ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น
โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 100 |
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ |
2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
คะแนนที่ได้ | = | ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 5 | ||
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 |
1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี
จำนวน3 หลักสูตรโดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่นในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยดังนี้
นวัตกรรมที่นักศึกษามีส่วนร่วม |
หลักสูตร/สาขาวิชา |
||||||||
1. การเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชา นวัตกรรม : วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดำเนินการโครงการการเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชาโดยอาจารย์ของ 3 สาขาวิชา คือ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ ในการบูรณาการรายวิชาการของแต่ละหลักสูตรเกิดการ บูรณาการในโครงการบริการวิชาการ ในวันที่ 8,16,22 ธันวาคม 2563 ณ บ้านหนองสรวง ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้
ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบูรณาการสร้างความร่วมมือกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 ในการให้ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนากิจกรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านและได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก ซึ่งร่วมโครงการร่วมกับวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้จัดโครงการและเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนพื้นที่บ้านหนองสรวงในการทำประชาพิจารณ์ (public hearing) จนสามารถสร้างพื้นที่นวัตกรรมจากโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชาที่นักศึกษาจะได้รับ ดังนี้ (1) นักศึกษาเข้าใจหลักการ จากผลการการทำประชาพิจารณ์ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก ได้บรรจุแผนปฏิบัติการงบประมาณในปีงบประมาณต่อไปในการพัฒนาสร้างตลาดชุมชนเพื่อจำหน่ายสินค้าในชุมชน บริเวณหนองมะเขื่อ ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่ติดกับเส้นทางคมนาคมระหว่างตำบลหนองครกกับเขตพื้นที่ของอำเภออุทุมพรพิสัย (2) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การบริหารจัดการน้ำจากหนองมะเขื่ออย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์พระราชา เพื่อใช้อุบโภคบริโภคหลังจากพัฒนาเป็นตลาดชุมชน (3) นักศึกษามีส่วนร่วมจากกระบวนการ และถือมีมีว่าในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการโครงการบริการวิชาการที่เป็นรูปธรรมจากวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยการ บูรณาการกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก
|
1. สาขาวิชารัฐศาสตร์ อาจารย์ : อาจารย์กิตติชัย ขันทอง นักศึกษา :
2. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ผศ.ดร.อลงกต แผนสนิท นักศึกษา:
3. สาขาวิชานิติศาสตร์ อาจารย์: ผศ.ทรณ์ สิทธิศักดิ์ นักศึกษา:
|
||||||||
ค่ายบริการวิชาการศูนย์วิจัยเด็ก “ทักษะชีวิต มัคคุเทศก์” สำหรับเด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบพื้นที่อำเภอพยุห์ นวัตกรรม : วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินโครงการค่ายบริการวิชาการศูนย์วิจัยเด็กมัคคุเทศน์น้อย สำหรับเด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบพื้นที่อำเภอพยุห์ โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก สามารถเล่าเรื่องและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ ในโครงการได้จัดกิจกรรมเรียนรู้การทำแผนที่ชุมชนโดยเริ่มจากบ้านไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ มีการเก็บและรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์ชาวบ้าน แล้วนำมาออกแบบวิธีการนำเสนอ การเล่าเรื่องอย่างไรให้ดูน่าสนใจ นอกจากนี้ยังได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ด้านการตัดต่อวิดีโอด้วยแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้ความรู้ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสร้างผลงานจนเกิดเป็นคลิปประชาสัมพันธ์ชุมชน เผยแพร่สู่โลกสังคมออนไลน์ให้ผู้คนได้รู้จักชุมชนมากยิ่งขึ้น |
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์: ผศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น นักศึกษา: - นายสิทธิกร สมทอง - นายวรายุส พลคำ |
ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยกฎหมายมีหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการร่วมสร้างนวัตกรรม 3 หลักสูตร ประกอบด้วย 1. สาขาวิชารัฐศาสตร์ 2.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 3.สาขาวิชานิติศาสตร์
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
5 |