ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , ชนาภัค มุลกะกุล , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ตรัยเทพ ศรีสุข , วันวิสา นัยเนตร , เปรมฤทัย โลสันเทียะ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งสถาบัน ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. มีการดำเนินการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 2475/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา และมีอาจารย์และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯนี้

2. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 3/2565  ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (2.1-1(2)) โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษควบคู่กับการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ที่ระบุไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (2.1-1(3)) และจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2562 – 2565 (2.1-1(4)) อย่างมีทิศทาง พร้อมทั้งเห็นชอบแผนการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2565 (2.1-1(5)) เพื่อให้เกิดการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังจัดทำระบบการจัดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR (2.1-1(6)) เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสอบวัดระดับและพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ตลอดจนศูนย์ภาษาฯได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง ปฏิทินการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 (2.1-1(7)) เพื่อดำเนินการจัดทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ

3. มีการดำเนินการทดสอบภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมทางด้านการพัฒนานักศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและเน้นกิจกรรมออนไลน์มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามคำแนะนำของคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษาในปีที่ผ่านมา โดยศูนย์ภาษาได้กำหนดการดำเนินงานเพื่อพัฒนานักศึกษาออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1. การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ 2. การทดสอบภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้

        3.1 มีการดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ คือ การจัดการอบรมภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยจัดการอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงก่อนขึ้นชั้นปีสุดท้ายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR เพื่อยื่นประกอบการสำเร็จการศึกษา

        3.2 ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนดให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 จะได้รับการสอบวัดระดับทางด้านภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง คือ 1) ก่อนเข้าศึกษา และ 2) ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งการทดสอบก่อนเข้าศึกษาได้ดำเนินการโดยใช้ข้อสอบ SSKRU-TEP ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์ภาษาเอง ซึ่งศูนย์ภาษาได้ดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบทดสอบ SSKRU-TEP มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1- 1(8)) โดยข้อสอบได้ผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ข้อสอบมีมาตรฐานและเหมาะสมกับการวัดระดับภาษาของนักศึกษาใน นอกจากนั้นยังมีการทดสอบก่อนสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ซึ่งจัดตามปฏิทินการทดสอบของศูนย์ภาษา จำนวนทั้งสิ้น 6 ครั้ง ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ซึ่งศูนย์ภาษาฯได้พัฒนาระบบการรายงานผลคะแนนให้กับนักศึกษาเป็นรายบุคคล (2.1- 1(9)) เพื่อให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลคะแนนย้อนหลังของตนเองซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนในการพัฒนาตนเองของนักศึกษาได้อย่างดีต่อไป

2จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. มีการดำเนินการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 2475/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา และมีอาจารย์และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯนี้ 

2. มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) (2.1-2(2)) ซึ่งเป็นแผนระดับกลยุทธ์เพื่อเป็นทิศทางให้มหาวิทยาลัย คณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเข็มทิศในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน และได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 3/2565 โดยมีตัวแทนจากทุกคณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจรรม โครงการ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และร่วมกันยก (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565 ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนกลยุทธ์ฯ ระยะ 5 ปี หลังจากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 (2.1-2(3))  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. มีการเผยแพร่แผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565 (2.1-2(4)) ให้กับคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 4/2565 

3จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. ด้านงบประมาณ
    1.1 มีการจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-3(1)) จำนวนเงิน 249,000 บาท เพื่อดำเนินการจัดทดสอบและอบรมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565 
    1.2 มีการสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (2.1-3(2)) เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท เพื่ออบรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

2. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
    2.1 มีการจัดหาระบบการเรียนด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ English Discoveries (2.1-3(3)) เพื่อพัฒนาการเรียนของนักศึกษา โดยจัดสรรจากโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21
    2.2 มีการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ภาษาอังกฤษ (2.1-3(4)) ให้อาจารย์สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการพัฒนานักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
               - ABI/INFORM Complete
               - Academic Search Complete
               - ACM Digtal Library
               - American Chemical Society Journal
               - Communication & Mass Media Complete
               - Computer &Applied Science complete
               - Education Research Complete
               - Emerald Management (EM92)
               - H.W. Wilson ( 12 Subjects ) 
               - ProQuest Dissertations & Theses
               - SpringerLink – Journal
               - ScienceDirect
               - Web of Science

               - Gale ebooks

               - SE-ED E-library
    2.3 มีห้องปฎิบัติการทางภาษา (2.1-3(5)) สำหรับจัดโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง
    2.4 มีห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ (2.1-3(6)) สำหรับจัดทดสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
    2.5 ศูนย์ภาษาดำเนินการจัดหาสื่อหนังสือเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆจากสำนักพิมพ์ Cambridge

