ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ชนาภัค มุลกะกุล , สรวีย์ คำนวล , กิตติพงศ์ สอนเจริญ , ตรัยเทพ ศรีสุข , วันวิสา นัยเนตร
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ ดังนี้

 1. สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนัก/สถาบัน (1.6.1 (1))  เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ภายใต้การดำเนินงาน สังเคราะห์ประเด็นความรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

2. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน คือ  พันธกิจที่ 3 : สืบสานและอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประยุกต์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า โดยมีการจัดประชุมและมีการกำหนดประเด็นความรู้ด้านศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี ภายใต้การดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงาน ศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี (1.6.1 (2))  

2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้กำหนดให้บุคลากรเครือข่ายด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประกอบด้วย บุคลากรที่รับผิดชอบด้านศิลปะและวัฒนธรรมและนักศึกษาที่ศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม เข้าร่วมการจัดการความรู้ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี (1.6.2 (1))

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนด และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด ดังนี้

1.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี (1.6.3 (1)) ให้กับบุคลากรและนักศึกษา เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในพิธีการต่างๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย (1.6.3 (2)) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ อาจารย์ระพีพรรณ จันทรสา ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเป็นวิทยากรให้ความรู้ ผ่านการสนทนากลุ่ม ถอดบทเรียนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในงานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี และถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติในกลุ่มย่อย ในการอบรมครั้งนี้ (1.6.3 (3)) 

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้รวบรวมองค์ความรู้ด้าน งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี โดยเริ่มจากกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ การสาธิตในขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักพระราชวังและระเบียบของกระทรวงวัฒนธรรม จนได้แนวปฏิบัติที่ถูกต้องนำมาพัฒนาเป็นคู่มือการปฏิบัติงานด้านศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี เผยแพร่ให้ผู้ทีสนใจได้ศึกษา

          จากรายงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี ทางสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้นำแนวปฏิบัติที่ดีนี้เผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยจัดทำเป็นคู่มือขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานพระราชพิธี รัฐพิธีและพิธีการต่างๆ ตามขนมธรรมเนียมประเพณีไทย (1.6.4 (1))    

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้นําเอาองค์ความรู้ด้านราชพิธี รัฐพิธีและพิธีการต่างๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโครงการ เช่น

1.การถวายความเคารพที่ถูกต้องต่อพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโครงการวันราชภัฏสดุดี (1.6.5 (1))

2.การวางพานพุ่มเงิน พุ่มทอง การเปิดกรวย กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพรอย่างถูกต้องในโครงการวันเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงรัชกาลที่ 10 (1.6.5 (2))

3.การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างถูกต้องในกิจกรรมในการประกอบพิธีสงฆ์ในวันรำลึกพณฯ ท่านบุญชง วีสมหมาย (1.6.5 (3))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน