ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , นงนุช แสงพฤกษ์ , รุ่งทิวา เนื้อนา , ปวริศา แดงงาม , ทินกร กมล , นิลวรรณ จันทา , ตรัยเทพ ศรีสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ (อ้างอิง 1.6-1(1) ระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ดังต่อไปนี้

          1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการออกคำสั่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ 296/2563 เรื่อง  แต่งตั้งคณะ กรรมการศูนย์ภาษาประจำปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 1.6-1 (2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

          2. คณะกรรมการฯ กําหนดระบบการพัฒนาสงเสริมนักศึกษา   ดานภาษาอังกฤษ โดยนำแนวทางจากประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏ            ศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.6-1 (3) ประกาศ    มหาวิทยา ลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย)

          3. เนื่องจากเป็นปีการศึกษาที่สองสำหรับการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่ 1.6 คณะกรรมการฯได้มีการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่ 2/2563 (อ้างอิง 1.6-1 (4) รายงานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่ 1/2563)  เพื่อกำหนดแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ (อ้างอิง 1.6-1(5)แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563)

          4. ได้นำแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 4/ 2562 มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29 ตุลาคม  2563 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิ ภาพ (อ้างอิง 1.6-1(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หน้าที่ 12-13) และนำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563 เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563  เพื่อเห็นชอบแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิง 1.6-1(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14)

          5. คณะกรรมการฯ มีการดำเนินงานตามแผน โดยให้นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 มีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ โดยต้องเข้ารับการอบรมเตรียมความพร้อมและทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษก่อนออกฝึกประสบการณ์ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 (1.6-1(8) รายงานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่ 3/2563)

          6. มีการจัดอบรมภายใต้โครงการอบรมเตรียมความพร้อมการสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้

               6.1 โครงการอบรมเตรียมความพร้อมการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ก่อนสำเร็จการศึกษา ในวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR และมีการจัดการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ให้กับนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นการสุ่มนักศึกษาเพื่อทดลองสอบ   (อ้างอิง 1.6-1(9) สรุปโครงการอบรมเตรียมความพร้อมการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ก่อนสำเร็จการศึกษา)

               6.2 โครงการอบรมภายใต้โครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษและการทดสอบ SSKRU-TEP สำหรับนักศึกษาปี 1 (อ้างอิง 1.6-1(10) สรุปโครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษและการทดสอบ SSKRU-TEP สำหรับนักศึกษาใหม่)

               6.3 คณะกรรมการฯ ให้ความร่วมมือกับศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ  ในการส่งนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 และมีการจัดทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ให้กับนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.6-1(11) ประมวลภาพโครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21)

         7. คณะกรรมการมีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนงานพัฒนานักศึกษาอ้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา  2563 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (อ้างอิง 1.6-1 (12) รายงานผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ CEFR นักศึกษาปี 4 ประจำปี 2563) (อ้างอิง 1.6-1(13) รายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 1.6-1(14)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 26) และนำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา  25623 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะฯ และนำไปปรับปรุงผลการดำเนินงาน วางแผนในปีการศึกษาถัดไป (อ้างอิง 1.6-1(15) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 26)

 

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีกระบวนการจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ดังนี้

          1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการออกคำสั่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ 215/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ภาษา ประจำปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 1.6-2(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

         2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรต่าง ๆ ทั้ง 9 หลักสูตรที่เปิดสอนภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผ่านคณะกรรมการศูนย์ภาษา ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่1/2563 (อ้างอิง 1.6-2 (2) 1.6-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่ 2/2563)

         3. คณะกรรมการศูนย์ภาษาได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 (เอกสารอ้างอิง 1.6-2(3แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีการศึกษา 2563) โดยแผนดังกล่าวได้ปรับปรุงจากแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 – 2565  (อ้างอิง 1.6-2(4)แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2562 – 2565)  และ แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2563 (1.6-2 (5) แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2563) และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 4/ 2563 มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29 ตุลาคม  2563 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 1.6-1(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หน้าที่ 12-13) และนำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563 เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563  เพื่อเห็นชอบแผนแผนแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ  ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิง 1.6-1(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14)

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ เพื่อใช้ในการจัดหาสิ่งสนับสนุนดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 42,600 บาท (อ้างอิง 1.6-3(1) แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564 หน้าที่ 39-43)
          1. ด้านงบประมาณ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดสรรงบประมาณ ให้ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สำหรับจัดการอบรมให้นักศึกษา จำนวน 22,600 บาท

          2. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

               2.1 ศูนย์ภาษาเพื่อจัดหาหูฟัง สำหรับใช้ในการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR อีก 20,000 บาท

               2.2 ศูนย์ภาษาได้จัดโครงการอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาสำหรับการอบรม (อ้างอิง 1.6-3(2) ห้องปฏิบัติการทางภาษา)

               2.3 ศูนย์ภาษาได้ดำเนินการจัดการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ด้วยห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (อ้างอิง 1.6-3(3) ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์)

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังนี้

         1. คณะกรรมการฯ มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา  2563 (เอกสารอ้างอิง 1.6-4(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ภาษา ครั้งที่ 1/2564) และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา (อ้างอิง 1.6-4(2) รายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 1.6-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 26)

         2. คณะกรรมการ นำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา  25623 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะฯ และนำไปปรับปรุงผลการดำเนินงาน วางแผนในปีการศึกษาถัดไป (อ้างอิง 1.6-4(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 26)

        3. คณะกรรมการฯ นำผลการประเมินไปดำเนินการปรับปรุงในแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 (1.6-4 (7)) โดยดำเนินการเพิ่มโครงการฯในแผนพัฒนานักศึกษาและจะดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการฯเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษได้อย่างต่อเนื่องและลงรายละเอียดกับนักศึกษาแต่บุคคลได้มากขึ้น ในสถานการณ์โควิด -19

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ดังนี้

         1. นักศึกษาเข้าสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด โดยนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ชั้นปีที่ 4 จำนวน 291 คน ได้ถูกสุ่มให้สอบ ทั้งหมด 59 คน คนคิดเป็นร้อยละ 20.27 ของนักศึกษาทั้งหมด (สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ไม่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4)

         2. นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์มีผู้ผ่านเกณฑ์ B1 ทั้งหมด 9 คน จาก นักศึกษาทั้งหมด 59 คน(เป็นการสุ่มทดลองสอบในการสอบครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละประมาณ 15.25 ซึ่งยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ที่ 1.6 โดยมีรายละเอียดผลการสอบดังต่อไปนี้

               ระดับ A1 19 คน คิดเป็น 32.20%

               ระดับ A2 ทั้งหมด 31 คน คิดเป็น 31.62%

               ระดับ B1 ทั้งหมด 8 คน คิดเป็น 13.55%

               ระดับ B2 1 คน คิดเป็น 1.69%

               รวมนักศึกษาผ่านตามเกณฑ์ B1 ขึ้นไปทั้งสิ้น 9 คน หรือ 15.25% (อ้างอิง 1.6-5(1)รายงานผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ทั้ง 8 สาขาวิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5