ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ธันยพงศ์ สารรัตน์ , วันวิสา นัยเนตร , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ตรัยเทพ ศรีสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

 1.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนัก/สถาบัน (1.9.1 (1))  เพื่อวางแผนการดำเนินงาน และได้กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานและดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (1.9.1 (2)) จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2564 (1.9.1 (3))  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันฯ และมหาวิทยาลัย

2.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีดำเนินการกำกับติดตามการดำเนินงานโดยการประชุมในแต่ละเดือน(1.9.1 (4)) และมีการรายงานผลต่อคณะกรรมการสถาบันและคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในแต่ละไตรมาส  (1.9.1 (5))  

2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

1.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกําหนดนโยบายการดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2564 เรื่อง นโยบายการดำเนินการประกันคุณภาพภายในขอบสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษและ ซึ่งอยู่ในแผนกลยุทธ์ นโยบายการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ข้อ 4 ที่ว่าจัดให้มีระบบและกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและรักษามาตรฐานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมให้บุคลากรมีการมีการจัดการความรู้ในการปฏิบัติงาน ภายใต้การกำกับดูแลของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และบุคลากรทุกคน (1.9.2 (1))  ดังนี้

1.1 พัฒนาบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานในทางปฏิบัติภารกิจทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมโดยเน้นหลักของมหาวิทยาลัยและสถาบันพัฒนาระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพการศึกษาขึ้นภายในหน่วยงานและสร้างความพร้อมที่จะให้หน่วย งานภายนอกหรือสถาบันเข้าตรวจสอบเพื่อการรับรองคุณภาพได้

1.2 กำหนดให้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม กระจายสู่ระดับหน่วยงานเพื่อสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ

1.3 พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่สามารถสะท้อนคุณภาพการปฏิบัติงานตามนโยบาย เป้าหมาย พันธกิจ และภารกิจของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

1.4 จัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อดําเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ    

1.5 นำระบบและการจัดการความรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

1.6 ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลและเผยแพร่ผลงานตามพันธกิจของระบบและกลไกลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1.7 ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก

 

2.มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้ระบบการประเมินออนไลน์ ESAR  (https://esar.sskru.ac.th/drupal7.71/ ) (1.9.2(2)) เป็นระบบสารสนเทศใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน สารมารถเขียนผลการดำเนินงานอัพโหลดเอกสารหลักฐานรายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. มีเว็บไซต์หน่วยงาน (www.ilac.sskru.ac.th/2021) (1.9.2 (3)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน มีการประชุมวางแผนงานเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการและจัดทำรายงานตามตัวบ่งชี้ต่างๆ อีกทั้งได้กำหนดเวลาเพื่อรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการต่างๆ โดยมีผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการที่ดูแลงานด้านประกันคุณภาพเป็นผู้ควบคุมติดตามการดำเนินงานและประเมินคุณภาพด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯ โดยมีขั้นตอนประกอบด้วย

1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน ดังนี้

3.1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ โดยกรรมการที่หน่วยงานประชุมแต่งตั้ง เพื่อการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพตามระยะเวลาที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด

3.2) การจัดทํารายงานตามไตรมาสและการจัดทำรายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา (วาระการประชุมการนำรายงานประจำเข้าผ่านความเห็นชอบ) และมีการเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ ผ่านเว็บไซต์ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม www.ilac.sskru.ac.th/2021 (1.9.3 (1))

 

4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจึงดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาตามขอเสนอแนะคณะกรรมการตรวจประเมินประกันคุณภาพภายใน ปการศึกษา 2563 เมื่อครั้งที่สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ยังเป็นกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้สังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และศูนย์ภาษา ภายใต้สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใหสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการจัดโครงการ/กิจกรรม ซึ่งส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันฯ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีแนวทางในการดําเนินกิจกรรมใหบรรลุพันธกิจ ทั้งด้านบริการการเรียนรูทางวัฒนธรรมและบูรณาการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การพัฒนาด้านภาษาและการบริการและการจัดการดานวัฒนธรรม ผลักดันงานภายในสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ได้อย่างถูกต้องเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจนครบถ้วนต่อไป

             ซึ่งได้รับการประเมินเมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2564  ณ ห้องประชุมวิเศษสิงหนาท อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม โดยได้รับข้อเสนอแนะ องค์ประกอบที่ 4: การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้

ตัวบ่งชี้

คะแนนที่ได้

ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

4.1

ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

5.00

-เกณฑ์ข้อ 1 ควรตัดออกเพราะมีแผนในเกณฑ์ข้อ 2 แล้ว

-การบูรณาการที่จะทำให้เกิด impact อย่างเป็นรูปธรรมควรใช้หลายหลักสูตรหลายคณะมาบูรณาการร่วมกัน

-เกณฑ์ข้อ 3 ไม่ควรใช้ในตัวบ่งชี้นี้ ถ้าเปลี่ยนเป็นเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรมไทยจะบ่งชี้คุณภาพมากกว่า

-สอบถามข้อมูลผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ข้อ 8 เพิ่มเติม

4.2

ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

5.00

-ผลการดำเนินงานขาดข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้ที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มหรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรม

-การทำวิจัยหรือการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองท้องถิ่นในการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ ขาดการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยทุนทางวัฒนธรรม

 

ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคุณภาพ

          -การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายได้จริง เห็นผลเป็นรูปธรรมควรตั้งโจทย์และกำหนดผลลัพธ์ (Output, Outcome) ให้ชัดเจนแล้วหาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ภายในคณะร่วมกับคณะหรือหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกเพื่อดำเนินการให้ตอบโจทย์และได้ผลลัพธ์ตามกำหนด ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับนักศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

          -ควรมีการประเมินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามเป้าหมายของแผนและวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมในแผนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

 

ซึ่งได้มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2563 มาปรับปรุงการทํางาน ตัวอย่างเช่น

 

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมิน

ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมโครงการเพื่อการดำเนินการ

พัฒนา/แก้ไข/ปรับปรุง

เป้าหมาย/

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ระยะเวลาในการดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

1. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์และส่งผลกระทบต่กลุ่มเป้าหมายได้จริง เห็นผลเป็นรูปธรรมควรตั้งโจทย์และกำหนดผลลัพธ์ (Output, Outcome) ให้ชัดเจนแล้วหาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ภายในคณะร่วมกับคณะหรือหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกเพื่อดำเนินการให้ตอบโจทย์และได้ผลลัพธ์ตามกำหนด ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับนักศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

4.1,4.2

1) กิจกรรมบูรณาการการเรียนกาสอนในด้านศิลปวัฒนธรรม             เช่น กิจกรรมวันลอยกระทง

2) ทางสถาบันภาษาฯ ได้สร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

1. เอกสารสรุปโครงการ

2. เอกสารลงนามความร่วมมือ

พฤศจิกายน 2564

พฤษภาคม 2565

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะ/วิทยาลัย

2. ควรมีการประเมินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามเป้าหมายของแผนและวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมในแผนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

4.1,4.2

1) ทางสถาบันภาษาฯ มีการกำกับติดตาม ประเมินตามเป้าหมายของแผนและวัตถุประสงค์โครงการพร้อมทั้งกำหนดกิจกรรมในแผนให้ชัดเจนขึ้น

1. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80%

 

 

3.  มหาวิทยาลัยควรจัดทำแผนผลักดันทั้งระยะยาว-ระยะสั้น ยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตรและทุกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้ (Working Knowledge) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลชัดเจนที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งต้องมีการกำกับติดตามการดำเนินการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

2.1.4

 

1. การจัดทำแผนผลักดันการพัฒนาภาษาอังกฤษในระยะยาว

1. พัฒนาระบบและกลไกในการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาแรกเข้า

แนวทางปฏิบัติ

1) มหาวิทยาลัยจัดทำคำสั่งคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษาและคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา โดยมีส่วนร่วมจากทุกคณะ/วิทยาลัยและสำนักที่เกี่ยวข้อง

2) คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการจากคณะ/วิทยาลัยต่างๆ ร่วมดำเนินการร่างแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในรูปแบบของแผนระยะยาว (ระยะ 5 ปี) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรในด้านภาษาอังกฤษเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้

