ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สันติภาพ รัตนวรรณ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

1. มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล ดังนี้

1. คณะกรรมการดำเนินงานได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดเป็นแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (1.7-1(1))

2. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดำเนินการจัดทำประกาศ และจัดทำแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 (1.7-1(2))

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

2. มีแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรโดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลจากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรทั้ง 3หลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตซึ่งได้มีการดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้

1. คณะกรรมการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายพัฒนานักศึกษา จัดทำร่างแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลปีการศึกษา 2565 (1.7-2(1)

2. คณะกรรมการร่วมกับฝ่ายพัฒนานักศึกษา นำเสนอแผนต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2566 วาระที่ 4.8 (1.7-2(2))

3. เมื่อแผนพัฒนานักศึกษาด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลได้รับการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ จึงได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในคราวประชุมครั้งที่  1/2566 วาระที่ 4.3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (1.7-2(3))

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

3. มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

       วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล (1.7-3(1)) งบประมาณพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) ซึ่งวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ตระหนักถึงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการด้านการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล ดังนี้

กิจกรรม/โครงการ

วัน/เดือน/ปี
จัดกิจกรรม/โครงการ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ

  1. โครงการอบรมและทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1

วันที่ 23 มกราคม 2566 และวันที่ 30 มกราคม – 3กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting

นักศึกษาชั้นปีที่ 4
จำนวน 179 คน

  1. โครงการอบรมและทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2

วันที่ 24 มกราคม 2566 และวันที่ 6 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting

นักศึกษาชั้นปีที่ 1
จำนวน 118 คน

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

4.มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

       คณะกรรมการดำเนินงานงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 (1.7-4(1)) ดังนี้

วัตถุประสงค์ของแผน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ตามวัตถุประสงค์ของแผน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

1. เพื่อเตรียมความพร้อมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลแก่นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา

จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

1 โครงการ

บรรลุ

บรรลุ

2. เพื่อจัดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลแก่นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา

ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่สอบผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

ร้อยละ 50

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สอบผ่านเกณฑ์การทดสอบและทักษะด้านดิจิทัล จำนวน 139 คน จากจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 77.65

บรรลุ

    ทั้งนี้ได้มีการกำกับติดตาม และการกระบวนการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนเพื่อนำไปปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไป ดังนี้

1. นำผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 4.3 (1.7-4(2)) และการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 4.6 (1.7-4(3))

2. นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการมาปรับปรุงแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 ดังนี้

  • ให้มีการจัดโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาทุกชั้นปี
    ในประเด็นและหัวข้อที่ใช้ในการสอบ เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมและมีทักษะเพื่อใช้ในการสอบชั้นปีสุดท้ายมากขึ้น
  • ควรมีการจัดอบรมให้กับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านในครั้งแรก เพื่อให้มีทักษะในการสอบครั้งต่อไป และสามารถสอบผ่านได้
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

5. มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายจาก 3สาขาจำนวน179คน มีผู้เข้าสอบ IC3 หรือเทียบเท่าหรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 179คน (คิดเป็นร้อยละ 100.00) และมีผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่าหรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 139คน คิดเป็นร้อยละ77.65 จากจำนวนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด (1.7-5(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5