ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น
โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 100 |
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ |
2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
คะแนนที่ได้ | = | ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 5 | ||
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 |
1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอน 9 หลักสูตร โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม โครงงาน หรืองานวิจัย หรือ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2564 มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม โครงงาน หรืองานวิจัย ดังนี้
1. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ ได้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตสามมิติ ณ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ(1.8-1(1) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายสามมิติที่นี่ศรีสะเกษ)
2. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้จัดโครงการภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาล (Japanese for Careworker) โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่น (1.8-1(2) รายงานผลโครงการภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาล (Japanese for Careworker))
3. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ได้จัดโครงการบริการวิชาการการพัฒนาห้อสมุดโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดบ้านโนนคูณวิทยา ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดยเน้นการให้นักศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการห้องสมุดให้แก่โรงเรียนและชุมชน ซึ่งทางโรงเรียนมีสถานที่แต่ไม่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าว ทางสาขาวิชาได้สร้างห้องสมุดและสอนวิธีการบริหารจัดการห้องสมุดอย่างเป็นระบบ (1.8-1(3) รายงานผลโครงการบริการวิชาการการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดบ้านโนนคูณวิทยา ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ)
4. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการภาคีเครือข่ายวิชาการวิชาชีพเครือข่ายนักสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและสุขภาวะชุมชนระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ภาคีเครือข่ายวิชาการวิชาชีพเครือข่ายนักสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและสุขภาวะชุมชน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 (1.8-1(4) งานการดำเนินความร่วมมือทางวิชาการภาคีเครือข่ายวิชาการวิชาชีพเครือข่ายนักสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและสุขภาวะชุมชนระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ภาคีเครือข่ายวิชาการวิชาชีพเครือข่ายนักสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและสุขภาวะชุมชน)
5. สาขาวิชาภาษาจีน ได้จัดโครงการจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ (ฉบับภาษาจีน) (1.8-1(5) เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว เป็นการให้นักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ จัดระเบียบเรียบเรียงข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการค้นคว้า บูรณาการกับงานวิจัย ฝึกการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลออกมาเป็นภาษาจีน ให้ชุมชนได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ
6. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ได้จัดโครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน” ณ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอบึงบูรพ์ และอำเภอปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ในวันที 9-11 กรกฎาคม 2564 (1.8-1(6)
7. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ จากการสร้างคู่มือเส้นทางนำเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ บูรณาการกับงานวิจัย และการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชานี้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการท่องเที่ยวกับชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ (1.8-1(7)
8. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทางการเขียนภาษาไทยด้านการแต่งคำประพันธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อกการสื่อสาร ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสืบสานภาษาเชิงวรรณศิลป์ให้กับชุมชน (1.8-1(8)
9. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการ สัมมนาปัญหาชุมชน “เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย” บ้านโนนเกตุ ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (1.8-1(9)
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
9 สาขาวิชา | 5 |