ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , อนันศักดิ์ พวงอก , ศิริวุฒิ วรรณทอง , โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , ปวริศา แดงงาม , รุ่งทิวา เนื้อนา , นิลวรรณ จันทา , นงนุช แสงพฤกษ์ , ทินกร กมล
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

   

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เปิดการเรียนการสอน 9 หลักสูตร  โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  หรือ              บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น  ในปีการศึกษา 2563  มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  ดังนี้

       1. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์ (อ้างอิง 1.8-1(1) โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์)    

        2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน” (อ้างอิง 1.8-1(2) โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน”) 

      3.  สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  ได้จัดโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวพระราชดำริ ณ โรงเรียนปรางค์กู่  อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 26 เมษายน 2564 โดยเน้นการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการห้องสมุดให้แก่โรงเรียนและชุมชน  ซึ่งทางโรงเรียนมีสถานที่แต่ไม่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ  ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าว  ทางสาขาวิชาได้สร้างห้องสมุดและสอนวิธีการบริหารจัดการห้องสมุดอย่างเป็นระบบให้แก่นักเรียนโรงเรียนปรางค์กู่  (อ้างอิง 1.8-1(3) รายงานผลโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวพระราชดําริ โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่)

     4. สาขาวิชาภาษาจีน ได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเน้นให้เด็กจัดโครงการและเก็บข้อมูลเรียนรู้การทำวิจัย จนได้คู่มือมัคคุเทศก์ภาษาจีนให้เยาวชนทั่วจังหวัดศรีสะเกษได้นำไปใช้ (อ้างอิง1.8-1(4) งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ และ1.8-1(5) คู่มือมัคคุเทศก์ภาษาจีน)

    5. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น นักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และเป็นตัวแทนของวิศวกรสังคม ลงพื้นที่โครงการการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกยกระดับกลุ่มอาชีพยกระดับกลุ่มอาชีพ ณ บ้านปรือคันตะวันออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 24-26 มีนาคม 2564 โดยนำองค์ความรู้จากวิศวกรสังคมไปใช้ในกระบวนการลงพื้นที่ (อ้างอิง 1.8-1(6) รายงานการดำเนินงานโครงการการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก)

    6. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้จัดโครงการบริการวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาชุมชน และแนวทางการการพัฒนา โดยนักศึกษาได้ลงพื้นที่วิเคราะห์ชุมชน เพื่อให้วิเคราะห์ตัวเอง จนเกิดข้อสรุปในการแก้ปัญหา (อ้างอิง 1.8-1(7) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาชุมชน และแนวทางการการพัฒนา)

   7. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ โครงการเปิดม่านละคระเวทีนิเทศศาสตร์ ครั้งที่ 9 โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงปัญหาของสังคม โดยมีการแสดงและถ่ายสดออนไลน์ (อ้างอิง 1.8-1(8) โครงการเปิดม่านละคระเวทีนิเทศศาสตร์ ครั้งที่ 9)

  8. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ได้จัดโครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส เพื่อให้นักศึกษานำองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และบุคคลภายนอกได้รับองค์ความรู้ ผ่านการประกวด การแสดงออกของนักเรียน และนักศึกษา (อ้างอิง 1.8-1(9) รายงานผลการดำเนินงานโครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

                                   จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม    ×100
                                                         จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ 

                     แทนค่าการแปลงคะแนน

                                    8      ×100 =   ร้อยละ 88.89
                                    9

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

   คะแนนที่ได้ =                 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม                                                 ×5
                                     ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5   

                      แทนค่าการแปลงคะแนน

 

 

                                    88.89      ×5 =   4.44 คะแนน
                                    100

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.8 - (1)
1.8 - (2)
1.8 - (3)
1.8 - (4)
1.8 - (5)
1.8 - (6)
1.8 - (7)
1.8 - (8)
1.8 - (9)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
2.78 2.78