4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 2/2566 เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565 (2.1-4(1)) พบว่า มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
    1.1 สรุปผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านการอบรมตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น ร้อยละ 25 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 1,583 คน และมีผู้มีผลคะแนนหลังการอบรมดีขึ้น จำนวน 826 คน คิดเป็นร้อยละ 52.14 บรรลุ
2.เพื่อจัดหาสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ร้อยละของหลักสูตรที่นำสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเอง ร้อยละ 15 ศูนย์ภาษา ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้หลักสูตรในคณะและวิทยาลัยต่างๆได้นำเอาสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้นำไปพัฒนานักศึกษาในหลักสูตร โดยปีการศึกษา 2565 พบการนำไปปรับใช้จำนวน 7 หลักสูตร จาก 45 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 15 บรรลุ
3.เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการเรียนการสอน ร้อยละของอาจารย์ที่เข้าอบรม พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ สามารถสอบผ่านหลังการอบรม (Post-test) ร้อยละ 25 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่อาจารย์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน และมีผลคะแนนสอบภายหลังอบรม (Post-test) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 36 บรรลุ

     1.2 ข้อเสนอแนะรายโครงการ

ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุง การดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ 
ควรจัดโครงการออนไซต์ โดยเน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา  ควรมีการจัดสรรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

1. การปรับปรุง
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
   (   ) ปรับปรุงโครงการ 
   ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน
   (   ) ดำเนินการแล้ว     
   ( /  ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : เพิ่มเติมโครงการลงในแผนการดำเนินงานของศูนย์ภาษา โดยประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหารและดำเนินงานศูนย์ภาษาอีกครั้ง 
   (   ) ยังไม่ดำเนินการ

สิงหาคม - กันยายน 2566  ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม 

    1.3 คณะกรรมการดำเนินงาน ได้จัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 5/2566 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 (2.1-4(2)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการปรับปรุง 

    1.4 ศูนย์ภาษาฯ จัดทำ (ร่าง) แผนการพัฒนาโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษาอังกฤษตามคำแนะนำของคณะกรรมการฯ (2.1-4(3))

5มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR มีผลการสอบ ดังนี้ 

ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน บรรลุ ไม่บรรลุ
ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่เข้าทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งสถาบัน ในปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จำนวน 1448 คน
มีผู้เข้าสอบ จำนวน 382 คน  คิดเป็นร้อยละ 26.38 ของนักศึกษาปีสุดท้าย
/  
ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งสถาบัน ในปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2565 มีผู้เข้าสอบ จำนวน 382 คน สอบผ่านเกณฑ์วัดผล CEFR (B1) จำนวน 321 คน คิดเป็นร้อยละ 84.04 ของผู้เข้าสอบ /  

โดยแบ่งตามคณะและวิทยาลัยดังต่อไปนี้ 
1. คณะครุศาสตร์ มีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 201 คน จาก 552 คน (ร้อยละ 36.41) 

    อยู่ในระดับ C1 ทั้งสิ้น 1 คน

    อยู่ในระดับ B2 ทั้งสิ้น 22 คน 
    อยู่ในระดับ B1 ทั้งสิ้น 178 คน

2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 51 คน จาก 255 คน (ร้อยละ 20) 
   อยู่ในระดับ B2 ทั้งสิ้น 14 คน 
   อยู่ในระดับ B1 ทั้งสิ้น 35 คน 
   อยู่ในระดับ A2 ทั้งสิ้น 2 คน 

3. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 44 คน จาก 216 คน (ร้อยละ 20) 

    อยู่ในระดับ C1 ทั้งสิ้น 10 คน
    อยู่ในระดับ B2 ทั้งสิ้น 1 คน
    อยู่ในระดับ B1 ทั้งสิ้น 16 คน 
    อยู่ในระดับ A2 ทั้งสิ้น 17 คน 

4. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีผู้เข้าสอบ 37 คน จาก 184 คน (ร้อยละ 20)
    อยู่ในระดับ B2 ทั้งสิ้น 1 คน 
    อยู่ในระดับ B1 ทั้งสิ้น 4 คน 
    อยู่ในระดับ A2 ทั้งสิ้น 32 คน 

5. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ 49 คน จาก 241 คน (ร้อยละ 20)
    อยู่ในระดับ B2 ทั้งสิ้น 2 คน 
    อยู่ในระดับ B1 ทั้งสิ้น 37 คน 
    อยู่ในระดับ A2 ทั้งสิ้น 10 คน 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน