
- เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายใน (งบประมาณเงินบำรุงการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง)
จำนวน 140,000 บาท (2.1-3(2))
- เงินทุนสนับสนุนวิจัยสนับสนุนวิจัยภายนอก (แหล่งทุนงบประมาณแผ่นดิน ววน. Basic Research ,
กองทุนกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมฯ) จำนวน 1,302,030 บาท (2.1-3(3))
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีศักยภาพในด้านการวิจัยให้สูงขึ้น โดยได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยดังนี้
ชื่อ -สกุล
|
ประเด็นการพัฒนาสมรรถะอาจารย์และนักวิจัย
|
1. ผศ.ดร.อลงกต แผนสนิท
2. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย
3. ผศ.ดร.วิชชุดา วงศ์พานิชย์
4. ผศ.ว่าที่ ร.ต.ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง
|
1. โครงการอบรม “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ” ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัย ราชภัฏสัมมนาคาร ม.ราชภัฏศรีสะเกษ วิทยากรบรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ประเทพา บรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักการ เทคนิคการเขียนบทความวิจัยประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถนำมาเขียนและนำเสนอในรูปของบทความได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม และถูกต้อง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง(2.1-4(1))
|
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่นระดับคณะ โดยการมอบเกียรติบัตรเพื่อประกาศเป็นคุณูปการ และยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้บทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนารักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกองทุนสิ่งแวดล้อมอย่างดีเยี่ยมเจ้าของผลงานวิจัย คือ อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา ประธานสาขาวิชารัฐศาสตร์ ชื่องานวิจัยโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-4(2))
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งได้มีการดำเนินการวิจัยร่วม “ความสัมพันธ์ของปัจจัยในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ”
( 2.1-5(1))
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อผลงานวิจัย
|
การนำไปใช้ประโยชน์
|
กลุ่มผู้รับผลประโยชน์
|
1. แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-6(1))
|
ประโยชน์เชิงนโยบาย :
เป็นข้อมูล ข้อเท็จจริงที่มีการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลพราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
ประโยชน์เชิงพานิชย์ :
ผู้คนในชุมชนใช้ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อเป็นสื่อกลางในการค้าขายสินค้าออนไลน์
ประโยชน์เชิงวิชาการ :
นำข้อมูลวิจัยนี้ไปเผยแพร่ อบรมให้กับครู หรือนักเรียนในชุมชนที่ต้องการใช้เทคโนโลยี เพื่อใช้ด้านการเรียนการสอน
ประโยชน์เชิงสาธารณะ :
ประชาชนในชุมชนได้เข้าใจถึงเทคโนโลยีได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบข่าวสารบ้านเมืองทันเหตุการณ์ต่าง ๆ และข่าวเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ในพื้นที่ :
ผู้คนในชุมชนได้เข้าถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างทั่วถึง สะดวก สบายต่อการใช้บริการมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการที่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
|
องค์การบริหารส่วนตำบลพราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
|
2. การตัดสินใจในการเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-6(2))
|
ประโยชน์เชิงนโยบาย :
1. ได้มีการนำข้อมูลจากผลการวิจัยไปปรับใช้กับงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะ โดยในปีการศึกษาต่อไป จะดำเนินการจัดอบรม โดยเชิญวิทยากรจากสถานประกอบการมาให้ข้อมูล คำแนะนำ เบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกสถานประกอบการ หากนักศึกษาสนใจก็ทำเข้าสัมภาษณ์กับสถานประกอบการได้เลย
2. นำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยจัดสถานที่ฝึกประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษา ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา
3. เชิญตัวแทนศิษย์เก่าที่จบการศึกษาและกลับมาเล่าประสบการณ์จากการไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพแต่ละสถานประกอบการ พร้อมทั้งให้คำแนะนำกับนักศึกษารุ่นน้อง
|
ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
|
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2553 (2.1-7(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-7(2))
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-7(3)) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นกำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไประเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในการวิจัย สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบทีกำหนด ในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (2.1-7(4)) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
- เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องไปที่งานวิจัยและพัฒนาพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
- งานวิจัยและพัฒนา เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง (2.1-6(4))
- ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานวิจันที่ได้มีการร้องเรียน
- นำเสนอแนวทาในการจัดการปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และมติของที่ประชุมต่ออธิการบดีเพื่อสั่งการในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความ ให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นผู้ดำเนินการ
| |