ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ไพบูลย์ คำเสียง , พีรพัฒน์ แสงขาว , วรรณิดา ดวงมณี
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ

นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการ กำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้ 

     1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 (1.6 – 1 (1) โดยมีผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ  หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ หัวหน้างาน พร้อมด้วยบุคลากรในแต่ละงาน  มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 

2. มีคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (2.1-2(2)) 

3. มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการ การจัดการความรู้ด้านการใช้ Google App (1.6 - 1 (3)) เพื่อสร้างระบบการทำงานให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. มีรายงานการประชุมเพื่อการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 1 เรื่อง คือ การใช้ Google App เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีเป้าหมายการจัดการความรู้เรื่อง Google App  ตามมติการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565  (1.6 - 1 (4)) 

5. มีแผนการดำเนินงานตามพันธกิจ ด้านการจัดการเรียนรู้ KM ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.6 – 1 (5)) และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 (1.6 – 1 (6))

2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1

นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กำหนด  ดังนี้ 

      มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ไว้ในแผนการจัดการความรู้ (1.6 – 2 (1))  จำนวน 17 คน ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง ให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการ การจัดการความรู้ด้านการใช้ Goole App เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมรการทำงาน ลงวันที่ 8 เมษายน 2565 (1.6 – 2 (2)) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการใช้ Google App ประกอบด้วยด้านการใช้ Google Form และด้านการใช้ Google Sheets เพื่อสร้างระบบการทำงานให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับบุคลากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้  

ประเด็นความรู้ 

กลุ่มเป้าหมาย 

เทคนิคการใช้งานGoogle Form 

บุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 17 คน 

เทคนิคการใช้งานGoogle Sheets 

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด

นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด ดังนี้ 

1. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการใช้ Google App เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ครั้งที่ 1  ในวันวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 09.30-12.00 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting (1.6 – 3 (1)) 

2. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการใช้ Google App เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ครั้งที่ 2 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting (1.6 – 3 (2)) 

3. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการใช้ Google App เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ครั้งที่ 3 เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting (1.6 – 3 (3))

โดยมีกลุ่มเป้าหมายใน การแปลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยบุคลากรสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เข้าร่วมจำนวน 14 คน หลังจากที่ได้แนวปฏิบัติที่ดี มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการฯ (1.6 – 3 (4))

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  ดังนี้

มีการนำแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 2 ระบบ คือ 

      1) ระบบ Google Sheet ในการคุมทะเบียนเลขหนังสือ เอกสาร ทางราชการของสำนักนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.6 – 4 (1))  

     2) มีระบบ Google Sheet ในการคุมงบประมาณประจำปีของสำนักนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.6 – 4 (2)) 

และมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ สำนักวิทยบริการฯฯ (1.6 – 4 (3))

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

นักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง ดังนี้  

     มีการนำแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การคุมทะเบียนเลขหนังสือ เอกสาร ทางราชการของสำนักนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย Google Sheet (1.6 – 5 (1)) และแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของสำนักนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย Google Sheet (1.6 – 5 (2)) และนำเอาแนวปฏิบัติที่ดี ทั้ง 2 เรื่อง มาปรับใช้ในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้กระบวนการทำงานมีความสะดวกและรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความเสี่ยงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ได้โดยสามารถเข้าใช้ได้ได้ที่ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยฯ (1.6 – 5 (3))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5