สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการผลักดันให้นักวิจัยนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามระบบการและกลไกการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน (2.1-6(1))
ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวางแผนดำเนินการ โดยมีวิธีการดังนี้
1.1 ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องทำหนังสือเชิญผู้เข้าประชุม ได้แก่นักวิจัย นักวิชาการ คน แกนนำกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ กรรมการดำเนิน
1.2 ประชุมวางแผนการดำเนินงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ โดยมีวิธีการดังนี้
2.1 ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากการวิจัย ฝ่ายที่มีส่วน ส่งเสริมสนับสนุน ฝ่ายนักวิชาการ ผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้สนใจ
2.2 ประชุมร่วมกันวิเคราะห์รูปแบบการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามประเภทของงานวิจัยและ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ เช่น การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การตัดสินใจเชิงนโยบาย การพัฒนาธุรกิจเป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ โดยมีวิธีการดังนี้
3.1 กรณีไม่ใช่การติดต่อโดยตรงจัดแยกไปพิจารณารูปแบบการเผยแพร่ ซึ่งอาจเป็นการเผยแพร่โดย วารสารหรือจัดประชุมวิชาการ
3.2 กรณีติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ประโยชน์ จัดเข้ากลุ่มกิจกรรมเฉพาะที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมใช้ประโยชน์โดยตรงตามกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวิธีการดังนี้
4.1 ประชุมวางแผนปฏิบัติงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิจัย คณะกรรมการดำเนินงาน และกลุ่ม ผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย
4.2 ปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์โดยตรงตามแผนที่กำหนดในรูปแบบต่างๆ เช่น
4.2.1 ส่งผลวิจัยตรงกับผู้ใช้และติดตามผล
4.2.2 จดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรก่อนการส่งผลต่อผู้ใช้
4.2.3 สังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้
4.2.4 จัดโครงการขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 5 จัดการความรู้ บันทึกผลเพื่อนำไปใช้ โดยมีวิธีการดังนี้
5.1 ประชุมคณะผู้ดำเนินการเสนอผลการประเมินการจัดประชุมเพื่อนำผลไปใช้ปรับปรุง
5.2 จัดการความรู้โดยใช้เทคนิค After Action Review (AAR) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การดำเนินการตามระบบที่กำหนด
สถาบันวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น ตลอดจนเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีรายละเอียดวิธีดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนการวางแผน
1. สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้สัญจรไปทุกคณะ/วิทยาลัย สำนักและสถาบัน ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลศักยภาพนักวิจัย สถานภาพงานวิจัย และความต้องการงานวิจัย (2.1-6(2)) (2.1-6(3))
2. สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ขอข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภายในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสอบถามความต้องการงานวิจัย เพื่อนำมาเป็นกรอบในการวิจัยของหน่วยงาน (2.1-6(4)) และได้จัดเสวนาในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom ในหัวข้อ “มุ่งเป้าสู่การวิจัยใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจกับทุน บพข.” ซึ่งได้เชิญตัวแทนจากภาคธุรกิจที่จะมาแลกเปลี่ยนถึงความต้องการงานวิจัยของภาคธุรกิจจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าธุรกิจอีกด้วย (2.1-6(5))
3. สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดโครงการพัฒนากรอบการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยมีตัวแทนของคณะต่างๆ เข้าร่วม ศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ของพื้นที่ทุ่งกุลา และชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ และนำข้อมูลจากการลงพื้นที่มาพัฒนากรอบการวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ประโยชน์จากท้องที่อย่างเป็นรูปธรรม (2.1-6(6))
ขั้นตอนวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์
1. สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดการจัดการความรู้ (KM) แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้รูปแบบการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 5 ด้าน (2.1-6(7)) คือ
1.1 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย
1.2 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
1.3 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ
1.4 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ
1.5 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
ขั้นตอนพิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ และการจัดกิจกรรมใช้ประโยชน์โดยตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
การพิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ นักวิจัยจะเป็นผู้พิจารณาการนำไปใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยด้วยตนเอง โดยพิจารณาดังนี้
1. กรณีไม่ใช่การนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงให้นำไปเผยแพร่โดยการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารหรือในการจัดการประชุมวิชาการ ตามระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ของคู่มือการบริหารจัดการงานวิจัย (2.1-6(8))
2. กรณีการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงกับผู้ใช้ประโยชน์ ให้นักวิจัยส่งต่อผลงานวิจัยให้กับผู้ใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และให้ผู้ใช้ประโยชน์ส่งแบบตอบรับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (2.1-6(9))
ขั้นตอนจัดการความรู้ บันทึกผลเพื่อนำไปใช้
สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการนำผลการวิจัยและแบบตอบรับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มาสังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ (2.1-6(10))
3. ผลการดำเนินงาน
1. โครงการได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก จากขั้นตอนการวางแผนแลกเปลี่ยนถึงความต้องการงานวิจัยของภาคธุรกิจจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-6(11))
2. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยสรุปผลการนำไปใช้ประโยชน์ (2.1-6(12)) ดังนี้
ชื่องานวิจัย
|
การนำไปใช้ประโยชน์
|
กลุ่มผู้รับผลประโยชน์
|
การพัฒนาป่าโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญเป็นป่าเคียงเมืองในจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้พหุมิติ เศรษฐกิจพอเพียง ท่องเที่ยว และอนุรักษ์ธรรมชาติ
|
การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
ได้แก่ โรงเรียนหนองสาดโนนเจริญ ได้รับการพัฒนา ดังนี้
- ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการสนับสนุนไก่ไข่ เห็ดนางฟ้า ปลาดุก โดยผลลิตที่ได้นำไปทำเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
- ด้านการท่องเที่ยว มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้เป็นสถานที่พักผ่อน เป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว
- ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกันของ บวร. ในการปลูกป่า ทำแนวกันไฟ และอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป
|
โรงเรียนหนองสาดโนนเจริญ
|
การศึกษารูปแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ชุมชนพึ่งตนเองของชาวนาจังหวัดศรีสะเกษ
|
1. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
ได้แก่ เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมและเริ่มทำการรวมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่นำสู่การพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการผลิตข้าวได้อย่างเป็นระบบ
2. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ได้แก่ นำไปพัฒนางานด้านการเกษตรของพื้นที่
|
1. วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลผักไหม
2. องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม
|
การพัฒนาศักยภาพศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ
|
การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ได้แก่
1. นำไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจ
2. นำไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจให้กับลูกค้าในการยื่นกู้สินเชื่อธนาคาร
|
1. ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ (กลุ่มเกษตรยั่งยืน)
2. ธนาคารเพื่อการเกษตร
3. สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
4. ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านมะยาง
|
ฐานข้อมูลออนไลน์วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดศรีสะเกษ
|
1. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ได้แก่ นำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายของหน่วยงานในการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กร
2. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ ได้แก่ นำไปขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่บนฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
|
1. สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
2. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ
3. ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ
|
|