ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ตรัยเทพ ศรีสุข , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , จักรชัย อินธิเดช , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งสถาบัน ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2563 ดังต่อไปนี้

1. มีการจัดตั้งศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษขึ้น ตามมติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ในวาระที่ 4.3 (1.6-1(1)) เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษในระดับสถาบัน รวมทั้งจัดการบริการวิชาการ โดยให้ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานระดับงานอยู่ภายใต้การบริหารของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2. มีการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 0123/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6-1(2)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา และมหาวิทยาลัยได้มีการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 0124/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6-1(3)) โดยมีอาจารย์และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯนี้ 

3. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 1/2564 (1.6-1(4)) ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (1.6-1(5)) โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษควบคู่กับการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ที่ระบุไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 (1.6-1(6)) และจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2562 – 2565 (1.6-1(7)) อย่างมีทิศทาง พร้อมทั้งนำระบบการจัดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR (1.6-1(8)) เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสอบวัดระดับและพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ตลอดจนศูนย์ภาษาฯได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง ปฎิทินการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 (1.6-1(9)) เพื่อดำเนินการจัดทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ 

4. มีการดำเนินการทดสอบภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมทางด้านภาษาอังกฤษให้มีความหลากหลายตามคำแนะนำของคณะกรรมการดำเนินงานฯ และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯ ในปีที่ผ่านมา โดยกำหนดให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 จะได้รับการสอบวัดระดับทางด้านภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง คือ 1) ก่อนเข้าศึกษา และ 2) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งการทดสอบก่อนเข้าศึกษาได้ดำเนินการโดยใช้ข้อสอบ SSKRU-TEP ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์ภาษาเอง ซึ่งศูนย์ภาษาได้ดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบทดสอบ SSKRU-TEP มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6- 1(10)) โดยข้อสอบได้ผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ข้อสอบมีมาตรฐานและเหมาะสมกับการวัดระดับภาษาของนักศึกษาในสถาบัน (1.6-1(11))

5. ศูนย์ภาษาได้นำแบบทดสอบ SSKRU-TEP จัดทดสอบให้กับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในปีการศึกษา 2563 ในระหว่างวันที่ 7 และ 14 ตุลาคม 2564 (1.6-1(12)) เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาที่เข้าศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในด้านภาษาอังกฤษและจัดเก็บผลคะแนนนักศึกษาใหม่เพื่อวางแผนในการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษในระหว่างการเรียนในมหาวิทยาลัยฯใน 4-5 ปีที่เหลือ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,675 คน มีผู้เข้าสอบจำนวน 1,462 คิดเป็นร้อยละ 87.28

6. มีการจัดทำรายงานสรุปผลการจัดสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษา คณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ครั้งที่ 11/2563 (1.6-1(13)) เพื่อนำข้อมูลผลคะแนนไปพัฒนาและยกระดับนักศึกษาเฉพาะกลุ่มในระยะเวลาที่ศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

2จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการดังต่อไปนี้

1. มีการออกคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 0123/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ฝ่ายการคลัง งานพัสดุ งานอาคารสถานที่ ร่วมดำเนินการกำหนดแนวทางในการบริหารศูนย์ภาษา และคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ 0124/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6-2(2)) โดยมีอาจารย์และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ดำเนินงานส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านภาษาแก่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ นี้

2. มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) ซึ่งเป็นแผนระดับกลยุทธ์เพื่อเป็นทิศทางให้มหาวิทยาลัย คณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเข็มทิศในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน และได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 4/2563 (1.6-2(3)) โดยมีตัวแทนจากทุกคณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจรรม โครงการ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และร่วมกันยก (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนกลยุทธ์ฯ ระยะ 5 ปี หลังจากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 (1.6-2(4)) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

4. ได้นำ (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 9/2563 (1.6-2(5)) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

5. ได้นำ (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 10/2563 (1.6-2(6)) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

6. มีการเผยแพร่แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 (1.6-2(7)) ให้กับคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 1/2564 (1.6-2(8))

3จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. ด้านงบประมาณ
    1.1 มีการจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.6-3(1)) จำนวนเงิน 170,000 บาท เพื่อดำเนินการจัดทดสอบและอบรมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา จำนวน 147,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 65.20
    1.2 มีการสรรงบประมาณให้ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (1.6-3(2)) เป็นจำนวนเงิน 1,500,000 บาท เพื่ออบรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

2. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
    2.1 มีการจัดหาระบบการเรียนด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ English Discoveries (1.6-3(3)) เพื่อพัฒนาการเรียนของนักศึกษา โดยจัดสรรจากโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้โครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21
    2.2 มีการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ภาษาอังกฤษ (1.6-3(4)) ให้อาจารย์สามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการพัฒนานักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
               - ABI/INFORM Complete
               - Academic Search Complete
               - ACM Digtal Library
               - American Chemical Society Journal
               - Communication & Mass Media Complete
               - Computer &Applied Science complete
              - Education Research Complete
               - Emerald Management (EM92)
               - H.W. Wilson ( 12 Subjects )
               - ProQuest Dissertations & Theses
               - SpringerLink – Journal
               - ScienceDirect
               - Web of Science
    2.3 มีห้องปฎิบัติการทางภาษา (1.6-3(5)) สำหรับจัดโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง
    2.4 มีห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ (1.6-3(6)) สำหรับจัดทดสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

3. มีการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ
   มีการประเมินความพึงพอใจนักศึกษาที่รับบริการสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (1.6-3(7)) เพื่อนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจาก 5 คณะ จำนวน 700 คน แบ่งเป็นความพึงพอใจ 4 ด้าน โดยสรุป ดังนี้
   3.1 ด้านสื่อการเรียนรู้ ฐานข้อมูลออนไลน์ E-Book พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจ ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.25
   3.2 ด้านความพร้อมของห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจ ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.25
   3.3 ด้านห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับจัดทดสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจ ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.11
   3.4 การจัดทำสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจ ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.43

4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังต่อไปนี้ 

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา ครั้งที่ 3/2564 (4.1-4(1)) เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 (4.1-4(2)) พบว่า มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังตารางที่ 1.1 

   1.1 ตารางสรุปผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านการอบรมตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น ร้อยละ 15 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 973 คน และมีผู้มีผลคะแนนหลังการอบรมดีขึ้น จำนวน 360 คน คิดเป็นร้อยละ 47 บรรลุเป้าหมาย
2.เพื่อจัดหาสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ร้อยละของหลักสูตรที่นำสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเอง ร้อยละ 10 ศูนย์ภาษา ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้หลักสูตรในคณะและวิทยาลัยต่างๆได้นำเอาสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้นำไปพัฒนานักศึกษาในหลักสูตร โดยปีการศึกษา 2563 พบการนำไปปรับใช้จำนวน 7 หลักสูตร จาก 45 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 15 บรรลุเป้าหมาย
3.เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการเรียนการสอน ร้อยละของอาจารย์ที่เข้าอบรม พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ สามารถสอบผ่านหลังการอบรม (Post-test) ร้อยละ 15 มีการจัดโครงการพัฒนาความรู้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่อาจารย์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และมีผลคะแนนสอบภายหลังอบรม (Post-test) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 36 บรรลุเป้าหมาย

   1.2 ตารางสรุปผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะรายโครงการ

ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุง การดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
ควรจัดหาสื่อออนไลน์ในการพัฒนานักศึกษา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19 มีการเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมในโครงการพัฒนานักศึกษาและการจัดหาสื่อออนไลน์ ตามร่างแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2564

1. การปรับปรุง
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
   (   ) ปรับปรุงโครงการ 
   ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน
   ( / ) ดำเนินการแล้ว : มีการจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ภาษาฯ และคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษาฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมในส่วนโครงการพัฒนานักศึกษาตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2564        
   (   ) อยู่ระหว่างดำเนินการ
   (   ) ยังไม่ดำเนินการ

พฤษภาคม 2564 ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการและกิจกรรมมีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้การจัดโครงการประสบปัญหากับโรคระบาด COVID-19 จัดกิจกรรมออนไลน์หรือกิจกรรมขนาดเล็กเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ COVID-19

1. การปรับปรุง
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
   ( / ) ปรับปรุงโครงการ 
   (   ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน
   (   ) ดำเนินการแล้ว    
   (   ) อยู่ระหว่างดำเนินการ
   ( / ) ยังไม่ดำเนินการ : มีการวางแผนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์ ทั้ง การอบรมเตรียมความพร้อมก่อนการทดสอบ SSKRU-TEP และจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ COVID-19 

