ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ผลลัพธ์ของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , เสถียร สีชื่น , วศณ มังชาดา , อัจฉริยะ ศรีทา , อภิสิทธิ์ ไชยยงค์ , ปิยชนก จันทร์ชัยภักดิ์ , กิจติพงษ์ ประชาชิต , ภิรัญญา จันทร์เปล่ง , วรางคณา วิริยะพันธ์ , ศิริวุฒิ วรรณทอง , นงนุช แสงพฤกษ์ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4. หลักฐานประกอบ ได้แก่ ชื่อนวัตกรรม ลักษณะของนวัตกรรม กระบวนการที่นักศึกษามีส่วนร่วม ผู้ใช้ประโยชน์ (ชื่อหน่วยงาน ตำแหน่ง) ผลที่เกิดขึ้นกับการนำนวัตกรรมไปใช้ โดยนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมควรตรงหรือสัมพันธ์กับศาสตร์ของนักศึกษา

ผลการดำเนินงาน

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เปิดการเรียนการสอน 9 หลักสูตร  โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  หรือ  บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น  ในปีการศึกษา 2565  มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  ดังนี้

1. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ โครงการงานศิลปะและภาพถ่ายในงาน Exhibition Art and Photograph "4 tai tribes of Sisaket Province" ที่บอกเล่าเรื่องราวความงดงามของวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ (อ.ไพรบึง) ผ่านผลงานศิลปะ และภาพถ่าย กว่า 70 ชิ้น ในเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2566 หน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง1.8-1(1) โครงการงานศิลปะและภาพถ่ายในงาน Exhibition Art and Photograph "4 tai tribes of Sisaket Province" ที่บอกเล่าเรื่องราวความงดงามของวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ )

2. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ WORKSHOP สีน้ำ คนเหมือน(ปราชญ์ชุมชน คนไพรบึง) ในวันที่ 18 มิถุนายน 2566 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการร่างภาพหุ่นนิ่ง และภาพคนเหมือนด้วยสีน้ำ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธีรวรรณ บุญคำ และ อาจารย์วิโรจน์ สายเย็นประเสริฐ  วิทยากรให้ความรู้ในวันนี้ และมีทีมอาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษคณะครูโรงเรียนเครือข่ายศิลปะจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมเป็นทีมวิทยากร Workshop ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคาร 4 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม  อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 1.8-1(2) โครงการ WORKSHOP สีน้ำ คนเหมือน(ปราชญ์ชุมชน คนไพรบึง) ในวัน 18 มิถุนายน 2566)

3. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน โครงการโครงการวิจัยชุมชนศึกษา (อ้างอิง 1.8-1(3)โครงการวิจัยชุมชนศึกษา)

4. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิชาการผลิตภาพยนตร์และมัลติมีเดีย นำนักศึกษาลงถ่ายทำคลิปเพื่อส่งเข้าสำนักข่าวพลเมือง Thai PBS อย่างต่อเนื่อง (อ้างอิง 1.8.1(4)วิชาการผลิตภาพยนตร์และมัลติมีเดีย)

5. สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล โครงการบริการวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การถ่ายภาพเพื่อพัฒนาสื่อในยุคดิจิทัล” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ การถ่ายภาพเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนและนำมาใช้ประโยชน์ให้แก่นักเรียน โรงเรียนสิริเกศน้อมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ 30 คน  โดยวิทยากร อาจารย์รัตตัญญู ศิลาบุตร อาจารย์สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (อ้างอิง 1.8.1(5)โครงการบริการวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การถ่ายภาพเพื่อพัฒนาสื่อในยุคดิจิทัล” )

6. สาขาวิชาภาษาจีน ได้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการภาษาพาเพลิน (PLEARN English-Chinese) ประจำปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ให้กับโรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา บูรณาการการเรียนการสอนและบริการวิชาการความรู้ด้านภาษาจีนให้กับชุมชน (อ้างอิง (1.8.1(6) โครงการบริการวิชาการภาษาพาเพลิน (PLEARN English-Chinese)) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสอน  ให้นักศึกษาจัดทำเป็นคู่มือเพลงภาษาจีนเพื่อประกอบการสอนรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น นำเอาไปใช้ประโยชน์ ในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับน้อง ๆ โรงเรียนยางชุมน้อยพิทยาคม

7. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จัดโครงการบริการวิชาการ  “กิจกรรมเปิดโลกภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น” ประจำปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 23 มกราคม 2566 ให้กับนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ศรีสะเกษ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น  และการบริการวิชาการความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

8. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โครงการศึกษาดูงานด้านประวัติศาสตร์“จากดองเร็กถึงถมอรัตน์ยลประวัติอ่านอดีต” ระหว่างวันที่ วันที่27 - 31 มีนาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ศึกษาข้อมูล/ประวัติความเป็นมาของเมืองศรีเทพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะการลงพื้นที่ภาคสนาม การศึกษา อภิปราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความรู้และวิธีการทางประวัติศาสตร์ และเพื่อให้เกิดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สังคม และประเทศชาติ

9. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ English Camp for Teens วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ 12-13 พฤศจิกายน 2565 จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้สาขาวิชายังได้จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมค่าย ซึ่งประกอบไปด้วย เกมส์ภาษาอังกฤษ เพลงค่ายภาษาอังกฤษ และสรุปเนื้อหาไวยากรณ์ซึ่งสามารถใช้คู่มือเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมได้

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

 

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ
9
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
9

= ร้อยละ 100

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5

ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = 100
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5

100

 

= 5 คะแนน

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.8 - (1)
1.8 - (2)
1.8 - (3)
1.8 - (4)
1.8 - (5)
1.8 - (6)
1.8 - (7)
1.8 - (8)
1.8 - (9)
1.8 - (10)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
ร้อยละ 100 5