ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ

1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

 

1.1 มีการประชุมเพื่อหารือประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 5/2565 วันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.6-1(1)) โดยมีเป้าหมายซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและภารกิจของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ด้านการสนับสนุนการผลิตบัณฑิต

 

1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามตัวบ่งชี้ด้านการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565 (1.6-1(2)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลกร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักฯ รองผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงานสำนักฯ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อจัดทำร่างแผนการจัดการความรู้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.6-1(3))

2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1

2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.6-2(1)) จำนวน 3 คน จากงานทะเบียนและประมวลผล 2 คน คือ 1) นางสาวทาริกา นัยเนตร 2) นายจิระศักดิ์ สระสิงห์ และงานบริการวิชาการ 1 คน คือ นายเทวา ขันติวงษ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานด้านการรับสมัครและรายงานตัวนักศึกษา

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด

3.1 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ในเรื่อง เทคนิคการรับสมัครและรับรายงานตัวออนไลน์ คือ อาจารย์ ดร.ปฏิมากร จริยฐิติพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และนางสาวณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ หัวหน้าสำนักงานอำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และได้มีสรุปการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.6-3(1))

3.2 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้เผยแพร่ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย 3 คน ได้แก่ 1) นางสาวทาริกา นัยเนตร 2) นายเทวาขันติวงษ์ และ 3) นายจิระศักดิ์ สระสิงห์ ความรู้ที่ถ่ายทอดประกอบด้วย 1) คำถามที่พบและรายละเอียดการสมัคร 2) หลักฐานการสมัครและรายงานตัว 3) วิธีการสมัครและรายงานตัว (1.6-3(2))

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

4. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ การรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) ดังนี้

 

4.1 มีการรวบรวมประเด็นความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีการรับสมัครและรับรายงานตัวออนไลน์ มาจัดทำเป็นเอกสาร one page เทคนิคการรับสมัครและรายงานตัวออนไลน์ และได้เผยแพร่ทั้งเป็นเอกสารและออนไลน์ (1.6-4(1))

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครและรายงานตัวออนไลน์

1. ประกาศรับสมัคร http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s1.html

2. สาขาวิชาและคุณสมบัติที่เปิดรับ http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s3.html

3. ค่าใช้จ่ายของแต่ละสาขา http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s18.html

4. วิธีการสมัครพร้อมรายงานตัว http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s17.html

5. สรุปการถอดความรู้ ถาม - ตอบ จากกิจกรรม km เทคนิคการรับสมัครและรายงานตัวออนไลน์

http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s22.html

6. เว็บไซต์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ http://www.oass.sskru.ac.th/

7. เว็บไซต์รับสมัครนักศึกษา http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s1.html

8. เพจสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ https://www.facebook.com/OASS2021

 

วิธีการสมัครพร้อมรายงานตัว

1. เข้าระบบสมัคร http://reg.sskru.ac.th/cv1/index.php

2. ตรวจสอบคุณสมบัติตามประกาศ http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s1.html

3. ออกรหัสผู้สมัครและเปลี่ยนสถานะให้รายงานตัว

4. เข้าระบบรายงานตัว http://202.29.57.13/recruitment/

5. ชำระค่าสมัครและค่ารายงานตัว http://www.oass.sskru.ac.th/std.sskru/s17.html

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

5. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ นำความรู้จากทักษะของผู้มีประสบการณ์มาใช้ในการทำงานด้านการรับสมัครและรายงานตัวรวดเร็วขึ้น ความถูกต้องมากขึ้น ดังนี้

 

5.1 นายจิระศักดิ์ สระสิงห์ รับสมัครและรับรายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ นักศึกษาที่ไม่ใช่สาขาครุศาสตร์ ในรอบทั่วไป และรอบเพิ่มเติม (1.6-5(1))

 

5.2 นายเทวาขันติวงษ์ รับสมัครและรับรายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ นักศึกษาที่ไม่ใช่สาขาครุศาสตร์ ในรอบทั่วไป และรอบเพิ่มเติม (1.6-5(2))

 

5.3 สำนักส่งเสริมได้ทำการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการรับสมัครและรายงานตัวออนไลน์ไปยังคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการรับสมัครและรับรายงานตัวได้เอง (1.6-5(3))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5