1 ปีการศึกษา ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

2. คณะกรรมการดำเนินงาน ได้จัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่ 6/2563 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการปรับปรุง ดังนี้

ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุง การดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
ควรแสดงผลคะแนนของผู้เข้าสอบเฉพาะบุคคล เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลของนักศึกษาเองได้ ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อแสดงข้อมูลเฉพาะบุคคล เพื่อรายงานผลคะแนนให้กับนักศึกษาได้เป็นรายบุคคล

1. การปรับปรุง
   (   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
   ( / ) ปรับปรุงโครงการ : 1 โครงการ
   ( / ) ปรับปรุงแผน : 1 กิจกรรม

2. การดำเนินงาน
   ( / ) ดำเนินการแล้ว : มีการรายงานผลคะแนนผู้เข้าสอบผ่านกระบวนการทำหนังสือแจ้งเวียนให้ผู้เข้าสอบทราบเป็นรายบุคคลซึ่งดำเนินการเช่นนี้ทุกปี เนื่องจากยังไม่มีระบบสารสนเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการวางแผนเพื่อพัฒนา
   (   ) อยู่ระหว่างดำเนินการ
   ( / ) ยังไม่ดำเนินการ : มีการวางแผนการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้เข้าสอบสามารถตรวจสอบผลสอบรายบุคคลได้ ลงในแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจะดำเนินการจัดทำแผนในเดือนกันยายน 2564

1 ปีงบประมาณ ศูนย์ภาษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

 

5มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50

มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR มีผลการสอบ ดังนี้

ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุ ไม่บรรลุ
นักศึกษาที่เข้าสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาปีสุดท้าย ปีการศึกษา 2563 มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จำนวน 2,186 คน
มีผู้เข้าสอบ จำนวน 297 คน  คิดเป็นร้อยละ 13.58 ของนักศึกษาปีสุดท้าย

 

ü

มีนักศึกษาปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ขอผู้เข้าสอบ ปีการศึกษา 2563 มีผู้เข้าสอบ จำนวน 297 คน สอบผ่านเกณฑ์วัดผล CEFR (B1) จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 11.44 ของผู้เข้าสอบ

 

ü

โดยแยกผลสอบตามคณะ พบว่า

1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (1.6 - 5(1)) มีผู้เข้าสอบ ทั้งสิ้น 59 คน
อยู่ในระดับ A1 19 คน คิดเป็น 32.20%
ระดับ A2 ทั้งหมด 31 คน คิดเป็น 52.55%
ระดับ B1 ทั้งหมด 8 คน คิดเป็น 13.56%
ระดับ B2 1 คน คิดเป็น 1.69%
รวมนักศึกษาผ่านตามเกณฑ์ B1 ขึ้นไปทั้งสิ้น 9 คน หรือ 15.25% 

2. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (1.6 - 5(2)) สอบมีผู้เข้าสอบ ทั้งสิ้น 50 คน
อยู่ในระดับ A1 ทั้งหมด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 70%
ระดับ A2 ทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30% 

3. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (1.6 - 5(3)) มีผู้เข้าสอบ ทั้งสิ้น 61 คน
อยู่ในระดับ A1 ทั้งหมด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 62.30
ระดับ A2 ทั้งหมด 22 คน คิดเป็นร้อยละ 36.06
ระดับ B1 1 คน คิดเป็น 1.64%

4. คณะครุศาสตร์ (1.6 - 5(4)) มีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 67 คน
อยู่ในระดับ A1 ทั้งหมด 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.37
ระดับ A2 ทั้งหมด 26 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80
ระดับ B1 ทั้งหมด 14 คน คิดเป็นร้อยละ 20.89
ระดับ B2 ทั้งหมด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.95
และระดับ C1 ทั้งหมด 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.97
รวมผู้ผ่านเกณฑ์ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 35.82

5. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (1.6 - 5(5)) มีผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 60 คน
อยู่ในระดับ A1 ทั้งหมด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33
ระดับ A2 ทั้งหมด 22 คน คิดเป็นร้อยละ 36.67

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 ข้อ 4 คะแนน