ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , อนันศักดิ์ พวงอก , พรเทพ เจิมขุนทด , ทิวาพร ใจก้อน , ตรัยเทพ ศรีสุข , ธัญทิพ บุญเยี่ยม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนถึงความสามารถของบัณฑิตในการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การเรียนรู้เพื่อการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วย
- ระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล ดังต่อไปนี้

    1. คณะกรรมการได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.7-1(1) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย)
     2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 1.7-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562)
     3. คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล (อ้างอิง 1.7-1(3) ระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล)

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลจากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรทั้ง 9 หลักสูตรที่เปิดสอนภายในคณะฯ จากนั้นคณะกรรมการได้รวบรวบข้อมูลมาจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 1.7-2(1) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล)

          ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1/ 2562 มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ในวันที่ 22 กรกฎาคม  2562 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 1.7-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1/2562 หน้าที่ 10) และเสนอคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุม ครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน  2562  เห็นชอบแผนแผนงานต่าง ๆ  ประจำปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 1.7-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมประจำคณะ ครั้งที่ 5/2562 หน้าที่ 15

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล รวมทั้งสิ้น 22,180 บาท (อ้างอิง 1.7-3(1) งบประมาณพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) โดยจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการ 1 โครงการ คืองบประมาณดำเนินโครงการอบรมและสอบวัดความรู้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล โดยแบ่งจัดกิจกรรมเป็น 2 วัน ดังนี้
     1. จัดกิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล วันที่ 8 มีนาคม 2563 (อ้างอิง 1.7-3(2) รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล)
     2. จัดสอบ
IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด วันที่ 10 มีนาคม 2563 (อ้างอิง 1.7-3 (3) ประมวลภาพกิจกรรมการสอบIC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด)

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

คณะได้ดำเนินการและมีการกำกับติดตาม และการกระบวนการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้ 
1) คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล
มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา
2562 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (อ้างอิง 1.7-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 1.7-4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 11-51) และนำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และโครงการ/กิจกรรมประจำปีการศึกษา  2562  ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 1.7-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2/2563 หน้าที่ 20-60)   

2) คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  มาปรับปรุงแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 1.7-4(4) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2562) (อ้างอิง 1.7-4(5) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2563)

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายจาก 9 สาขาจำนวนทั้งสิ้น 362 คน มีผู้เข้าสอบ IC3 หรือเทียบเท่าหรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 298 คน (คิดเป็นร้อยละ 82.32) และมีผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่าหรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 67.12 จากจำนวนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด (อ้างอิง 1.7-5(1) รายงานผลการสอบIC3 หรือเทียบเท่าหรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5