3) ศูนย์ภาษาร่วมมือกับคณะ/วิทยาลัยในการร่างแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษในระดับคณะโดยกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงมุ่งเน้นทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับการประกอบอาชีพโดยเฉพาะ

4) ศูนย์ภาษาจัดทำ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาอังกฤษและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังคณะและวิทยาลัย/สาขาวิชา/อาจารย์ที่ปรึกษา

5) ศูนย์ภาษาดำเนินจัดกิจกรรมพบปะผู้บริหารคณะต่างๆ เพื่อชี้แจง รับทราบปัญหา ข้อเสนอแนะกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

6) ศูนย์ภาษาจัดการประชุมเพื่อกำกับการติดตามในการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษกับคณะ/วิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษกับนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

7) ศูนย์ภาษามุ่งเน้นเตรียมความพร้อมการพัฒนาทักษะด้านภาษาพร้อมสอบสำหรับนักศึกษาใหม่ในทุกระดับโดยเฉพาะการร่วมกับสาขาวิชาทุกสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยฯ จัดโครงการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเป็นวาระเร่งด่วนและจำเป็นสำหรับนักศึกษาใหม่ที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

8) ทุกปีการศึกษาให้คณะและวิทยาลัยรายงานการดำเนินการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษให้กับศูนย์ภาษารับทราบ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษในปีการศึกษาต่อๆไป

 

2. พัฒนาระบบและกลไกในการสอบวัดทักษะทางภาษาสำหรับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา

1) พัฒนาระบบการประเมิน Pretest/Posttest ทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาให้มีมาตรฐาน

2) จัดโครงการอบรมวัดทักษะภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL ITP, TOEIC, SSKRU-TEP, CEFR เป็นต้น

3) จัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษาที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานก่อนสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR

 

2. การจัดทำแผนผลักดันการพัฒนาภาษาอังกฤษในระยะสั้น

1. ศูนย์ภาษาดำเนินการถอดแผนพัฒนานักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี ออกเป็นแผนปฎิบัติการระยะ 1 ปี เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

2. ศูนย์ภาษาดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพภายหลังการสำเร็จการศึกษา

3. ศูนย์ภาษาร่วมกับคณะ/วิทยาลัยและสาขาวิชาต่างๆ ในการจัดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในวิชาชีพโดยเฉพาะ

4. ศูนย์ภาษาจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาตนเองผ่านสื่อการเรียนภาษาอังกฤษของศูนย์ภาษาโดยตรง

5. ศูนย์ภาษาส่งเสริมให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทุกคนเข้าสอบภาษาอังกฤษเพื่อให้ได้ผลคะแนนตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ กำหนด

1. นักศึกษามีผลคะแนนภาษาอังกฤษภายหลังการอบรมมากขึ้นร้อยละ 25 เป็นต้นไป

2. คณะ/วิทยาลัยทุกคณะมีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

มีนาคม-มิถุนายน 2565

ศูนย์ภาษาร่วมกับคณะ/วิทยาลัย

 

และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกันผ่านโครงการการจัดทำมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและการศึกษาดูงานต่างสถาบัน ได้แก่

 

5.1 เครือข่ายหน่วยงานภายใน

 

5.1 เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมกับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.9.5 (1)) เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สื่อการเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล พัฒนาเว็บไซต์และเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน

 

5.2 เครือข่ายหน่วยงานภายนอก

    5.2.1 เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม (1.9.5 (2)) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ สืบทอด ในด้านต่างๆให้คงอยู่สืบไป ดังนี้

           1.ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ภุมปัญญาท้องถิ่น และการแสดงแบบผ้านานาชาติ

          2.ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการวิจัย ด้านวิชาการ ด้านอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรและนักศึกษา

          3.ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

 

 5.2.2 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม/สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง (1.9.5 (3)) วันที่ 22 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา 4 ปี เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ ส่งเสริม เชิดชูและพัฒนางานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่นสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน 

5.2.3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาผ่านที่ประชุมสภาศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2564 (1.9 - 5(4))

6มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์

-

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน