ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรรทิภา พรมมา , อังคณา ลิ้มพงศธร
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมี นวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน

1. ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกทเี่ หมาะสมสอดคล้องกับพนั ธกจิของหน่วยงาน  มีการ เกณฑ์ . ดังนี้ 

          1.1 มีการจัดทําคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (1.9 – 1 (1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดําเนินงานด้าน ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีการกําหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จํานวน 2 องค์ประกอบ 15 ตัวบ่งชี้ 

          1.2 มีการจัดทําปฏิทินการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก(1.9 – 1 (2)) เพื่อกําหนดกิจกรรมและ กระบวนการดําเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน  

          1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (1.9–1(3)) โดยมีส่วนร่วมของ บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ าย คณะกรรมการที่ปรึกษา, คณะกรรมการอำนวยการ, คณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา แนะนำแก่คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพฯ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และประสานงาน รวบรวมข้อมูล เอกสาร หลักฐานตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ทุกตัว

2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

.สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีการกําหนดนโยบายและให้ความสาํ คัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน  รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ดังนี้

2.1 มีการกําหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรของหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย โดยจัดทําเป็นประกาศ เรื่อง นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 1.9 –2  (1)) มีรายละเอียดดังนี้

                    1) ประกาศสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

2.2. มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 ระบบ ดังนี้

                   1) มีระบบการประเมินออนไลน์ ESAR (www.esar.sskru.ac.th) (1.9-2(2)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน สามารถเขียนผลการดำเนินงาน อัพโหลดเอกสารหลักฐานรายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   2) มีเว็ปไซต์หน่วยงาน http://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html (1.9-2(3)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

3. สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ มีการดาํ เนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การ จัดทํารายงานประจําปีทเี่ ป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกาํ หนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถาบัน/หน่วยงานดังนี้

3.1 การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ

1) มีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่หน่วยงานแต่งตั้ง ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 

              - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 8 /2565  เมื่อวันที่ 5  ตุลาคม 2565 วาระที่  4.1 รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2564 เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากปีที่ผ่านมาเพื่อพิจารณา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินจากปีที่ผ่านมามาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับทราบปฏิทินการดําเนินงาน  กําหนดเป้าหมายการดําเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และพิจารณากําหนดมอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้กํากับตัวบ่งชี้ เพื่อนํามาแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้าน การประกันคุณภาพการศึกษา 

                - การประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566  วาระที่ 5.8 เเพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานของกิจกรรม โครงการ แผนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน กำหนดคณะกรรมการตรวจประเมิน กำหนดวันตรวจประเมิน สรุปข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

 2) มีการจัดทํารายงานประจําปีทเี่ ป็นรายงานประเมนิคุณภาพตามกาํ หนดเวลา   มีการจัดทำโครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ  ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2563 (1.9-3(4)) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยมีผลการประเมินคะแนน 4.80 อยู่ในระดับ ดีมาก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บนเว็ปไซต์หน่วยงานสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (http://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html)

 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ 

มีการนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจําปีการศึกษา 2564   และข้อเสนอแนะจาก คณะกรรมการประจํา ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565  วาระที่ 5.9 ผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564   มาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจําปีการศึกษา 2564 (1.9 – 3 (1)) โดยมี ข้อเสนอแนะ จํานวน 2 ประเด็น ดังนี้

จุดที่ควรพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพ

ข้อเสนอแนะ ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของหน่วยงาน  ตัวบ่งชี้ในปีการศึกษา 2564 ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 

          กิจกรรม/แนวทางในการพัฒนา ควรให้ความสำคัญกับการปรับแผนบริหารและพัฒนาบุคคลากรที่มีคุณภาพส่งเสริมสนับสนุนบุคคลากรพัฒนาความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาของสำนักฯ และมหาวิทยาลัย รวมถึงผลักดันให้บุคคลากรเข้าสู่ต่ำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ และเชี่ยวชาญเฉพาะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดโครงการอบรมพัฒนาบุคคลากรเพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง 

4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

4.1 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจําปีการศึกษา 2565 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจํา  ครั้งที่ 2/2565  เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 วาระที่ 5.9 ผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 มาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจําปีการศึกษา 2564 (1.9-4(1))

      สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้นำผลประเมินมาปรับกระบวนการทำงาน PDCA 

      

แแผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565

(จากผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2564)

องค์ประกอบ/

ตัวบ่งชี้/เกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

จากคณะกรรมการประเมิน

กิจกรรม/แนวทางในการพัฒนา

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

ตัวบ่งชี้ที่ 1  ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

ตัวบ่งชี้ 1.8 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของหน่วยงาน

ตัวบ่งชี้ใหม่ในปีการศึกษา 2564 ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

1.โครงการอบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น(ประเภทสายสนับสนุน) วันที่ 29 พ.ย. 2565 การกำหนดกรอบของตำแหน่งและระดับตำแหน่งเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นได้

 

 

2.  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการเขียนรายงานการวิเคราะห์) วันที่ 2-3 พ.ค. 2566เพื่อให้บุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจในการเขียนคู่มือปฏิบัติงานและการเขียนรายงานการวิเคราะห์งาน

 

ปีงบประมาณ 2566

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

 

 

 

 

 

 

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

5.1 เครือข่ายภายใน

มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ระหว่าง สำนักงานอธิการบดีกับสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (MOU) (1.9 – 5 (1)) มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ถึง วันที่31 พฤษภาคม 2568 โดยมีการกิจกรรม ร่วมกันระหว่างเครือข่ายกิจกรรม  โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ ดังนี้ 

  1. ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
  2. ความร่วมมือด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการของผู้มีผลงานดีเด่น
  3. ความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอน
  4. ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา
  5. ความร่วมมือด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
  6. ความร่วมมือด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

 โดยมีผู้เข้าร่วม จํานวน  20 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงาน หัวหน้างาน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง  ส่งผลให้การนำองค์ความรู้ทางวิชาการการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพไปดำเนินการสร้างความเข้มแข็งภายใต้กรอบประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นธรรม

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5